เมื่อวันที่ 11 ส.ค.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดพิธีมอบรางวัล Thailand Research Expo 2023 Award และมอบโล่แสดงความขอบคุณแก่หน่วยงานที่นำผลงานร่วมนำเสนอ ในพิธีปิดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ซึ่งผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับรางวัล Platinum Award จะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล และเกียรติบัตร โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้มอบถ้วยรางวัล ประเภท รางวัล Gold Award รางวัล Silver Award รางวัล Bronze Award พร้อมประกาศเกียรติบัตร และ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบโล่แสดงความขอบคุณแก่หน่วยงานที่นำผลงานร่วมนำเสนอในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023)” ณ เวที Highlight Stage โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนและกระตุ้นให้หน่วยงานต่าง ๆ เห็นความสำคัญในการนำเสนอผลงานวิจัยและกิจกรรมส่งเสริมการวิจัยที่มีคุณภาพเข้าร่วมในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023)” และได้จัดให้มีกิจกรรม Thailand Research Expo 2023 Award ซึ่งเป็นการพิจารณาคัดเลือกผลงานที่มีกระบวนการนำเสนอที่มีความโดดเด่นในรูปแบบที่หลากหลายและสามารถเชื่อมโยงส่งต่องานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ต่อไปได้ โดยแบ่งผลงานออกเป็น 5 ประเภท และมีหน่วยงานที่ได้รับรางวัลประเภทต่าง ๆ ดังนี้ รางวัล Platinum Award จำนวน 2 รางวัล ผู้รับรางวัลได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล รางวัลละ 120,000 บาท และเกียรติบัตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยผลงาน “สมุทรสงครามอยู่ดี : การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ฐานนิเวศวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน” และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยผลงาน “ระบบสมาร์ทฟาร์มและระบบอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกพืชผักปลอดสารพิษ” รางวัล Gold Award จำนวน 4 รางวัล ผู้รับรางวัลได้รับถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรี พร้อมเงินรางวัล รางวัลละ 70,000 บาท และเกียรติบัตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

โดยผลงาน “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์กาแฟอะราบิกาจากกระบวนการ Facultative Anaerobic Yeast (FAY) process”การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยผลงาน “โรงไฟฟ้าพลังงานขยะเคลื่อนที่”มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยผลงาน “กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้”และมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยผลงาน “นวัตกรรมอาหารและเครื่องสำอางมูลค่าสูงจากส่วนเหลือ ของกระบวนการสีข้าวสังข์หยดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วย BCG model” รางวัล Silver Award จำนวน 6 รางวัล ผู้รับรางวัลได้รับถ้วยรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมเงินรางวัล รางวัลละ 50,000 บาท และเกียรติบัตร ตามลำดับ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยผลงาน “การขับเคลื่อน BCG โดยกลไกการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ปลิงควายอย่างยั่งยืน” มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยผลงาน “วิถีเครื่องสำอาง BCG จากชุมชนท้องถิ่น สู่การพัฒนา ชุมชนสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน”

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยผลงาน “การยกระดับคุณค่าและมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยผลงาน “การพัฒนาข้อมูลดิจิทัล 3 มิติ เพื่อการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษามรดกทางวัฒนธรรม” มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยผลงาน “การใช้ประโยชน์ชีวมวลปาล์มน้ำมันสำหรับผลิตภัณฑ์และสารเคมีมูลค่าสูง”และกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยผลงาน “การพัฒนารูปแบบยาเตรียมตำรับลดการติดยาจากตำรับยาทำให้อดฝิ่น ชนิดเม็ดฟู่” รางวัล Bronze Award จำนวน 8 รางวัล ผู้รับรางวัลได้รับถ้วยรางวัลจากปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (4 รางวัล) ถ้วยรางวัลจากผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (4 รางวัล) พร้อมเงินรางวัล รางวัลละ 30,000 บาท และเกียรติบัตร ตามลำดับ ได้แก่ ถ้วยรางวัลจากปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช โดยผลงาน “การยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภาสู่การเป็นผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช” สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยผลงาน “การบริหารพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราชอย่างยั่งยืนภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG” มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยผลงาน “การพัฒนาสายพันธุ์ผึ้งด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อยกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งของประเทศไทย” มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา โดยผลงาน “โครงการ ฟื้นฟู และต่อยอดผ้าลายอย่างเอกลักษณ์อยุธยา “จุฬาพัสตร์” สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน”

