สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. ว่า “brain rot” หรือสมองเน่า เอาชนะศัพท์อินเทอร์เน็ตสุดฮิตอย่าง “lore” หรือตำนาน, “demure” ศัพท์สแลงที่โด่งดังจากติ๊กต็อก ซึ่งสื่อถึงคนที่ดูเรียบร้อย, “romantasy” ซึ่งใช้เรียกนิยายแฟนตาซีและโรแมนติก, “dynamic pricing” หรือกลยุทธ์การตั้งราคาแบบยืดหยุ่น และ “slop” ซึ่งใช้เรียกเนื้อหาคุณภาพต่ำที่ผลิตโดยปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)

“brain rot” ปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อปี 2397 ในหนังสือ “วอลเดน” (Walden) ของนายเฮนรี เดวิด ธอโร นักเขียนชาวอเมริกัน ซึ่งในหนังสือของเขา คำดังกล่าวถูกใช้เพื่ออธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิตใจ เมื่อเราระงับสัญชาตญาณในความอยากรู้ และนิสัยที่ไม่ไตร่ตรองของตนเอง

อย่างไรก็ตาม ในบริบทปัจจุบัน “สมองเน่า” ถูกใช้เมื่อสภาพจิตใจและปัญญาของเรา “เสื่อมถอย” จากการบริโภคเนื้อหาออนไลน์ที่ไม่สำคัญ หรือไร้สาระมากเกินไป โดยตลอดปีที่ผ่านมา ผู้คนในโลกออนไลน์ใช้คำว่า “brain rot” เพิ่มขึ้นถึง 230%.

เครดิตภาพ : GETTY IMAGES