เมื่อวันที่ 16 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โลกออนไลน์ต่างพูดถึงกันเป็นอย่างมากอยู่ในขณะนี้ ภายหลังจากที่แฟนเพจ “เอฟเอ็มซีคลินิกเวชกรรม” ได้ออกมาเผยถึงเคสเด็กหญิงวัย 16 ปี ที่สุขภาพดี แต่ภายหลังกลับพบว่าป่วยเป็น “โรคเมเนทริเยร์ (Ménétrier’s disease)”

โดยทางเพจได้ระบุว่า “ท่านใดมีอาการขาบวม แน่นท้อง ปวดท้องคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียบ่อยๆบ้าง ท่านอาจจะเป็นโรคนี้ได้” เด็กหญิงอายุ 16 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้มีสุขภาพดี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการขาบวมเป็นเวลา 2 เดือน โดยไม่มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร
-ตรวจร่างกายพบอาการบวมกดบุ๋มของทั้งสองขา และมีอาการบวมเล็กน้อยบริเวณรอบดวงตา
-ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบระดับอัลบูมินในเลือดต่ำที่ 26 กรัมต่อลิตร (ค่าปกติ 38–54) แต่ผลตรวจปัสสาวะ รวมถึงการทำงานของตับและไตเป็นปกติ
-เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง เพื่อค้นหาสาเหตุของการสูญเสียโปรตีนจากทางเดินอาหาร พบว่าผนังกระเพาะอาหารหนากระจาย และมีรอยพับของกระเพาะขนาดใหญ่

-การตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหารพบรอยพับของกระเพาะที่บวมชัดเจน มีผิวไม่เรียบ มีการกัดเซาะของเยื่อบุกระเพาะ และมีเมือกสีเหลืองปกคลุม (Panel B)
-การตรวจชิ้นเนื้อของเยื่อบุกระเพาะพบลักษณะการเพิ่มจำนวนของเซลล์เยื่อบุแบบ foveolar hyperplasia ร่วมกับต่อมที่คดเคี้ยวและขยายตัว
-ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเมเนทริเยร์ (Ménétrier’s disease) หรือที่เรียกว่า hypertrophic gastropathy

โรคเมเนทริเยร์ (Ménétrier’s disease) คืออะไร?

-เป็นความผิดปกติของการเพิ่มจำนวนเซลล์เยื่อบุผิวแบบไม่ทราบสาเหตุ
-ซึ่งมีการหลั่งเมือกมากผิดปกติ
-ทำให้เกิดการดูดซึมผิดปกติและการสูญเสียโปรตีนผ่านทางเยื่อบุกระเพาะ
-ผู้ป่วยมักมีอาการระบบทางเดินอาหาร อาการบวม และภาวะอัลบูมินต่ำในเลือด

ผู้ป่วยรายนี้เริ่มได้รับการรักษาด้วยอาหารโปรตีนสูง และยาฆ่าเชื้อ Helicobacter pylori ซึ่งพบว่าติดเชื้อร่วมด้วย เมื่อมาติดตามอาการในอีก 3 เดือนต่อมา อาการบวมและภาวะอัลบูมินต่ำในเลือดก็หายเป็นปกติ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรค Ménétrier’s disease

โรคที่ทำให้เยื่อบุกระเพาะหนาหรือหนาตัวผิดปกติ โดยเฉพาะบริเวณ fundus และ body ของกระเพาะอาหาร ส่งผลให้การหลั่งกรดลดลง และสูญเสียโปรตีนผ่านทางเยื่อบุกระเพาะ

สาเหตุ (ยังไม่แน่ชัด)

-เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการหลั่ง TGF-α (transforming growth factor alpha) ที่มากเกินไป
-บางรายอาจสัมพันธ์กับ การติดเชื้อ CMV (โดยเฉพาะในเด็ก) หรือ H. pylori

อาการที่พบบ่อย

-แน่นท้อง ปวดท้องบริเวณ epigastrium
-คลื่นไส้ อาเจียน
-ท้องเสีย
-บวมน้ำ (เนื่องจากโปรตีนในเลือดต่ำ)

การวินิจฉัย

-ส่องกล้องพบเยื่อบุกระเพาะหนาเป็นรอยพับใหญ่
-ตรวจชิ้นเนื้อ (biopsy) เพื่อแยกโรคอื่น เช่น มะเร็ง
-ตรวจเลือดพบ hypoalbuminemia

การรักษา

-ประคับประคอง (supportive care): ให้โปรตีน, diuretic
-ยา: PPI, cetuximab (ยาต้าน EGFR)
-การผ่าตัด (total gastrectomy): ถ้าอาการรุนแรงหรือเสี่ยงมะเร็งสูง…

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @เอฟเอ็มซีคลินิกเวชกรรม