เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากลตามแนวทางการประเมินผลนักเรียนระดับนานาชาติ หรือ พิซา ที่อยากให้เน้นการสร้างเครือข่าย โดยขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ให้โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็นโรงเรียนเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนทรัพยากรทางการศึกษาและต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่นๆ  นอกจากนี้สภาการศึกษา (สกศ.) ยังได้การขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล พัฒนาการ การศึกษาไทยศึกษาไทย ปี 2012 – 2024 โดยมีมิติการเปรียบเทียบประกอบด้วย 5 มิติ ดังนี้ มิติที่ 1 คุณภาพผู้เรียน ใช้ผลการทดสอบ PISA วิชา คณิตศาสตร์เป็นตัวชี้วัด  มิติที่ 2 การเข้าถึงระบบการศึกษาใช้อัตราการเข้าเรียน สุทธิระดับมัธยมศึกษาเป็นตัวชี้วัด มิติที่ 3 ความเท่าเทียมทางการศึกษาใช้ปีการศึกษาที่คาดหวังเป็นตัวชี้วัด  มิติที่ 4 ประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา ใช้ตัวชี้วัดสัดส่วนของงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษา ต่อคะแนนเฉลี่ยการทดสอบ PISA เป็นตัวชี้วัด และ  OECD  และมิติที่ 5 การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ใช้สัดส่วนของประชากรอายุ 25 -34 ปีที่สำเร็จการศึกษา ระดับอุดมศึกษา เป็นตัวชี้วัด ซึ่งพบว่าการศึกษาของคนไทยด้าน  Intelligence Quotien (IQ) หรือ ความฉลาดทางปัญญาดีขึ้นเกือบ 3% และมิติการศึกษาด้านอื่นๆก็มีการพัฒนาดีตามลำดับ แต่ในส่วนของการศึกษาที่จะต้องปรับปรุง คือ การยกระดับผลสอบพิซาและตนเชื่อว่าผลคะแนนการทดสอบพิซาในปี 2025 นี้จะดีขึ้น ส่วนความเสมอภาคทางการศึกษาประเทศไทยมีการบริหารจัดการที่ดีขึ้น 

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ตนได้มอบการบ้านให้แก่สพฐ.และสป.วิเคราะห์ข้อมูลจากโลกโซเชียลที่ระบุว่า โรงเรียนนานาชาติมีอัตราการเติบโตสูงขึ้น โดยให้สำรวจว่า อัตราการเติบโตของโรงเรียนนานาชาติที่สูงขึ้นเป็นเด็กไทยหรือเด็กจากต่างชาติ หรือเด็กจากประเทศเพื่อนบ้านมาสมัครเรียนจึงทำให้เติบโตขึ้น  รวมถึงวิเคราะห์เจาะลึกถึงมิติการโยกย้ายของนักเรียนหมุนเวียนเป็นอย่างไรด้วย เนื่องจากตนอยากให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างโรงเรียน ซึ่งที่ผ่านมามีการดำเนินการสร้างเครือข่ายการศึกษามาแล้ว เช่น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เป็นเครือข่ายโรงเรียนคู่พัฒนากับโรงเรียนพญาไท เพราะตนเชื่อว่าการแบ่งปันทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกันจะทำให้คุณภาพการศึกษาของไทยมีความสมบูรณ์มากขึ้น