สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 26 ต.ค. ว่า การปราบปรามโลกของการกวดวิชาภาคเอกชนที่แสวงหากำไร เมื่อปี 2564 ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของความพยายาม ที่จะแสดงถึงการควบคุมระบบการศึกษาของพรรครัฐบาลอีกครั้ง
ความเคลื่อนไหวดังกล่าว ห้ามไม่ให้บริษัทกวดวิชาในจีน จ้างครูผู้สอนจากต่างประเทศ โดยนักวิจารณ์หลายคนระบุว่า มันเป็นการกีดกันเด็กชาวจีนจากอิทธิพลภายนอก
ทั้งนี้ กฎหมายใหม่ ซึ่งได้รับการอนุมัติ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2567 จะเสริมสร้างการศึกษาด้วยความรักชาติในยุคใหม่ และพยายามถ่ายทอด “จิตวิญญาณของความรักชาติ” ให้กับเยาวชนของจีน
The Patriotic Education Law was passed on Tuesday at a session of the Standing Committee of the National People's Congress, China's national legislature, providing a legal guarantee for carrying out patriotic education https://t.co/LBBBlYZq8f pic.twitter.com/KNcUNkBQQW
— China Xinhua News (@XHNews) October 25, 2023
ขณะที่บทความแสดงข้อคิดเห็นจากสำนักข่าวซินหัว ซึ่งยกย่องหน่วยงานนิติบัญญัติระดับสูงรัฐบาลปักกิ่ง ที่นำกฎหมายข้างต้นมาใช้ ระบุว่า การศึกษาในจีน “เผชิญกับความท้าทาย” ในช่วงไม่นานมานี้ และมีบางคนไม่รู้ว่า ความรักชาติคืออะไร
ยิ่งไปกว่านั้น บทความยังโจมตี “อิทธิพลของความคิดทางสังคมบางอย่าง” เช่น การทำลายล้างประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นคำที่ผู้นำรัฐบาลปักกิ่ง มักใช้เพื่อประณามความเห็น ซึ่งขัดแย้งกับวาทศิลป์เกี่ยวกับพรรคที่เป็นทางการ
อนึ่ง กฎหมายใหม่ยังระบุถึงบทบัญญัติที่รวมอยู่ในกฎหมายอื่นแล้ว ไม่ว่าจะเป็น การห้ามดูหมิ่นธงชาติ และการห้ามบิดเบือน หรือปฏิเสธการกระทำและจิตวิญญาณของวีรบุรุษ
ด้านนายจ้าว เล่อจี้ ประธานคณะกรรมการประจำ ของสภาประชาชนแห่งชาติ (เอ็นพีซี) กล่าวว่า กฎหมายใหม่จะช่วยเหลือจีน ในการ “สร้างพลังอันยิ่งใหญ่” เพื่อสร้าง “ประเทศที่เข้มแข็ง” ต่อไป.
เครดิตภาพ : AFP