การมีฟันคุดเป็นหนึ่งในปัญหาทางทันตกรรมที่หลายคนต้องเผชิญ ซึ่งฟันคุดเกิดขึ้นจากฟันที่ควรจะขึ้นปกติกลับไม่สามารถโผล่ขึ้นมาจากเหงือกได้เต็มที่ หรือขึ้นมาในทิศทางที่ผิดปกติ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น การอักเสบ ติดเชื้อ หรือเจ็บปวดจนต้องทำการ “ผ่าฟันคุด” เพื่อนำฟันคุดออก การดูแลตัวเองหลังจากผ่าฟันคุดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้แผลหายเร็วและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว


การผ่าฟันคุดกับการถอนฟันคุดต่างกันอย่างไร

การผ่าฟันคุดและการถอนฟันคุดมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน การจะผ่าหรือถอนฟันคดนั้นขึ้นอยู่กับสภาพของฟันคุดและการเตรียมตัวในการรักษา สำหรับการถอนฟันคุดเป็นการรักษาฟันคุดที่โผล่ขึ้นมาพ้นเหงือกและสามารถใช้เครื่องมือถอนฟันทั่วไปได้ กระบวนการในการถอนฟันคุดนั้นใช้เวลาน้อย และไม่ต้องเย็บแผลหลังทำการถอน

ส่วนการผ่าฟันคุดมักจะทำในกรณีที่ฟันคุดยังไม่สามารถขึ้นมาได้เต็มที่ หรือขึ้นมาผิดทิศทาง ทันตแพทย์จะต้องทำการผ่าตัดเพื่อเอาฟันคุดออก ซึ่งกระบวนการนี้จะใช้เวลานานกว่าและต้องมีการเย็บแผลหลังการผ่า สำหรับการผ่าฟันคุดจะซับซ้อนกว่าการถอนฟันทั่วไป และมักจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า นอกจากนี้ หลังการผ่าฟันคุด ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดเพื่อให้แผลหายเร็วและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ


รูปแบบการขึ้นของฟันคุด

ฟันคุดสามารถขึ้นมาในทิศทางและมุมที่แตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละรูปแบบการขึ้นของฟันคุดจะส่งผลต่อการรักษาและความยากง่ายในการผ่าฟัน ซึ่งรูปแบบของฟันคุดนั้นมีด้วยกันทั้งหมด 4 ลักษณะ ดังนี้

  1. Mesial impaction : ฟันคุดจะเอียงทำมุมไปข้างหน้าและดันฟันซี่ข้างเคียงในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด
  2. Distal impaction : ฟันคุดเอียงไปข้างหลัง ทำให้บางครั้งไม่จำเป็นต้องผ่าฟันคุดหากไม่ก่อให้เกิดอาการปวด หรือส่งผลต่อปัญหาสุขภาพช่องปาก
  3. Vertical impaction : ฟันคุดจะตั้งตรงในมุมปกติ ทำให้สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ ทำให้ไม่ต้องผ่าฟันคุดออก
  4. Horizontal impaction : ฟันคุดเรียงตัวในแนวนอน เป็นกรณีที่มีทำการรักษาได้ยากที่สุด และจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่การผ่าตัดมีความซับซ้อน


ทำไมถอนฟันจึงรู้สึกเจ็บ

การถอนฟันคุดมักจะทำให้รู้สึกเจ็บเนื่องจากความตึงเครียดของเนื้อเยื่อรอบฟันที่ถูกดึงออก กระบวนการนี้จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายเนื้อเยื่อในช่องปาก และเมื่อเนื้อเยื่อถูกดึงออก จะมีการกระตุ้นปลายประสาทที่บริเวณเหงือกและกระดูก ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดในระหว่างและหลังจากการถอนฟัน


วิธีดูแลตัวเองหลังผ่าฟันคุด

หลังการผ่าฟันคุด ผู้ป่วยจำเป็นต้องดูแลตัวเองอย่างระมัดระวังเพื่อให้แผลหายเร็ว และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

กัดผ้าก๊อซไว้

ทันทีหลังการผ่าฟันคุด ทันตแพทย์จะให้ผ้าก๊อซอุดแผลไว้เพื่อห้ามเลือด ดังนั้นหลังจากผ่าฟันคุดแนะนำให้กัดผ้าก๊อซไว้ประมาณ 30-45 นาที ห้ามบ้วนน้ำหรือเลือดออก เพื่อช่วยหยุดเลือดและป้องกันการไหลของเลือดจากแผลที่ผ่า

รับประทานอาหารอ่อน ๆ

ในช่วงแรกหลังการผ่าฟันคุด ควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือซุป เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนแผลและลดการเกิดการระคายเคืองภายในช่องปาก

รับประทานยาแก้ปวด

หลังการผ่าฟันคุดคุณอาจมีอาการปวดได้บ้าง โดยสามารถใช้ยาแก้ปวดตามที่ทันตแพทย์สั่ง เพื่อบรรเทาอาการปวด และลดการอักเสบของแผลจากการผ่าฟันคุด

งดอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน

ในช่วง 2-3 วันแรกหลังการผ่าฟันคุด ควรงดรับประทานอาหารที่มีอุณหภูมิร้อนเกินไป เพราะอาจทำให้แผลเกิดการบวมและอักเสบ รวมทั้งสามารถทำให้เลือดที่แข็งตัวหลุดออกจากแผลได้

ห้ามกดหรือเอาลิ้นดุ้นบริเวณที่ผ่า

ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณแผลที่ผ่าฟันคุดโดยเด็ดขาด ทั้งการเอาลิ้นดุนแผลหรือใช้มือกด เพราะอาจทำให้แผลติดเชื้อหรือเกิดอาการเจ็บปวดมากกว่าเดิม


สรุป

การผ่าฟันคุดเป็นการรักษาฟันที่อาจทำให้เกิดอาการเจ็บและไม่สะดวกในระหว่างการฟื้นตัว หลังการผ่าฟันคุด ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น โดยการดูแลตัวเองหลังผ่าฟันคุดที่เหมาะสมจะช่วยลดอาการบวม ปวด และเร่งให้ฟันคุดหายได้เร็วขึ้น หากพบอาการผิดปกติ เช่น เลือดไหลไม่หยุด หรือปวดบวมมากเกินไป ควรรีบพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น