ข้าวไทย“ ยุคนี้…ที่เป็นประเด็น ’ดราม่าครึกโครม“ ก็ไม่พ้นกรณี “ข้าว 10 ปี” ที่มีการ “ท้าพิสูจน์” กันเซ็งแซ่ โดยข้าวไทยกรณีนี้ถูกยึดโยงเป็นประเด็นการเมืองด้วย ซึ่งล่าสุดกรณีนี้เป็นเช่นไร?? ก็ว่ากันไป… อย่างไรก็ดี นอกจากกรณีที่เป็นกระแสร้อนดังกล่าวนี้แล้ว…กับภาพรวมเกี่ยวกับ “ข้าวประเทศไทย” นี่บางคนก็อาจจะมีคำถามว่า… ในปัจจุบันประเทศไทยมีการปลูกข้าวอยู่กี่สายพันธุ์? ซึ่งวันนี้ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ก็ได้ ’เช็กลิสต์ข้าวไทย“ มาสะท้อนต่อให้พิจารณากัน โดยได้ลองรวบรวม “ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวไทย” โดยอ้างอิงข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)…

ที่ได้มีการให้ข้อมูลไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้
วันนี้ลองมาพิจารณาจากชุดข้อมูลนี้…

ทั้งนี้ เกี่ยวกับเรื่อง “สายพันธุ์ของข้าวไทย” นั้น จากข้อมูลที่มีการเผยแพร่ไว้ทางเว็บไซต์ สศก. ระบุไว้ว่า… เราสามารถที่จะ แบ่งประเภทข้าวจากปัจจัย 2 ประการที่สำคัญ ดังต่อไปนี้คือ… แบ่งตามนิเวศการปลูก และอีกประเภท แบ่งตามการตอบสนองต่อช่วงแสง โดยในแต่ละประเภทนั้นยังสามารถจำแนกแยกย่อยลงไปได้อีก ดังรายละเอียดต่อไปนี้…

ประเภท “นิเวศการปลูก” แยกย่อยประกอบด้วย… ข้าวนาสวน (Lowland Rice) เป็นข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังหรือกักเก็บน้ำได้ระดับน้ำลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร ซึ่งข้าวนาสวนมีปลูกทุกภาคของไทย โดยยังแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ข้าวนาสวนนาน้ำฝน ซึ่งเป็นข้าวที่ปลูกในฤดูนาปีและอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ โดยไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาน้ำฝนประมาณ 70% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด และอีกชนิดคือ ข้าวนาสวนนาชลประทาน ที่ปลูกได้ทั้งปีในนาที่ควบคุมระดับน้ำได้ โดยอาศัยน้ำจากชลประทาน ซึ่งไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาชลประทาน 24% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคกลาง

นอกจากข้าวนาสวนแล้ว ข้าวที่ถูกจัดแบ่งตามนิเวศการปลูกนี้ก็ยังมีอีกหลายชนิด ได้แก่… ข้าวน้ำลึก ที่ปลูกในพื้นที่น้ำลึก ที่ระดับน้ำในนามากกว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 100 เซนติเมตร, ข้าวไร่ เป็นข้าวที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่ บริเวณไหล่เขาหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีน้ำขัง ไม่มีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำ และสุดท้าย ข้าวนาที่สูง ที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังบนที่สูงตั้งแต่ 700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป โดยพันธุ์ข้าวที่ปลูกแบบนาที่สูงนี้จะต้องมีความสามารถทนทานอากาศหนาวเย็นได้ดี…

นี่เป็นข้าวที่แบ่ง’ตามนิเวศการปลูก“

ประเภท “ตามการตอบสนองต่อช่วงแสง” ข้าวประเภทนี้จะประกอบด้วย… ข้าวไวต่อช่วงแสง ซึ่งจะออกดอกเฉพาะเมื่อช่วงเวลากลางวันสั้นกว่า 12 ชั่วโมง โดยพันธุ์ข้าวประเภทนี้จะปลูกและให้ผลผลิตได้ปีละ 1 ครั้ง หรือปลูกได้เฉพาะในฤดูนาปี บางครั้งจึงเรียกว่า ’ข้าวนาปี“ ซึ่งพันธุ์ข้าวในไทยที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ที่มีความไวต่อช่วงแสง และอีกชนิดคือ ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง เป็นข้าวที่ออกดอกเมื่อข้าวมีระยะเวลาการเจริญเติบโตถึงอายุ และให้ผลผลิตตามอายุ จึงปลูกและให้ผลผลิตได้ทั้งปี หรือปลูกได้ในฤดูนาปรัง ทำให้บางครั้งจึงเรียกว่า ’ข้าวนาปรัง“…นี่เป็นข้อมูลข้าวประเภทที่สอง

