เดินหน้าต่อได้แล้ว สำหรับ 2 โครงการสะพานข้ามทะเลภาคใต้วงเงินรวม 6,995 ล้านบาท สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา .จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง กับสะพานเชื่อมเกาะลันตา ต.เกาะกลาง.เกาะลันตาน้อย อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ของกรมทางหลวงชนบท(ทช.)

เมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 18 .. 2568 มีมติอนุมัติกรอบค่าใช้จ่ายสำหรับแผนอนุรักษ์โลมาอิรวดีทะเลสาบสงขลาระยะ 5 ปีแรก วงเงิน 402 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้ใช้จ่ายจากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นลำดับแรก หากไม่เพียงพอ มอบหมายหน่วยงาน ได้แก่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมประมงเสนอขอรับจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี และ/หรือแหล่งเงินอื่นเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย

นอกจากนี้ได้มอบหมายกระทรวงการคลังเจรจาเงินกู้กับธนาคารโลก (World Bank) รวมทั้งให้หน่วยงานดำเนินการภายใต้แผนอนุรักษ์โลมาอิรวดีฯ ควบคู่กับการก่อสร้างโครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ของกรมทางหลวงชนบท

แผนอนุรักษ์โลมาอิรวดี ประกอบด้วย 6 แผนงาน 15 โครงการ 36 กิจกรรม อาทิ จัดทำแนวเขตพื้นที่คุ้มครองโลมาอิรวดี ประกาศเขตพื้นที่ห้ามทำการประมงด้วยเครื่องมือประมงที่เป็นอันตราย การลดภัยคุกคามที่เป็นอันตรายต่อโลมาอิรวดีและแหล่งที่อยู่อาศัย การฟื้นฟูความสมบูรณ์ของทะเลสาบสงขลาและการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ เป็นต้น เพื่ออนุรักษ์โลมาอิรวดี 14 ตัวสุดท้ายของประเทศไทยที่ยังรอดชีวิตเหลืออยู่ในทะเลสาบสงขลาเท่านั้น

ขณะที่ 2 โครงการสะพานสร้างปรากฏการณ์ด้วยการวางศิลาฤกษ์ตั้งแต่วันที่ 18 มี.. 2565 สมัยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรมว.คมนาคม ก่อนที่ประชุมครม.วันที่ 18 .. 2565 จะอนุมัติโครงการ แต่ผ่านมาเกือบ 3 ปียังไม่เริ่มก่อสร้าง เนื่องจากรอครม.อนุมัติแผนอนุรักษ์โลมาอิรวดีฯาและแหล่งเงินกู้โครงการ

นายมนตรี เดชาสกุลสม อธิบดีทช. บอกกับ“ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” ว่า ทช.พร้อมเดินหน้า2โครงการต่อทันที ได้รายงานนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรมว. คมนาคม รับทราบแผนการทำงาน ทช.จะเข้าสู่กระบวนการประกวดราคาก่อสร้างโครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา วงเงิน 4,841 ล้านบาท (ค่าก่อสร้าง 4,700 ล้านบาท และค่าจ้างควบคุมงานก่อสร้าง 141 ล้านบาท) และโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา วงเงิน 1,854 ล้านบาท (ค่าก่อสร้าง 1,800 ล้านบาทและค่าจ้างควบคุมงานก่อสร้าง 54 ล้านบาท) รวม 6,995 ล้านบาท ครม.มีมติอนุมัติในหลักการก่อสร้างแล้วเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2565

สำหรับวงเงินค่าก่อสร้าง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง ได้เจรจาแหล่งเงินกู้จากธนาคารโลกไว้แล้วในสัดส่วน70% และงบประมาณแผ่นดินในสัดส่วน 30%เป็นงบผูกพันปีงบประมาณ 2568-2570 ทช. ได้ติดตามแผนกรอบระยะเวลาการเจรจาเงินกู้และการลงนามในสัญญาเงินกู้จากสำนักบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อให้สามารถจัดซื้อจัดจ้างได้ภายในปีงบประมาณ 2568

