ถือเป็น แพลตฟอร์มวิดีโอระดับโลก ที่ครองอันดับ 1 ในใจของคนไทย สำหรับ “ยูทูบ” (YouTube) ที่ได้เป็น เปิดตัวอย่างเป็นทางการในไทย 8 ปีแล้ว !!

ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจากสถานการณ์การแแพร่ระบาดของโควิด-19  ทำให้ “ยูทูบ ประเทศไทย” ไม่ได้จัดงานอัพเดทเทรนด์ต่างๆ เลย !?! ล่าสุด  หลังโควิด-19 ในไทยเริ่มซ่าลง จึงได้จัดงานใหญ่ประจำปี “Brandcast & YouTube Works Awards 2022”  ถือเป็นงานใหญ่ครั้งแรกในรอบ 3 ปี อัพเดทเทรนด์ล่าสุดบนยูทูบ

ทาง “แจ็คกี้ หวาง” ผู้อำนวยการ กูเกิล ประจำประเทศไทย ที่เป็นบริษัทแม่ ของ “ยูทูบ ประเทศไทย” บอกว่า ปัจจุบัน “ยูทูบ” ถือเป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อชุมชน ทั้งด้านความรู้ ความบันเทิง และมีการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมีคอนเทนต์ที่สอดคล้องกับทุกช่วงเวลาในชีวิต และความสนใจของผู้คน โดยเฉพาะผู้ใช้รุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี ที่เป็นวัยที่ใช้เวลาอยู่กับเทคโนโลยี และผู้คนนิยมรับชมยูทูบบนหน้าจอทีวีกันมากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลพบว่าในเดือน พ.ค. 65 มีผู้คนมากกว่า 12 ล้านรายในไทยที่รับชมยูทูบ บนหน้าจอทีวี

แจ็คกี้ หวาง

“ปัจจุบัน ระบบนิเวศของยูทูบในประเทศไทยยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง มีครีเอเตอร์สร้างสรรค์คอนเทนต์มากขึ้น โดยมีจำนวนชั่วโมงของคอนเทนต์ที่ถูกอัพโหลดบนยูทูบ เพิ่มขึ้นมากถึง 50% ในขณะที่มีช่องที่มีผู้ติดตามทะลุ 1 ล้านคน รวมกว่า 750 ช่อง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 20% ซึ่งการเติบโตนี้สะท้อนถึงเนื้อหาที่หลากหลายและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่ช่องโทรทัศน์เจ้าใหญ่ต่างๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงบุคคลในวงการโทรทัศน์ โปรดักชันเฮาส์ ค่ายเพลง ศิลปิน และครีเอเตอร์ทั่วประเทศอีกด้วย”

ขณะอีกหนึ่งผู้บริหาร คือ มุกพิม อนันตชัย” หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรธุรกิจ ยูทูบ ประเทศไทย และเวียดนาม บอกว่า ย้อนกลับไปในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา “วัฒนธรรมดิจิทัล” หรือ Digital Culture มักเกิดขึ้นมาจากวิดีโอ ไวรัลดังๆ เช่น เพลง กังนัมสไตล์ ที่เพิ่งฉลองครบรอบ 10 ปีไป ได้สร้างการมีส่วนรวมทั้งใน ออฟไลน์ และ ออนไลน์ ทุกโรงเรียน ทุกงานเลี้ยง มีการเปิดเพลงเต้นกันจนเป็นกระแส ทำวิดีโอเต้นตามเพลง เกิดขึ้นจำนวนมากในช่วงนั้น

ซึ่งจากผลศึกษาระดับโลก ที่ยูทูบร่วมกันทำกับ Ipsos พบว่า กลุ่มเจนซี อายุระหว่าง 9-24 ปี ที่เรียกว่าเป็นกลุ่ม “ดิจิทัล เนทีฟ” หรือ เป็นผู้ที่เกิดในยุคดิจิทัล จำนวน 85% ยอมรับว่าเคยโพสต์วิดีโอบนออนไลน์ ซึ่งในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมายูทูบพบว่า วัฒนธรรมป๊อป  (Pop Culture) หรือวัฒนธรรมประชานิยม มีความหลากหลายมากขึ้น เพราะวิดีโอที่ เจนซี อัพโหลด ไม่ได้ถูกกำหนดโดยกระแสหลักอีกต่อไป และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาโควิด-19 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง “คน” และ “วิดีโอ” เป็นไปในลักษณะส่วนตัวมากยิ่งขึ้น!!

โดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ยูทูบได้ทำการสำรวจผู้รับชมในเมืองไทย พบว่า 95%  ของคนไทย ระบุว่า ยูทูบ เป็นที่แรกที่จะเข้ามาหากต้องการดูอะไรซักอย่าง และ อีก 94% บอกว่า ยูทูบ แนะนำวิดีโอได้ดีและตรงใจ และหากโลกนี้ไม่มี วิดีโอแพลตฟอร์ม พวกเขาจะคิดถึงยูทูบมากที่สุด!!

