ซึ่งประกอบไปด้วย Soft Power ที่ทรงพลังของชาวบ้าน โดยผู้ประกอบการโรงแรม ที่พักล้วนต้องดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ใช้พลังงานสะอาด ใช้นํ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และจ้างงานชาวบ้านอย่างเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ในช่วงเทศกาลที่ผ่านมา ผมให้ทีมงานลองหาข้อมูล กับได้ลงไปคุยกับผู้ประกอบการในท้องที่ รวมถึงคุยกับผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ และนี่คือรายงานอย่างไม่เป็นทางการ

“ผู้ประกอบการโรงแรมและบริการ” ที่พบว่ากว่า 90% ต่างมีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวยั่งยืนเป็นอย่างดี และเมื่อเราคุยกับผู้ประกอบการไปเรื่อย ๆ ปรากฏว่าไม่ถึง 10% ได้ลงทุนอย่างจริงจังกับการปรับปรุงกิจการ ตามหลักการท่องเที่ยวยั่งยืน ตัวเลขนี้สอดคล้องกับผลงานวิจัยที่ออกมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า มีคนจำนวนไม่น้อยตระหนักในเรื่องนี้ แต่ยังไม่เปลี่ยนแปลง

“นายทุนและธนาคาร” กับผู้สนับสนุนเงินกู้ให้กิจการท่องเที่ยวต่าง ๆ ยังไม่ให้ความสนใจมากนัก และยังไม่ได้นำกลไกทางการเงิน อาทิ การลดดอกเบี้ยสำหรับการลงทุนใหม่ ๆ เช่น การใช้พลังงานสะอาด การประหยัดนํ้า การจ้างงานชุมชนอย่างเป็นธรรมมาใช้ โดยผลตอบแทนทางการเงินยังคงสำคัญกว่าประเด็นเรื่องของความยั่งยืน

“นักท่องเที่ยวและผู้ใช้บริการ” ต่างบอกว่าสนใจเรื่องการท่องเที่ยวยั่งยืน แต่เมื่อคุยรายละเอียดลึกลงไปเรื่อย ๆ มีเพียงไม่ถึง 20% ที่ยอมจ่ายเงินเพิ่ม และโดยส่วนใหญ่ยังแสวงหาของที่ถูกและดี ซึ่งไม่มีอยู่จริง

“ชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน” ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน และยังไม่สามารถวางธรรมนูญชุมชนที่ทุกคนเห็นพ้องกันเรื่องความยั่งยืน ทำให้พอถึงช่วงเทศกาลต่างคนต่างแย่งชิงกันหารายได้ โดยไม่ใส่ใจกฎระเบียบและความยั่งยืน อีกทั้งผู้มีอิทธิพลยังมีอำนาจเหนือพลังชุมชน

“หน่วยงานของรัฐ” ที่ไม่น่าเชื่อว่าจากการพูดคุยนั้น จะเป็นภาคส่วนที่สนใจเรื่องนี้น้อยที่สุด และส่วนใหญ่จะใช้ข้ออ้างทางกฎหมายกับแบบแผนทางราชการที่จะไม่เปลี่ยนแปลงใด ๆ และที่ไม่มีใครกล้าพูดมากนัก คือกฎเกณฑ์เหล่านี้สามารถมี 2 มาตรฐานได้ จนเป็นช่องทางสำหรับการทุจริตคอร์รัปชัน โดยมีเพียงไม่กี่แห่งที่ผู้นำให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและธรรมา
ภิบาล แต่ส่วนใหญ่นโยบายยังไม่เข้าไปในหัวใจและไม่ลงไปสู่การปฏิบัติ

นี่คือ “ความจริงที่เจ็บปวดในวงการท่องเที่ยว” เพราะในขณะที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงเรื่องของการท่องเที่ยวยั่งยืน และมี Soft Power ในระดับโลก ดังนั้นถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะเปลี่ยนข้อจำกัดเหล่านี้เป็นพลังในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้ให้ประเทศชาติอย่างยั่งยืน.