สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 12 ก.พ. ว่า นายอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีหมายเลขหนึ่งของโลก ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานประสิทธิภาพรัฐบาล (ดอจ) หน่วยงานพิเศษที่ก่อตั้งโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ ปรากฏตัวที่ทำเนียบขาวอย่างเป็นทางการครั้งแรก คู่กับทรัมป์ ภายในห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาว เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการทำงานของดอจ
มัสก์กล่าวว่า การปรับลดงบประมาณส่วนกลาง “ไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นเรื่องจำเป็น” โดยอ้างอิงสถิติการขาดดุลงบประมาณที่สูงถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 61.33 ล้านล้านบาท) เมื่อปีงบประมาณที่แล้ว และการที่สหรัฐต้องชำระหนี้สาธารณะด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูง ซึ่งอาจทำให้สหรัฐล้มละลายได้ในอนาคต หากไม่มีการแก้ไขเสียตั้งแต่ตอนนี้
Elon Musk: "At a high level, if you say what is the goal of @DOGE and a significant part of the presidency, is to restore democracy…" pic.twitter.com/kdvhYlfLo4
— CSPAN (@cspan) February 11, 2025
เกี่ยวกับกระแสวิพากษ์วิจารณ์ และเสียงคัดค้านของประชาชนที่มากขึ้น มัสก์กล่าวว่า ชาวอเมริกันเลือกทรัมป์มาเพื่อ “ปฏิรูปธรรมาภิบาลครั้งใหญ่” และยืนยันการทำงานอย่างโปร่งใส โดยยืนยันว่า เข้ามาช่วยงาน “ด้วยความบริสุทธิ์ใจ” และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดทั้งสิ้น
เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านั้น ทรัมป์กล่าวว่า หนึ่งในเหตุผลที่ชาวอเมริกันเลือกเขาเข้ามา คือเพื่อ “ค้นหาและกำจัดขยะ” ในโครงสร้างอำนาจบริหารของสหรัฐ ซึ่งเขากำลังทำเช่นนั้น และมัสก์เข้ามาช่วยเพื่อ “ขุดรากถอนโคนการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น” ในภาครัฐ
Q: "Your detractors…say that you're orchestrating a hostile takeover of government and doing it in a non-transparent way. What's your response to that criticism?"
— CSPAN (@cspan) February 11, 2025
Elon Musk: "The people voted for major government reform and that's what people are going to get." pic.twitter.com/RyugNN7ijt
ทรัมป์กล่าวต่อไปว่า “มัสก์ไม่ได้อะไรเลย” จากการเข้ามาช่วยเหลือทำเนียบขาวในเรื่องนี้ ผู้นำสหรัฐกล่าวว่า อันที่จริงเขาสงสัยมากด้วยซ้ำ ว่าอีกฝ่ายแบ่งเวลาตอนไหนมาช่วยรัฐบาลวอชิงตัน เพราะมัสก์ต้องดูแลธุรกิจของตัวเองมากมายอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ขอบเขตการทำงานและการใช้อำนาจของดอจ เป็นที่ถกเถียงและมีการต่อสู้กันทางกฎหมายมากขึ้นในหลายกรณี นับตั้งแต่การตรวจสอบของมัสก์และดอจ นำไปสู่การระงับการดำเนินงานของหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (ยูเอสเอด) และตอนนี้กำลังตรวจสอบสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านการเงิน (ซีเอฟพีบี).
เครดิตภาพ : AFP