ทุกวันนี้ การทำธุรกรรมทางออนไลน์ ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเรื่องส่วนตัวและการทำงาน ไม่ว่าจะการโอนเงินผ่านแอปของธนาคาร การรับส่งอีเมล ซึ่งปัจจุบัน ลายชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Signature ได้รับความนิยมและมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย

ซึ่งจากข้อมูล ของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า การทำ 5 สื่งเหล่านี้ เป็นลายชื่อชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบ้างไปดูกัน!!

1.ตวัดลายเซ็นบนหน้าจอ

การตวัดลายเซ็น ด้วยชื่อ-นามสกุล หรือชื่อเล่น บนหน้าจอโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต สามารถเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ แม้ไม่ได้มีรูปแบบการเซ็นเฉพาะตัวเหมือนเซ็นลงบนกระดาษตัวจริง เพราะตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับคำว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้มีคำนิยามที่กินความถึง

“อักษร อักขระ ตัวเลข เสียง หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคล ผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น”

2.ลงชื่อท้ายอีเมล เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

ทุกวันนี้หลาย ๆ คนมีการใช้อีเมล เพื่อการติดต่อลูกค้า หรือประสานงานต่าง ๆ ผ่านทางอีเมล แล้วพิมพ์ชื่อต่อท้ายข้อความของอีเมล ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-นามสกุล ชื่อย่อ ชื่อเล่น หรือกำกับด้วยตำแหน่งหรือชื่อองค์กรต่อท้ายนั้น

สามารถเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน โดยชื่อท้ายอีเมลจะเปรียบเสมือนลายมือชื่อที่เซ็นกำกับไว้ท้ายข้อความของจดหมายหรือหนังสือ เพื่อแสดงเจตนายอมรับหรือให้การรับรองข้อความในจดหมายหรือหนังสือดังกล่าว

3.การกรอก Username และ password เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

ซึ่งการใส่ Username กับ Password ล็อกอินเข้าระบบ เว็บไซต์ แอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น ไลน์ หรือ ลาซาด้า ช้อปปี้ เพื่อทำธุรกรรม ติดต่อสื่อสาร หรือซื้อขายสินค้าออนไลน์ สิ่งเหล่านี้ก็สามารถเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Signature ได้

ยกตัวอย่างกรณี การทักหาเพื่อนผ่านแชทไลน์ เพื่อขอยืมเงิน แม้ไม่มีเอกสารสัญญา แต่เมื่อผู้ให้ยืมเงินไม่ได้รับเงินคืนตามข้อตกลง ก็สามารถนำหลักฐานข้อความสนทนาในแชทไลน์มาใช้เป็นหลักฐานทางกฏหมายได้ เนื่องจากการล็อกอิน Username กับ Password ของผู้ยืมเงินนั้น จะเปรียบเสมือนลายมือชื่อที่ได้เซ็นบนเอกสารสัญญากู้เงินนั่นเอง

4.การคลิก “I Accept” หรือ “ฉันยอมรับ” บนเว็บ-แอป

หลายๆคนอาจจะยังไม่รู่ว่า การคลิก “I Accept” หรือ “ฉันยอมรับ” บนหน้าเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ สามารถเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ในยุคดิจิทัลนี้

ซึ่งปัจจุบัน เมื่อเราเข้าใช้งานเว็บไซต์ หรื แอปต่าง ๆ จะมีข้อความขึ้นมา เช่น การทำธุรกรรมทางออนไลน์ เช่น การกู้ยืมเงิน หรือการสมัครใช้บริการต่าง ๆ ทางออนไลน์ จะมีข้อความ ข้อกำหนด หรือเงื่อนไขปรากฏขึ้นเป็นข้อความ popup ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ที่จะทำธุรกรรมหรือใช้บริการได้อ่าน และคลิกปุ่ม “I Accept” หรือ “ฉันยอมรับ” ซึ่งการคลิกนี้จะแทนการลงลายมือชื่อเพื่อแสดงเจตนายอมรับข้อตกลง ข้อกำหนด หรือเงื่อนไขในการทำธุรกรรมหรือการใช้บริการ

5.การเสียบบัตรและใส่รหัส ATM

การใช้บริการ กดเงินจากตู้ เอทีเอ็ม เป็นการเแสดงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นกัน ซึ่งเมื่อเราต้องการกดเงินจากตู้ เอทีเอ็ม ต้องใส่รหัสส่วนตัว 4-6 หลัก ซึ่งการเสียบบัตรและใส่รหัสส่วนตัวนี้ สามารถเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Signature ได้

โดยปัจจุบันมีคำพิพากษาฎีกาที่ 8089/2556 ซึ่งเป็นเรื่องของการนำบัตรกดเงินสดไปกดเงินจากตู้เบิกถอนเงินอัตโนมัติ โดยศาลได้มีคำวินิจฉัยตัดสินแล้วว่า การนำบัตรกดเงินสดไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเปรียบได้กับการลงลายมือ ชื่อตนเองในการทำรายการเบิกถอนเงิน

อย่างไรก็ตามทาง เอ็ตด้า ระบุว่า การนำรูปแบบของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามตัวอย่างข้างต้นมาใช้งาน ต้องมี องค์ประกอบของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนดให้ต้องมี

หากขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งแล้วอาจส่งผลถึงผลผูกพันหรือการบังคับใช้ทางกฎหมายของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวได้   โดยองค์ประกอบที่กำหนดไว้ตาม ก.ม. คือ

1.ต้องระบุได้ว่าเป็นลายมือชื่อของใครหรือใครเป็นเจ้าของลายมือชื่อ โดยไม่ว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นจะอยู่ในรูปแบบใด ไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือ สัญลักษณ์ใด ๆ จะต้องสามารถเชื่อมโยงไปยังตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของสิ่งเหล่านี้ได้

2.ต้องระบุเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อต่อข้อความที่ลงนามได้ โดยต้องบอกได้ว่ามีเจตนาอะไร เช่น ยอมรับ รับรอง หรืออนุมัติตามข้อความที่ระบุในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือยอมรับข้อความซึ่งเป็นข้อตกลงในสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

3.ต้องใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ โดยอาจดูจากวิธีการว่ามีความมั่นคงปลอดภัยหรือไม่ มีลักษณะและขนาดของธุรกรรมเป็นอย่างไร มีความเหมาะสมกับวิธีการที่ใช้หรือไม่ หรือมีระบบการสื่อสารที่รัดกุมมากน้อยเพียงใด เป็นต้น

มาถึงบรรทัดนี้แล้ว หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใขแล้วว่าอะไร ที่เราทำ แม้อาจจะไม่ได้จับปากกาเซ็นชื่อด้วยตนเอง ก็เข้าองค์ประกอบที่จะถือเป็น การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Signature เรียบร้อยเแล้ว

ภาพประกอบจาก pixabay.com