สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 25 ต.ค.ว่ากระทรวงสิ่งแวดล้อมของจีนเผยแพร่แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติม สู่การบรรลุเป้าหมาย “เป็นกลางทางคาร์บอน” ที่รวมถึงการเพิ่มการใช้พลังงานที่ไม่ใช่ฟอสซิล ให้มีสัดส่วนประมาณ 25% ของการใช้พลังงานทั้งหมด ภายในปี 2573 โดยรัฐบาลปักกิ่งคาดการณ์ว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศในเวลานั้น จะลดลงมากกว่า 65% เมื่อเทียบกับระดับของปี 2548
China aims to cut fossil energy use to below 20% by 2060 https://t.co/wvvRfxCIw2 pic.twitter.com/Fq3XBORfnT
— CNA (@ChannelNewsAsia) October 24, 2021
ขณะที่ภายในปี 2573 กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ในจีน จะเพิ่มขึ้นรวมกันเป็นมากกว่า 1,200 ล้านกิโลวัตต์ และภายในปี 2603 สัดส่วนการใช้พลังงานฟอสซิลในจีนจะเหลือไม่ถึง 20%
If governments follow through on their announced climate pledges, approvals of new coal power plants fall sharply.
— International Energy Agency (@IEA) October 23, 2021
China’s announcement to end support for new coal plants abroad could result in further cancellations if fully realised.
More in #WEO21 ? https://t.co/uE51zVmLnd pic.twitter.com/80ZYycSAcr
ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนรายใหญ่ที่สุดของโลก อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนของจีนจะถึงจุดสูงสุด ภายในปี 2573 หลังจากนั้นเข้าสู่เส้นทางลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2603 แม้เป็นกำหนดการที่ช้ากว่าของสหภาพยุโรป (อียู) 10 ปีก็ตาม
นอกจากนี้ ผู้นำจีนยืนยัน การยุติความสนับสนุน ด้านการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินแห่งใหม่ในต่างประเทศ แม้สียังไม่ได้ให้รายละเอียดในประเด็นนี้มากนัก แต่บรรดานักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมต่างมีปฏิกิริยาตอบรับในเชิงบวก ว่าหากไม่มีความช่วยเหลือด้านการเงินจากรัฐบาลปักกิ่งในเรื่องนี้อีกต่อไป คงเป็นเรื่องยากที่จะมีการขยายขอบเขตการใช้พลังงานถ่านหินบนโลก.
เครดิตภาพ : REUTERS