มุกพิม อนันตชัย

“มุกพิม อนันตชัย” บอกต่อว่า เมื่อคนรุ่นใหม่มีความคุ้นเคยกับการผลิตและดูวิดีโอมากขึ้น ความเป็นตัวตน ของพวกเขาจึงเป็นตัวกำหนด วัฒนธรรมประชานิยม ของพวกเขาเอง ส่งผลต่อวีธีคิดและวีธีการทำงานทั้ง “ครีเอเตอร์” และ “นักการตลาด” ทำให้กระแสที่เกิดขึ้นสามารถตีความออกมาได้หลายรูปแบบ!?!

โดย 65% ของเจนซี บอกว่า พวกเขาจะให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาจริงๆ มากกว่าคอนเทนต์ที่คนส่วนใหญ่พูดถึง และ 50% ชอบดูคอนเเทนต์ที่คนรู้จักรอบๆตัว ไม่คิดจะสนใจดู ทำให้การจะสื่อสารกับคนเจนซี จึงต้องหาวีธีสร้างความสัมพันธ์กับคนกลุ่มนี้ให้เจอ!!

ครีเอทีฟไอเดียต่างๆ จึงมีความสำคัญ ในการช่วยให้สามารถเข้าไปอยู่ในชีวิตของคนเจนซีได้มากขึ้น!?!

อย่างไรก็ตาม ในยูทูบมีสังคมย่อยๆ นับล้าน โดยคอมมูนิตี้ หรือชุมชนบางกลุ่มจะมีความเฉพาะตัวสูงมาก และได้รับความสนใจจากหมู่คนที่ชื่นชอบกันเองเท่านั้น เช่น กลุ่มเกมเมอร์ ที่มีวัฒธรรมของตัวเองที่น่าสนใจ มีการจัดไลฟ์สตรีมนิ่ง มีการจัดงานในเกมที่เป็นโลกเสมือนจริง ฯลฯ

หรืออย่าง กลุ่มคนรักการตกปลา ก็มีการสร้างคอมมูนิตี้ของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กัน หรือแม้แต่ช่องของคนที่ชอบชมวิดีโอตอนเครื่องบินขึ้นลง ซึ่งรวมแล้วมียอดวิวสูงถึงหมื่นล้านวิว ในปีที่ผ่านมา

ทุกวันนี้ แรงขับเคลื่อนที่สำคัญของ คอมมูนิตี้ คือ “แฟนด้อม” หรือ กลุ่มแฟนคลับ ที่เป็นผลผวงของศิลปิน และคอนเทนต์ที่ดังๆ ซึ่งปัจจุบัน “แฟนด้อม” ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางของคอนเทนต์ ศิลปิน และความบันเทิง 

ซึ่ง 61% ของเจนซี ยอมรับว่า ตัวเองเป็น “บิ๊กแฟน” ของใครซักคน หรืออะไรซักออย่าง ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่วิดีโอคอนเทนต์เท่านั้น แต่สามารถเป็นอะไรก็ได้ เช่น ช่องทำโพล ที่มีคนเข้าถึงและตอบโพลสูงมาก นอกจากนี้ ยังมีปรากฏการณ์ “แฟน คอมมูนิตี้ คอนเทนต์” ที่ทำให้เจ้าของคอนเทนต์เรียนรู้ว่า คอนเทนต์แบบไหนที่คนอยากดู เช่น วิดีโอสั้น วิดีโอยาว เรียกว่า พลังสนับสนุนจาก “แฟนด้อม” ทำให้ความชอบที่มันเฉพาะเจาะจงมากๆ กลายเป็น แมส ได้ในพริบตา!!

และยังมีการเกิดขึ้นของบิ๊กแฟน จากผู้ดู ได้ลุกขึ้นมาทำช่องของตัวเองบนยูทูบจนประสบความสำเร็จ จากที่ “อิน” หรือ “คลั่งไคล้” ได้เปลี่ยนตัวเองจากคนติดตามดู มาเป็นครีเอเตอร์ หรือ ยูทูบเบอร์ เอง จนมีผู้ติดตามเป็นหลักล้านคน!! และปัจจุบันคนคิดตาม และ “แฟนด้อม” ยังได้มีการสนุบสนัน ”เงินทุน” ให้กับช่องที่ตนเองชื่นชอบและติดตาม เพื่อสร้างสรรค์คอนเทนต์ใหม่ๆ ออกมาอีกด้วย!!

นอกจากนี้ยังมีคอนเทนต์ที่เป็นที่นิยมอื่นๆ เช่น แนวสยองขวัญ แนวดูเพื่อผ่อนคลาย หรือดูเพื่อเป็นเพื่อนแก้เหงา ฯลฯ ที่กำลังเป็นเทรนด์ที่นิยมเช่นกัน

ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ “ยูทูบ” กำลังจะเน้นเป็นพิเศษต่อจากนี้ คือ การสร้างสรรค์ “วิดีโอสั้น” ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยจะมีการแบ่งรายได้จากยอดวิวให้กับครีเอเตอร์ที่ทำวิดีโอสั้น โดยอยู่ระหว่างการพิจารณารูปแบบ และอัตราผลตอบแทน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มได้ในช่วงต้นปีหน้า!?!

จิราวัฒน์ จารุพันธ์