ให้กลายเป็น Metro Art อาร์ตสเปซใจกลางเมือง ด้วยการเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะ ส่งเสริมการต่อยอดทางความคิดและวิชาชีพให้กับชุมชน เยาวชน ตลอดจนประชาชนที่อาศัยในเขตคลองเตยอย่างยั่งยืน โดยเชิญชวนนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมการประกวดภายใต้โครงการ “การออกแบบพื้นที่สร้างสรรค์ Too Fast Too Sleep แห่งใหม่ที่สถานีรถไฟฟ้า MRT คลองเตย”

 “BEM BMN และ ช.การช่าง เรามุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคมเป็นทุนเดิม เราสนับสนุนชุมชน นักเรียน นักศึกษาที่อาศัยอยู่รายล้อมทางด่วน หรือแม้กระทั่ง MRT ซึ่งจริง ๆ แล้ว โครงการนี้ก็นับว่าอยู่ในวิสัยทัศน์ของเราอยู่แล้ว จึงอยากสร้างพื้นที่ในการเติมความรู้ให้กับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กด้อยโอกาส” วิทสุวัฒน์ อำคาเพท กรรมการผู้จัดการ บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์จำกัด กล่าว

“วิทสุวัฒน์” ในฐานะผู้ให้บริการสื่อโฆษณา พื้นที่จัดกิจกรรมในระบบรถไฟฟ้า MRT และทางด่วน ระบุว่า ภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการ ได้มีการส่งมอบบริการที่มีประสิทธิภาพ ยกระดับคุณภาพชีวิต มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อร่วมกันสร้างคุณค่าระหว่างบริษัท ชุมชน และสังคม ให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยหนึ่งในกลยุทธ์การส่งเสริมความสุขทั้ง 3 ด้าน คือ ความสุขของชุมชนและสังคม หรือ Happy Living Society ประกอบไปด้วย Happy Journey, Happy Living Society และ Happy Planet ดังนั้นจึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความสามารถของเยาวชนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนในพื้นที่ โดยเล็งเห็นว่า MRT สถานีคลองเตย ตั้งอยู่ในย่านที่เหมาะสมแก่การพัฒนาเป็นแหล่งการเรียนรู้สำหรับชุมชน ทั้งยังมีโอกาสในการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์
ต่อไปได้อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ยังร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Too Fast To Sleep พันธมิตรที่จะสามารถปลุกปั้นพื้นที่ให้กลายเป็น “คอมมูนิตี้ด้านปัญญา” หรือเรียกอีกอย่างว่า “แหล่งมั่วสุมทางปัญญา” แห่งใหม่ได้อย่างน่าสนใจ จึงเกิดเป็นโครงการดังกล่าว ที่เปิดกว้างให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้ใช้เป็นพื้นที่ในการอ่านหนังสือ ประชุม ไปจนถึงการทำงานกลุ่ม ซึ่งตอบโจทย์วิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ที่ต้องการพื้นที่เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาตลอด 24 ชั่วโมง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการริเริ่มการพัฒนาทักษะอาชีพและศักยภาพของผู้คนในชุมชนคลองเตย นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชน ที่สนใจ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

“BEM และ BMN จะไม่หยุดพัฒนาเพียงเท่านี้ เรายังมองหาพื้นที่ที่น่าสนใจในระบบรถไฟฟ้า MRT ในการปรับโฉมใหม่อยู่เสมอ เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้บริการ MRT” วิทสุวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย.