อภิชาติ จูตระกูล” CEO แสนสิริ สนับสนุนลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมมอบโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็น Asset สำคัญและมีคุณค่า ไม่มีวันหมด อย่างโครงการ ZERO DROPOUT ที่ทำร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยแสนสิริสนับสนุนเงินทุน 100 ล้านบาท นำร่องที่ราชบุรี ให้เป็นจังหวัดต้นแบบ ตั้งเป้าช่วยเด็กหลุดจากการศึกษาเป็นศูนย์ในปี 2567 ซึ่งมีความคืบหน้าไปมาก ที่สำคัญเราไม่มีธุรกิจในพื้นที่ จึงไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

โครงการ ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน เป็นแผนระยะยาว 3 ปี (เริ่มตั้งแต่ปี 2565 – 2567) นำร่องแห่งแรกที่จังหวัดราชบุรี ให้เป็นโมเดลต้นแบบในการสร้างกลไกการเปลี่ยนแปลงการศึกษาระดับประเทศ ช่วยเด็กหลุดจากการศึกษาเป็น ‘ศูนย์’ ในปี 2567 ภายใต้การดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และสมัชชาการศึกษาราชบุรี ร่วมด้วยแสนสิริที่สนับสนุนเงินทุนในโครงการจำนวน 100 ล้านบาท

ได้เดินหน้าการทำงานสู่ปีที่ 3 ในปี 2567 และมีความคืบหน้าตามแผนงานที่วางไว้ สามารถลดจำนวนเด็กเสี่ยงหลุดออกนอกระบบการศึกษา รวมไปถึงเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาไปแล้วให้สามารถได้รับการศึกษาและพัฒนาให้มีทักษะการทำงานในโลกยุคใหม่ ได้แล้วราว 1 หมื่นคน จากทั้งหมด 10 อำเภอ และล่าสุดคือโมเดลการศึกษา 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ ซึ่งปัจจุบันเริ่มต้นแล้วใน 12 โรงเรียน ทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และมีแผนสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อขยายไปทุกเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดราชบุรี ซึ่งพื้นที่ จ.ราชบุรี มีความเหลื่อมล้ำในการศึกษาจากภูมิศาสตร์จังหวัดติดชายแดน ที่มีสภาพทั้งแบบชุมชนและเมือง ขณะที่ยังเป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้กับกรุงเทพฯ และที่สำคัญคือ แสนสิริไม่มีการพัฒนาโครงการและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในพื้นที่ดังกล่าว

โดยแสนสิริมีวัตถุประสงค์เพื่อจุดประกายให้ทุกคนมีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงประเทศไทยในการช่วยลงมือและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาอย่างยั่งยืน การสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางการศึกษาให้เยาวชนในพื้นที่ และขับเคลื่อนราชบุรีโมเดล ให้เป็นจังหวัดต้นแบบนวัตกรรมการศึกษาของประเทศ ผ่านความร่วมมือจากภาครัฐ และเอกชน ที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้เยาวชนทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม