นับเป็นอีกหนึ่งข่าวเศร้าของวงการบันเทิงไทย หลังต้องสูญเสียบุคคลคุณภาพอย่างอดีตพระเอกดัง เอก-สรพงศ์ ชาตรี ที่ก่อนหน้านี้รักษาอาการป่วยมะเร็งปอดตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ท่ามกลางความห่วงใยของแฟน ๆ ทั้งประเทศ และจากไปอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งที่ลุกลาม เมื่อเวลา 15.51 น ณ ห้องพักผู้ป่วยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สิริอายุ 71ปีนั้น

วันนี้ “เดลินิวส์ออนไลน์” จึงขอทุกคนย้อนชมประวัติ และผลงานของอดีตพระเอกมากความสามารถอย่าง “เอก-สรพงศ์ ชาตรี” ที่เคยฝากฝีมือไว้ได้อย่างยอดเยี่ยม ติดตาตรึงใจท่านผู้ชมจำนวนมาก

สำหรับประวัติของ กรีพงษ์ เทียมเศวต มีชื่อชื่อเดิมว่า พิทยา เทียมเศวต ชื่อเล่น เอก หรือชื่อในการการแสดง “สรพงศ์ ชาตรี” เป็นนักแสดงชาย ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในช่วงปลายยุค 70 ถึงกลางยุค 80 เเละยังคงทำงานในอาชีพการเเสดงมาจนถึงปัจจุบัน ได้รับเลือกเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ในปี พ.ศ. 2551

สรพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ที่อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายชื้น กับนางพริ้ว เทียมเศวต จบการศึกษาชั้น ป.4 แล้วบวชเรียนตั้งแต่อายุ 8 ปี ที่วัดเทพสุวรรณ พระนครศรีอยุธยา และวัดดาวดึงส์ บางยี่ขัน ธนบุรี จนกระทั่งลาสิกขาบทเมื่อ พ.ศ. 2512

สรพงษ์ ชาตรี มีบุตรทั้งหมด 4 คน คือ พิมพ์อัปสร (ขวัญ), พิศุทธินี (เอิง), พิศรุตม์ (เอม) และพิทธกฤต เทียมเศวต (อั้ม) ซึ่งพิมพ์อัปสร บุตรคนแรกเกิดกับทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ส่วนบุตรคนที่สองถึงสี่เกิดกับพิมพ์จันทร์ ใจวงศ์ (แอ๊ด) ปัจจุบันสมรสกับ ดวงเดือน จิไธสงค์ รองมิสไทยแลนด์เวิลด์ พ.ศ. 2529 และรองนางสาวไทย พ.ศ. 2530 ในปี พ.ศ. 2552

ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ศิลปศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานมูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมตตาบารมี อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (จากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านศิลปะร่วมสมัย) สาขาศิลปะการแสดงในคณะกรรมการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย

สำหรับเส้นทางในวงการบันเทิง เมื่ออายุได้ 19 ปี ได้พบกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ซึ่งชักชวนให้มาอาศัยอยู่ที่วังละโว้ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ สรพงศ์ เริ่มงานแสดงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2512 เป็นตัวประกอบ และเป็นเด็กยกของในกองถ่ายละครเรื่อง นางไพรตานี ฉายทางช่อง 7 และเล่นเป็นตัวประกอบในละคร ห้องสีชมพู และ หมอผี ซึ่งหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เป็นผู้กำกับหลังจากเดินทางกลับจากเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา

ชื่อ สรพงศ์ ชาตรี ที่ใช้ในการแสดง ผู้ตั้งให้คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ และหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา โดยคำว่า “สร” มาจาก อนุสรมงคลการ “พงศ์” มาจาก สุรพงศ์ โปร่งมณี (ผู้พามาฝากตัวกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม) และ “ชาตรี” มาจาก ชาตรีเฉลิม

สรพงศ์ ชาตรี มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นตัวประกอบในภาพยนตร์เรื่อง สอยดาว สาวเดือน เมื่อ พ.ศ. 2512 รับบทเป็นลูกน้องนักเลงที่มีเรื่องกับ ชนะ ศรีอุบล ที่รับบท สมิง ซึ่งเป็นพระรองของเรื่องในร้านเหล้า โดยที่ออกมาฉากเดียวและไม่มีบทพูดและถูกสมิงยิงตาย จากนั้นในภาพยนตร์เรื่องที่ 2 คือเรื่อง ต้อยติ่ง ในปีเดียวกัน สรพงษ์ยังคงรับบทเป็นตัวประกอบที่ออกมาฉากเดียวในช่วงท้ายเรื่องและไม่มีบทพูดเช่นเคย

