ทีมฟุตบอลทีมชาติอิตาลีนำถ้วยแชมป์กลับสู่มาตุภูมิได้สำเร็จเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1968 โดยเอาชนะทีมชาติอังกฤษในนัดชิงชนะเลิศ ที่สนามเวมบลีย์ ในกรุงลอนดอนของอังกฤษ เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งต้องตัดสินชี้ขาดกันด้วยการดวลลูกจุดโทษ หลังต่อเวลาพิเศษแล้วก็ยังเสมอกัน 1-1 ประตู

โรแบร์โต มานชินี เฮดโค้ชทีมชาติผู้พาทีมอัซซูรีคว้าแชมป์ ด้วยฟอร์มที่โดดเด่นมาตั้งแต่รอบคัดเลือกจนถึงมาลงเตะเปิดสนามเป็นคู่แรก และเข้าสู่นัดชิงชนะเลิศในวันสุดท้ายของการแข่งขัน พวกเขากลับสู่มาดินแดนมาตุภูมิเรียบร้อยโรงเรียนโรมา พร้อมการเฉลิมฉลองของแฟนบอลทั่วบ้านทั่วเมือง

ซารา กุยดิส ชาวบ้านของกรุงโรมบอกว่า เราได้กลับมารวมกันอีกครั้งเพื่อฉลองกันอย่างมีความสุข ได้แบ่งปันประสบการณ์ด้วยกันอย่างที่เราต้องการ

อิตาลี ถือเป็นชาติแรกของโลกตะวันตกที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 เมื่อปีที่แล้ว พบว่าเสียชีวิตถึง 127,840 ศพ มากกว่าใครในประชาคมยุโรป หากไม่นับอังกฤษ

มาตรการควบคุมโรคเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดเกือบจะทั้งหมด ถูกสั่งยกเลิกไป ทำให้มีการฉลองกันอย่างสุดเหวี่ยงแทบจะทั่วประเทศ ทั้งเสียงเชียร์โห่ร้องด้วยความยินดี เสียงบีบแตรรถยนต์ และน้ำตาแห่งความยินดี

จอร์โจ คิเอลลินี นักเตะกองหลัง กัปตันทีม เขียนในทวิตเตอร์เมื่อพูดถึงเพื่อนร่วมชาติว่า พวกคุณอยู่ในใจของเรา ซึ่งมองเห็นตลอด ความเจ็บปวดที่ได้รับ ความยากลำบากจนแทบทรุดเพราะการแพร่ระบาด สะท้อนถึงบุคคลผู้สูญเสียและได้รับความสูญเสีย พวกเขาจะไม่มีวันถูกลืม

นักเตะกองทัพอัสซูรี เจ้าของเสื้อทีมอิตาลีสีน้ำเงินเข้ม ได้ปลิวสะบัดไปทั่ว เพื่อแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของความสุขจากเกมฟุตบอล โดยหนังสือพิมพ์ คอร์เรียร์ เดลลา เซรารายงานว่า ฟุตบอลแม้จะไม่ใช่ชีวิตจิตใจ หรือการเมือง แต่เมื่อมารวมกันเป็นทีมชาติ เป็นตัวแทนของประเทศ แล้วทีมชาติของมานชินีก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า อิตาลีก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน

เสียงแตรเป่าดังไปทั่วเมือง บนเกาะลัมเปดูซา ทางตอนใต้ของประเทศ แฟนพายเรือไปทั่วคลองในเวนิส และการบีบแตรรถยนต์ดังสนั่น บนถนนสายหนึ่งในเมืองเบอร์กาโม ทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งต่างจากภาพของเมื่อปีที่แล้ว มีรถบรรทุกของกองทัพต้องเข้าคิวรอเพื่อเก็บศพของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจากโควิด

การแสดงความชื่นชมยินดีมีมาจากทุกฝ่าย ตั้งแต่นักการเมืองไปจนถึงนักบวช โดยหวังว่าความสำเร็จในสนามฟุตบอลจะสื่อให้เห็นกันโดยทั่วไป ว่าประเทศที่เคยพบกับภาวะเศรษฐกิจเลวร้าย เมื่อปีที่แล้ว นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง กำลังจะหาทางฟื้นตัวกลับคืนมา

สมาคมบิชอปคาทอลิกของอิตาลี แถลงว่า ทั้งประเทศอยู่เบื้องหลังทีมฟุตบอลซึ่งไม่เคยยอมแพ้ ไม่ยอมจำนน มักจะแสวงหาพลังงานใหม่เพื่อแสดงความกล้าหาญ

ส่วนสหพันธ์เกษตรกรโคลิดิเรตติ แสดงความหวังว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับคืนมาให้ได้เหมือนเมื่อปี 2006 ตอนที่นักเตะกองทัพอัซซูรีเอาชนะได้แชมป์บอลโลกมาครอง ตอนนั้นการส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 10% ในปีรุ่งขึ้น และยังมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 3.5 ล้านคน เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศที่มีชื่อเสียงอีกครั้ง.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : AP