ถ้วยรางวัลจากผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ โดยผลงาน “การพัฒนาเชื้อเพลิงเคมีชีวภาพจากตะกอนน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดแบบไม่ใช้อากาศ”มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยผลงาน “การยกระดับอาชีพการนวดแผนไทยและสปา จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) เส้นทางแม่น้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม”การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยผลงาน “หุ่นยนต์ล้างแผงโซลาร์เซลล์ (Robotic Solar Cleaner)” และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) โดยผลงาน “เปลี่ยนขยะเป็นกราฟีนมูลค่าสูง” รางวัลชมเชย จำนวน 16 รางวัล ผู้รับรางวัลจะได้รับเงินรางวัล รางวัลละ 10,000 บาท และเกียรติบัตร ได้แก่ กรมการข้าว โดยผลงาน “หน่วยปฏิบัติการตรวจสอบเอกลักษณ์พันธุกรรมข้าวหอมมะลิไทย Rice DNA Testing Center” องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยผลงาน “การสำรวจความเสี่ยงด้านสุขภาพ ความหลากหลายทางพันธุกรรม และความขัดแย้งในการทำลายพืชผลการเกษตร เพื่อการอนุรักษ์และ จัดการประชากรกระทิง (Bos gaurus) ณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา อย่างยั่งยืน” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยผลงาน “ANSEE KHAO YAI นวัตกรรมเพื่อสร้างการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยผลงาน “เซนเซอร์ที่ใช้สนาม แม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับการวัดความชื้นดินในระบบการเกษตรอัจฉริยะ” กรมวิชาการเกษตร โดยผลงาน “”ฝ้ายเส้นใยสีธรรมชาติ” นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและยกระดับศักยภาพของกลุ่มผลิตสิ่งทอ” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยผลงาน “นวัตกรรมอาหารฟังก์ชันมูลค่าสูง: ซุปกึ่งสำเร็จรูปรสไทยสำหรับผู้สูงอายุ” มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต โดยผลงาน “การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบสู่การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะผ่านโครงงานฐานชุมชน” มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยผลงาน “นวัตกรรมชุมชนการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสังคม ด้วยโมเดลพุ่มพวง” มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยผลงาน “สานพลังเครือข่ายการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือของนักเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดยะลา” สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดยผลงาน “กระบวนการพิสูจน์แหล่งกำเนิดอัญมณี โดยใช้เอกลักษณ์ทางเคมี ด้วยเทคนิค LA-ICP-MS”

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยผลงาน “การพัฒนานวัตกรรมการแปรรูปผลโกโก้ (Theobroma cacao) และวัสดุเศษเหลือจากการแปรรูป เพื่อยกระดับการใช้ประโยชน์พืชผลทางการเกษตรอย่างยั่งยืน” สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยผลงาน “การใช้ประโยชน์จากโปรตีนจิ้งหรีดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ฟังก์ชันนอลฟู้ด (functional food) สูตรโปรตีนสูง ไขมันต่ำ” มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยผลงาน “ชุดทดสอบการย่อยสตาร์ชและค่าดัชนีน้ำตาลในอาหาร โดยใช้การย่อยด้วยเอนไซม์ในสภาวะจำลอง” การไฟฟ้านครหลวง โดยผลงาน “DIGITAL TWIN by MEA GIS” มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยผลงาน “การพัฒนาแพลตฟอร์มปลาแห่งสยามเพื่อเป็นศูนย์กลางตลาดอิเล็กทรอนิกส์และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับปลาสวยงาม” และกรมทางหลวง โดยผลงาน “โครงการศึกษาเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากอุบัติเหตุบนทางหลวงที่เกี่ยวเนื่องจากการขับขี่หลับใน”