และ ภาพยนตร์เรื่องที่ 3 คือเรื่อง ฟ้าคะนอง เมื่อ พ.ศ. 2513 สรพงศ์ยังคงรับบทเป็นตัวประกอบที่ออกมาฉากเดียวแต่เริ่มมีบทพูดโดยรับบทเป็นผู้โดยสารรถสองแถวคันเดียวกับนางเอกคือ ภาวนา ชนะจิต ที่ต้องการเดินทางไป หาดฟ้าคะนอง กระทั่งสรพงศ์ได้รับบทพระเอกเต็มตัวครั้งแรก ในภาพยนตร์เรื่องที่ 4 คือเรื่อง มันมากับความมืด (พ.ศ. 2514) ผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม จากนั้นได้รับบทในภาพยนตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม แทบทุกเรื่อง ทั้งบทพระเอก พระรอง และเป็นผู้ช่วยผู้กำกับในบางครั้ง

มีผลงานแสดงกว่า 500 เรื่อง ได้รางวัลตุ๊กตาทองครั้งแรกจากเรื่อง ชีวิตบัดซบ และ สัตว์มนุษย์ สองปีติดต่อกัน และมีชื่อเสียงในต่างประเทศจากเรื่อง แผลเก่า (พ.ศ. 2520) กำกับโดยเชิด ทรงศรี นับว่าประสบความสำเร็จสูงสุด

สรพงศ์ ได้รับรางวัลทางการแสดงจากหลายสถาบัน เช่น รางวัลตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี ดารานำชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง สัตว์มนุษย์ ชีวิตบัดซบ มือปืน มือปืน 2 สาละวิน เสียดาย

2 รางวัลสุพรรณหงส์ ดารานำชายยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ถ้าเธอยังมีรัก มือปืน และนักแสดงประกอบชายจากเรื่อง องค์บาก 2 ส่วนรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง นักแสดงชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง มือปืน 2 สาละวิน

ผลงานการแสดงละครโทรทัศน์

  • พ.ศ. 2511 นางไพรตานี
  • พ.ศ. 2512 ห้องสีชมพู
  • พ.ศ. 2516 หมอผี (ช่อง 7)
  • พ.ศ. 2524 กำแพงหัวใจ
  • พ.ศ. 2533 เมียหลวง
  • พ.ศ. 2533 ทูตมรณะ, อุ้มบุญ
  • พ.ศ. 2534 กะลาก้นครัว
  • พ.ศ. 2535 หัวใจนี้เพื่อเธอ
  • พ.ศ. 2536 บัลลังก์เมฆ (ช่อง 5), วันนี้ที่รอคอย
  • พ.ศ. 2537 พลอยพราวแสง, ข้าวเปลือก, คุณนายโอซาก้า, ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ, หนาวน้ำตา
  • พ.ศ. 2538สายโลหิต (ช่อง 7), เท้งเต้ง, เงาราหู
  • พ.ศ. 2539 แสงเพลิงที่เกริงทอ, เชลยรัก, รัตนโกสินทร์, ระเบิดเถิดเทิง
  • พ.ศ. 2540 ดวงไฟในพายุ, สวรรค์ยังมีชั้น, ฟ้าหลังฝน, ล่าปีศาจ, จำเลยรัก
  • พ.ศ. 2541 ชีวิตเพื่อฆ่า หัวใจเพื่อเธอ (ช่อง 5), ระย้า, บ่วงหงส์ (ช่อง 7), สวรรค์บ้านทุ่ง ละครชุด พ่อ ตอน วัคซีน
  • พ.ศ. 2542 เขยลิเก, ขุนเดช, เลือดทรนง, รักไร้พรมแดน
  • พ.ศ. 2543 ชาติมังกร, ทองหลังพระ, บ้านไร่เรือนตะวัน
  • พ.ศ. 2544 อตีตา (ช่อง 7), ขอดเกล็ดมังกร, เทวดาเดินดิน, เพชรตัดเพชร ,ขุนทรัพย์แม่น้ำแคว
  • พ.ศ. 2545 ตกกระได หัวใจพลอยโจน, แผลเก่า (ช่อง 3)
  • พ.ศ. 2546 เปรตวัดสุทัศน์ (ช่อง 7), ครูสมศรี (ช่อง 7), เสือ, สิบตำรวจโทบุญถึง
  • พ.ศ. 2547 7 พระกาฬ (ช่อง 7), เล่ห์รตี, แหวนทองเหลือง (ช่อง 7), ขอพลิกฟ้าตามล่าเธอ, พ่อ..ตัวจริงของแท้
  • พ.ศ. 2548 รอยลิขิต, สะใภ้ทอร์นาโด
  • พ.ศ. 2549 สายรักสาละวิน
  • พ.ศ. 2550 ตากสินมหาราช, ละครเทิดพระเกียรติชุดแสงทองส่องชีวิต : ลุงบุญมี เสรี
  • พ.ศ. 2551 ชุมทางเสือเผ่น, คมแฝก (รับเชิญ) (ช่อง 7)
  • พ.ศ. 2552 มือนาง, ชิงชัง, สู้ยิบตา
  • พ.ศ. 2553 ศิลาพัชร ดวงใจนักรบ, 7 ประจัญบาน (ช่อง 3), คู่เดือด, ตำรวจเหล็ก, นักฆ่าขนตางอน
  • พ.ศ. 2554 เรือนแพ (ช่อง 5), คนเถื่อน
  • พ.ศ. 2555 ขุนศึก (ช่อง 3), เปรตวัดสุทัศน์ (ช่อง 7)
  • พ.ศ. 2556 แม่เปียดื้อ (ช่อง 3), บ่วงวันวาร, คู่กรรม (ช่อง 5), อาญารัก, เรือนเสน่หา, อันโกะ กลรักสตรอว์เบอร์รี่ (ช่อง 3), ชาติเจ้าพระยา, ผู้ชนะสิบทิศ (ช่อง 8)
  • พ.ศ. 2557 วีรบุรุษกองขยะ (ช่อง 7), รถไฟ เรือเมล์ ลิเก กองถ่าย (ช่อง 3), เพลิงฉิมพลี (ช่อง 3)
  • พ.ศ. 2558 บางระจัน (ช่อง 3), สิงห์สี่แคว (ช่อง 3) ,ข้าบดินทร์ (ช่อง 3), ตะวันตัดบูรพา (ช่องวัน), เพลิงตะวัน (ช่อง 7), สาวน้อยอ้อยควั่น (ช่อง 7), รักเร่ (ช่อง 7)
  • พ.ศ. 2559 พันท้ายนรสิงห์ (ช่องเวิร์คพอยท์), อตีตา (ช่อง 7), ลิขิตริษยา (ช่อง 7), GUARDIAN หักเหลี่ยมมัจจุราช (ช่องโมโน 29), ใต้ร่มพระบารมี เรื่อง แสงสุดท้าย, ชื่นชีวา (ช่อง 7)
  • พ.ศ. 2560 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคองค์ประกันหงสา (ช่องโมโน 29), เขี้ยวราชสีห์
  • พ.ศ. 2561 แม่อายสะอื้น (ช่อง 7), กาหลมหรทึก (ช่องวัน), ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคประกาศอิสรภาพ (ช่องโมโน 29), Happy Birthday วันเกิดของนาย วันตายของฉัน (ช่องจีเอ็มเอ็ม 25)
  • นางทิพย์ (ช่อง 7) ปี่แก้วนางหงส์ (ช่อง 3)
  • พ.ศ. 2562 ฤกษ์สังหาร (ช่องวัน)
  • พ.ศ. 2563 มือปราบข้าวสารเสก (ช่อง 3), อุ้มรักเกมลวง (ช่องวัน), สัญญารักสัญญาณลวง (ช่อง 3), ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคศึกล้างแผ่นดิน (ช่องโมโน 29), เพลิงภริยา (ช่อง 8) เสียดาย (รับเชิญ) ละครชุด
  • พ.ศ. 2553 หลวงตามหาชน (ช่อง 3)
  • พ.ศ. 2555 น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์ ชุด เชิดชูครู ผู้สร้างคน (ช่อง 3)
  • พ.ศ. 2559 ปาฏิหาริย์ เดอะซีรีส์ ตอน รักไม่พร้อม (ช่องพีพีทีวี)