แบ่ง ’ตามการตอบสนองต่อช่วงแสง“

ดูกันต่อถึง “พันธุ์ข้าวนาสวนไวต่อช่วงแสง” ซึ่งจะ มีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ก็ประกอบด้วยพันธุ์ข้าวดังนี้คือ… กข 5, เก้ารวง 88, พวงไร่ 2, แก่นจันทร์, กข 13, ขาวดอกมะลิ 105, พัทลุง 60, เจ๊กเชย 1, กข 15, ขาวตาแห้ง 17, พิษณุโลก 3, ขาวกอเดียว 35, กข 27, ขาวปากหม้อ 148, พิษณุโลก 60-1, ช่อลุง 97, กข 35 (รังสิต 80), ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1, พิษณุโลก 80, ไข่มดริ้น 3, กข 51, เฉี้ยงพัทลุง, ลูกแดงปัตตานี, ดอกข่า 50, กข 59, ชุมแพ 60, เล็บนกปัตตานี, มะลินิลสุรินทร์, กข 67

และก็ยังมี… นางพญา 132, หอมกระดังงา 59, เหลืองใหญ่ปราจีนบุรี 48, กข 73, นางมล เอส-4, เหลืองประทิว 123, ขะสอ 62, กข 75, น้ำสะกุย 19, เหลืองใหญ่ 148, เม็ดฝ้าย 62, กข 77, เผือกน้ำ 43, เข็มทองพัทลุง, หอมใบเตย 62, กข 79, ปทุมธานี 60, ข้าวหลวงสันป่าตอง, กข 6, กข 20, เหนียวเขี้ยวงู 8974, กข 8, กำผาย 15, เหนียวสันป่าตอง, กข 12 หรือหนองคาย 80, หางยี 71, เหนียวอุบล 1, กข 16, เหมยนอง 62 เอ็ม, เหนียวอุบล 2, กข 18, เหนียวดำหมอ 37, เหนียวดำช่อไม้ไผ่ 49

นี่คือส่วนหนึ่งของ’ชื่อพันธุ์ข้าวไทย“
ที่มีมากมายทั้ง’ข้าวเจ้า-ข้าวเหนียว“

ส่วน “พันธุ์ข้าวนาสวนไม่ไวต่อแสง” นั้น จะ มีแต่ “ข้าวเจ้า” โดยประกอบด้วย… กข 1, กข 37, กข 65, พัทลุง, กข 3, กข 39, กข 69, พิษณุโลก 2, กข 7, กข 41, กข 71, พิษณุโลก 60-2, กข 9, กข 43, กข 81, สุพรรณบุรี 1, กข 11, กข 47, กข 83, สุพรรณบุรี 2, กข 21, กข 49, ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1, สุพรรณบุรี 3, กข 23, กข 53, ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี, สุพรรณบุรี 60, กข 25, กข 55, ชัยนาท 1, สุพรรณบุรี 90, กข 29 (ชัยนาท 80), กข 57, ชัยนาท 2, สุรินทร์ 1, กข 31 (ปทุมธานี 80), กข 61, ปทุมธานี 1, ซีบูกันตัง 5, กข 33 (หอมอุบล 80), กข 63 และบางแตน …เหล่านี้คือ ’พันธุ์ข้าวไทย“ ตามที่มีข้อมูลแจกแจงไว้

ทั้งนี้ ’ข้าวไทย“ นั้น หากดูกันที่ประเภท…หลัก ๆ มี 2 ประเภท และก็แยกย่อยแบบพอจะจำได้ แต่หากดูกันที่ ’ชื่อพันธุ์“แล้วล่ะก็…เอาแค่ที่สะท้อนมาข้างต้นก็จำกันไม่หวาดไม่ไหว เพราะมี ’มากมาย“ สวนทางรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว…

เม็ดเงินขายข้าวไทย“ ต่อปี ’มหาศาล“
ชาวนามีรายได้น้อย“ วันนี้ก็ ’ยังน้อย“
นี่ ’มิใช่ดราม่า“ นี่ ’เรื่องจริงอมตะ!!“.