มีแผนประกวดราคาแบบนานาชาติแยกเป็น 2 โครงการ จัดซื้อจัดจ้างงานก่อสร้างล่วงหน้า (Advance Procurement) และจะเร่งประกาศเชิญชวนและขอบเขตงาน(TOR) ในเดือนมี.ค. 2568 คาดว่าจะได้ผู้ชนะประมูลและลงนามสัญญาภายในสิ้นเดือน ก.ค. 2568 เริ่มก่อสร้างทันทีให้แล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการประชาชนภายในปี 2572

สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา วงเงิน 4,700 ล้านบาทมีสัดส่วนเงินกู้ 3,290 ล้านบาท (70%) เงินงบประมาณ 1,410 ล้านบาท (30%) มีระยะทาง 7 กม. นับเป็นสะพานที่ยาวที่สุดของประเทศไทย (สะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 หรือสะพานไสกลิ้ง-หัวป่า/สะพานเอกชัย) เจ้าของสถิติ 5.5 กม.) ขนาด 2 ช่องจราจรออกแบบโดยนำจิตรกรรมมโนราห์หรือโนราของท้องถิ่นมาประยุกต์ จะช่วยลดการเดินทางระหว่างอ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา-อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง จาก 80 กม. ใช้เวลา 2 ชม.เหลือ 7 กม. ในเวลา 10- 15 นาที และยังใช้เป็นเส้นทางอพยพประชาชนในพื้นที่ จ.สงขลาไป จ.พัทลุงหากเกิดภัยพิบัติ ได้รวดเร็วมากขึ้น

ปัจจุบันตลอดแนวทะเลสาบสงขลามีสะพาน 2 แห่ง ได้แก่ สะพานชะแล้ ตั้งอยู่ด้านล่างของทะเลสาบสงขลาเชื่อม อ.สิงหนคร จ.สงขลา กับ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง และสะพานเฉลิมพระเกียรติฯตั้งอยู่ด้านบนของทะเลสาบสงขลา เชื่อมอ.ระโนด จ.สงขลา กับ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ทั้ง 2 แห่ง ห่างกัน 60 กม. ทำให้ประชาชนที่อยู่พื้นที่ตรงกลางของทะเลสาบ ต้องใช้เวลาเดินทางนานถึง 2 ชม.

ส่วนสะพานเชื่อมเกาะลันตา วงเงิน 1,800 ล้านบาท เป็นเงินกู้ 1,260 ล้านบาท (70%) เงินงบประมาณ 540 ล้านบาท (30%)มีระยะทาง1,825 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร ถนนต่อเชื่อมทั้งสองฝั่งรวม 415 เมตร โครงการเริ่มต้นจากทล.4206 (กม. 26+620) .เกาะกลาง ไปบรรจบทางหลวงชนบทสาย กบ.5035 .เกาะลันตาน้อย ระยะทางรวม 2,240 เมตร จะลดระยะเวลาการเดินทางเหลือไม่ถึง 5 นาที สะดวกสบาย24 ชม.จากเดิมโดยเฉพาะช่วงวันหยุดหรือเทศกาลต้องรอแพขนานยนต์กว่า 2 ชม.และ มีข้อจำกัดด้านการบรรทุกและช่วงเวลาบริการ06.00-22.00 .เท่านั้น รวมทั้งใช้อพยพประชาชนได้อย่างรวดเร็วกรณีเกิดภัยพิบัติด้วย

. ได้เวลาก่อสร้าง2สะพานใต้….สะพานโนรายาวที่สุดของประเทศไทย และสะพานเชื่อมเกาะลันตาที่จะพาไปชมความสวยงามของธรรมชาติได้สะดวกรวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้นแต่การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องมาพร้อมกับการอนุรักษ์โลมาอิรวดี 14 ตัวสุดท้าย