การวางรางแบบไม่ใช้หินโรยทาง (ballastless track) ตลอดแนวรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยรางแบบไม่ใช้หินโรยทางมีความยาวประมาณ 85 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 60 ของความยาวรางทั้งหมด 142 กิโลเมตร ใช้แผ่นรางจำนวน 30,177 แผ่น

การใช้แผ่นรางแบบไม่ใช้หินโรยทาง CRTS III เทคโนโลยีของจีน มีข้อดีคือ เป็นโครงสร้างที่เรียบง่าย แต่ทนทาน มีความปลอดภัยสูง

Dwiyana Slamet Riyadi ประธาน Kereta Cepat Indonesia China (KCIC) กล่าวว่า นี่เป็นครั้งแรกที่อินโดนีเซียมีการก่อสร้างระบบรางด้วยเทคโนโลยีนี้  ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากประเทศจีน 

รถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง เป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกที่สร้างขึ้นในอินโดนีเซียและอาเซียน เริ่มก่อสร้างเมื่อปี ค.ศ. 2018  ล่าสุดการก่อสร้างสถานี สะพาน และงานฐานรากเสร็จแล้ว ตามกำหนดการรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง จะเริ่มให้บริการในช่วงกลางปีนี้

รถไฟสายนี้เป็นหนึ่งในโครงการแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative) วิ่งระหว่างกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซียถึงเมืองบันดุง ด้วยความเร็ว 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ช่วยย่นระยะเวลาเดินทางจากจาการ์ตาถึงบันดุงจากกว่า 3 ชั่วโมง ให้เหลือเพียง 40 นาที

เครดิต China Media Group (CMG)