เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โลกออนไลน์กำลังพูดถึงเป็นอย่างมากอยู่ในขณะนี้ ภายหลังจากที่แฟนเพจชื่อดังที่มักเผยความรู้ทางการแพทย์อย่าง “Manifia” ได้ออกมาเผยความรู้เตือนคนที่มีน้ำหนักตัวมากจนถึงขั้นอ้วน โดยระบุว่า “สรุปรวมภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความอ้วน (Obesity complication)” อ้วนคือภาวะที่มี fat mass เกินจนเริ่มเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ นิยามมีตั้งแต่หลวมๆ ยันแบบวัดจริงจังฮะ
-ประเมินจากการวัดง่ายๆ เช่น BMI (> 27-30 ขึ้นไป), รอบเอว, เอวต่อสะโพก ฯลฯ ข้อเสียคือขึ้นไป body shape, muscle mass (บางคน)
-วัด fat แยกไปเลย เช่น หยาบๆ ก็ skinfold, ละเอียดๆ ก็เครื่อง BIA, DEXA จะเกณฑ์ตัด %fat อยู่
“ผลจากการอ้วนคือ เซลล์ไขมันเริ่มเหนื่อยในการแบ่งเซลล์เพื่อเก็บเพิ่ม มันจะใช้วิธีเอาเซลล์เดิมๆ นี่แหละ ยัดอัดไขมันไตรกลีเซอไรด์เข้าไป จนเซลล์บวมเปล่ง เบียดกันเองจนเครียด” พอมันเครียดมันจะเริ่มปล่อยสารพัดสารก่ออักเสบ ทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพอักเสบอ่อนๆ อยู่ใกล้อวัยวะไหน อวัยวะนั้นซวย ยังไม่นับการกดตรงๆ ดังนั้นภาวะแทรกซ้อนมันจะเกิดผ่านการ: อักเสบจ่อๆ อักเสบทั้งร่าง และกดตรงๆ

1.ดื้ออินซูลิน/เบาหวาน
– สารก่ออักเสบทำให้กล้ามเนื้อ/ตับ/ไขมัน ดื้อต่ออินซูลินโดยตรง
– สลายกรดไขมันมาเยอะจัด ทะลักเข้าเซลล์ เซลล์ stress ดื้อต่ออินซูลิน

2.ไขมันในเลือดผิดปกติ
– มักเป็นผลต่อเนื่องมาจากดื้ออินซูลิน
– สลายกรดไขมันเยอะ ตับแปลงเป็นไตรกลีเซอไรด์เยอะ ส่งออกเลือดโดยบรรจุใน VLDL เยอะจนสูง
– VLDL ที่เยอะก็แปลงเป็น LDL เยอะ แถมตัวรับ LDL น้อยอีก จึงทำให้ LDL สูงตามมา
– สภาวะอักเสบยิ่งเพิ่มสารอนุมูลอิสระ อัด LDL จนเป็น Oxidized LDL มาก ตัวนี้พอกผนังอย่างดี
– ดื้ออินซูลินทำให้การขนส่งไขมัน TG มาที่ HDL มากขึ้น โดนสลายง่าย HDL ตัวเล็ก เรียบร้อย โดนจำกัดง่าย HDL ต่ำ

3.ไขมันพอกตับ (MAFLD)
– กรดไขมันสลายมาเยอะ ทะลักเข้าตับ
– ตับสลายไม่ทัน แพ็คลง VLDL ไม่ทัน
– กองมันอยู่ในตับนี่แหละ เรียบร้อย
– อนาคตเป็นตับพังผืด จนตับแข็งได้

4.ความดันสูง
– สารก่ออักเสบทำให้หลอดเลือดสร้างแก๊ส NO ลดลง
– จึงขาดตัวขยายหลอดเลือด ความต้านทานสูง
– ระบบประสาท sympathetic ทำงานมากขึ้น เพิ่มความดัน
– ไขมันเบียดท่อไต+sympathetic ทำให้ไตหลั่งระบบฮอร์โมน RAAS ทำให้เกลือคั่ง ความดันสูงขึ้น
– หากมีดื้ออินซูลิน ตับอ่อนพยายามหลั่งอินซูลินมากขึ้น สั่งไตให้ลดการขับเกลือ เกลือคั่งไปอีก ความดันสูงอีก

5.ไขมันแทรกผนังหลอดเลือดเร็วขึ้น
– ผนังหลอดเลือดอักเสบ ยอมให้ LDL ผ่านมากขึ้น
– สารอนุมูลอิสระยิ่งเพิ่ม oxidizied LDL
– เม็ดเลือดขาวก็ดุขึ้น กิน ox-LDL ง่ายขึ้น
– พอกผนังไวขึ้นมากๆ
– เกิดสารพัดโรคหลอดเลือด: โรคหลอดเลือดหัวใจ/สมอง