ผลงานการแสดงภาพยนตร์

  • มีผลงานตั้งแต่ พ.ศ. 2512-2564 อาทิ มันมากับความมืด, ขัง 8, รสรักลมสวาท, สิงห์สลัม, ป่ากามเทพ, เจ้าพ่อ 7 คุก, ไอ้ขุนทอง, องค์บาก, สุริโยไท, ตะเคียน, ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช, เปรต อาบัติ, พันท้ายนรสิงห์, เรื่อง ผี เล่า ฯลฯ

งานพากย์

  • ทอย สตอรี่, ทอย สตอรี่ 2, ทอย สตอรี่ 3, ทอย สตอรี่ ตอน หนังสยองขวัญ และ ทอย สตอรี่ 4 พากย์เป็น วู้ดดี้
  • หน่วยจารชนพิทักษ์จักรวาล 2 พากย์เป็น เจ้าหน้าที่เค

ผลงานเพลง

  • มกราคม พ.ศ. 2533 – อัลบั้ม หัวใจไม่ได้เสริมใยเหล็ก สังกัด อาร์เอสโปรโมชั่น
  • ธันวาคม พ.ศ. 2533 – อัลบั้ม เล็ดสะโก สังกัด อาร์เอสโปรโมชั่น
  • สิงหาคม พ.ศ. 2536 – อัลบั้ม คนกันเอง สังกัด นิธิทัศน์โปรโมชั่น
  • พ.ศ. 2538 – อัลบั้ม ขาดคนอีสานแล้วจะรู้สึก
  • พ.ศ. 2540 – อัลบั้ม หัวใจเดาะ (นำเพลงของ สุรพล สมบัติเจริญ มาร้องใหม่) สังกัด APS INTERMUSIC

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ : wikipedia, sorapong_chatree.club