นายกรวัฒน์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง แอมิตี (Amity) ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ ระดับโลก กล่าวว่า ได้ประกาศแผนตั้งบริษัทย่อยแยกออกจากหน่วยธุรกิจ โดยเน้นทำตลาดไทย ภายใต้แบรนด์ใหม่ชื่อ “แอมิตี โซลูชันส์ (Amity Solutions)” Amity และเสนอขายหุ้นครั้งแรกของบริษัทให้กับสาธารณชน หรือ ไอพีโอ และนำหุ้นนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในปี 67 โดยงินที่ระดมทุนได้และจะนำ ไปใช้ลงทุนในผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ที่ขับเคลื่อนด้วย จีพีที (GPT)

โดยธุรกิจหลัก ของ Amity Solutions จะประกอบไปด้วย เอโค่ (Eko) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติ (automation) และเน้นการสร้างการมีส่วนร่วม (engagement) ภายในองค์กรอันเป็นผลิตภัณฑ์แบบดั้งเดิมของ Amity ไปจนถึงผลิตภัณฑ์แชตบอตที่เรียกว่า แอมิตีบอตส์ (Amity Bots) นอกจากนี้ ธุรกิจ Amity Solutions จะรวมถึงแหล่งรายได้อื่น ๆ ในไทยของ Amity เช่น ธุรกิจผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็น API โดย ผลิตภัณฑ์ Amity Solutions มียอดผู้ใช้งานมากกว่า 20 ล้านคนต่อเดือน และ Amity Solutions จะรวมถึงโซลูชั่นและผลิตภัณฑ์ เอไอที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี จีพีที ของ Amity ที่เพิ่งเปิดตัวไปล่าสุด โดยมีเป้าหมายที่จะนำโซลูชั่น เอไอ ที่ขับเคลื่อนด้วย จีพีที เข้ากับผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมด อีกทั้งยังลงทุนเพิ่มเติมเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่น เอไอ ที่ขับเคลื่อนด้วย จีพีที ชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า จีพีที กำลังพาเราเข้าสู่ยุคใหม่ของความสามารถด้านการประมวลผล จะมาพลิกโฉมอุตสาหกรรม ทั้งหมดในหลาย ๆ อุตสาหกรรม และแน่นอนว่ารวมถึงวิธีที่ธุรกิจดำเนินกิจการด้วยเทคโนโลยีแชตจีพีที แสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์ม จีพีที ของ โอเพ่นเอไอ  นั้นมีศักยภาพอะไรบ้าง และ Amity Solutions มีเป้าหมายคือ มุ่งสู่เป็นผู้นำระดับภูมิภาคที่พัฒนาโซลูชั่น เอไอนอกเหนือจาก จีพีที ” นาย กรวัฒน์  กล่าว

นาย กรวัฒน์  กล่าวต่อว่า สำหรับในตลาดโลก Amity ก็มีการเติบโตสูง เน้นขายผลิตภัณฑ์ “แอมิตีโซเชียลคลาวด์ โดยมีเป้าหมายที่จะจดทะเบียนในแนสแด็ก (NASDAQ) ในอีกหลายปีข้างหน้า  ส่วน Amity Social Cloud ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยขับเคลื่อนชุมชนดิจิทัล และโซเชียลฟีเจอร์ในแอปพลิเคชัน โดยสามารถ plug-in เข้ากับแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ใดก็ได้ นับตั้งแต่เปิดตัวทั่วโลกเมื่อต้นปี 64 ก็เติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดยุโรปและอเมริกา โดยมียอดผู้ใช้งานต่อเดือน พุ่งสูงขึ้นจากประมาณ 30,000 รายเมื่อต้นปี 65 ขึ้นเป็นมากกว่า 1.1 ล้านรายในเดือนกุมภาพันธ์ 66 โดยมีสำนักงานอยู่ในลอนดอน และมิลาน มีลูกค้าเป็นแบรนด์ชั้นนำของสหรัฐอเมริกาและยุโรปหลายสิบแห่งและธุรกิจมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์