6.หัวใจห้องบนเต้นพริ้ว (Atrial fibrillation)
– เนื้อเยื่อไขมันรอบหัวใจขยายขึ้น (EAT)
– หลั่งสารก่ออักเสบจ่อๆ จนทางเดินไฟฟ้าเสียหาย
– บางทีเนื้อเยื่อไขมันก็แทรกเข้ามาขวางตรงๆ ด้วย
– ทางเดินไฟฟ้าผิดปกติ กระแสไหลวน กระตุ้นตัวเองได้
– กล้ามเนื้อบีบไม่เป็นจังหวะ เลือดค้างนาน เสี่ยงเกิดลิ่มเลือด

7.นอนกรนจนหยุดหายใจ (OSA)
– เนื้อเยื่อไขมันที่คอเยอะ กดทับทางเดินหายใจส่วนบน
– ร่างกายสัมผัสกับออกซิเจนต่ำตอนนอน เป็นพักๆ ตลอดเวลา
– ภาวะแทรกซ้อนอีกสารพัด แถมมีปัญหาการนอนด้วย

8.อ้วนจนหายใจน้อย (OHS)
– ผนังทรวงอกที่หนามากขึ้น แรงต้านมากขึ้น หายใจเข้ายาก
– แถมก้านสมองก็ตอบสนองต่อการหายใจลดลง ยอมหยุดหายใจได้
– มีการหายใจช้า จนหยุดเป็นพักๆ

9.กรดไหลย้อน
– ไขมันช่องท้องเยอะ เพิ่มความดันช่องท้อง
– เนื้อเยื่อไขมันรอบหูรูด ส่งการอักเสบถึงหูรูดโดยตรง
– หูรูดหลวม + ความดันสูง ดันจนเปิดหูรูด กรดไหลย้อน

10.นิ่วในถุงน้ำดี
– Cholesterol ถูกขับลงน้ำดีเยอะ
– เสียสมดุลองค์ประกอบในน้ำดี
– Cholesterol ตกตะกอนง่ายในที่สุด
(มักเจอในผู้หญิง, อายุมากกว่า 40, อ้วน)

11.ผลเชิงกลต่อกระดูกและข้อ น้ำหนักที่มากขึ้น ต้องใช้กล้ามเนื้อหลังประคองมากในท่าทางต่างๆ มักจะปวดหลังช่วงล่างบ่อยขึ้น (Low back pain)

12.ถุงน้ำในรังไข่ (PCOS)
– อ้วนทำให้ดื้ออินซูลิน ตับอ่อนหลั่งอินซูลินหลั่งสู้
– รังไข่โดนอินซูลินกระตุ้นเยอะเกิน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างฮอร์โมน androgen
– ถ้าคนนั้นมีความผิดปกติของสัญญาณในรังไข่อยู่แล้ว ก็โป๊ะเชะ ฮอร์โมน androgen พุ่งปรี๊ด ประจำเดือนขาด หนวดเครามากขึ้น
– ไข่ไม่ตกเรื่อยๆ สะสมเป็นถุงน้ำเล็กๆ เต็มรังไข่

13.ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์เยอะขึ้น
– ตอนท้องจะมีฮอร์โมน hPL จากรก ทำให้ยิ่งดื้ออินซูลินไปอีก สุดท้ายเป็นเบาหวานตั้งครรภ์ (GDM)
– สภาพหลอดเลือดที่ไม่ดี ดื้ออินซูลิน อาจทำให้ตอนตัวอ่อนฝังตัว รกเจริญไม่ดี รกขาดเลือด
– ถ้าขาดรุนแรงก็แท้งได้ ถ้าเด็กทารกสู้ ก็จะโตแต่ตัวเล็ก
– ถ้ารกสู้ จะหลั่งสารเพิ่มความดัน สุดท้ายครรภ์เป็นพิษ
– แต่ถ้ารกปกติ เจอน้ำตาลสูงๆ ทารกหลั่งอินซูลินมากขึ้น สูบเข้าไป โตไวขึ้น ตัวโตจนคลอดยาก (Macrosomia)
– แถมคลอดออกมาแล้ว ไม่มีน้ำตาลสูงจากแม่แล้ว แต่อินซูลินยังสูง กลายเป็นน้ำตาลพุ่งเข้าเซลล์เยอะ จนต่ำแทน (neonatal hypoglycemia)

“จริงๆ ยังมีผลต่อเนื่องอีกมากมายจาก 13 ข้อนี้ เช่น โรคทางจิตเวช, โรคหมอนรองกระดูกกลิ้น, และที่สำคัญคือโรคมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็ลำไส้ ลดความอ้วน ลดแทบทุกความเสี่ยงค่ะ”..

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @Manifia