สาเหตุส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรม การเผาไหม้ถ่านหินและเชื้อเพลิงชีวภาพซึ่งทำให้รัฐบาลเร่งออกนโยบายทุกทางเพื่อแก้ปัญหา โดยที่รู้จักกันคือ สงครามปกป้องท้องฟ้าสีคราม (Blue sky defense battle) รวมถึงนโยบายการส่งเสริมพลังงานสะอาด

สืบเนื่องจากสมาคมด้านพลังงานของเมืองฉงชิ่งจัดการประชุมและศึกษาดูงานด้านการพัฒนาเมือง โดยเชิญนักวิชาการจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)ซึ่งมีคุณเบญจมาส โชติทองและคุณวิลาวรรณ น้อยภา เข้าร่วมประชุมครั้งนั้น พร้อบกับเรียบเรียงนำเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Green Chongqing การพัฒนานครฉงชิ่งสู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย 10 เรื่องน่ารู้ได้แก่ ภูมิทัศน์สวยงาม ต้นไม้ใหญ่และพื้นที่สีเขียวสองข้างถนนถูกจัดการเป็นอย่างดี สัมผัสได้ตั้งแต่ออกเดินทางจากสนามบินเจียงเป่ยไปตลอดทาง

บทบาทองค์กรทางสังคม (Social organizations) เข้ามามีส่วนช่วยเฝ้าระวังมลพิษ และทำงานร่วมกับบริษัทเอกชนมากขึ้น รวมถึงกระตุ้นเยาวชนและสังคมให้เรียนรู้และปกป้องธรรมชาติ เช่น กรณีศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติ การอนุรักษ์นกอินทรีย์ ขยายชุมชนเกษตรอินทรีย์ โดยนำองค์ความรู้สมัยใหม่เข้ามาใช้ในการทำเกษตรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตชนบท สร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นโดยได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ ป้ายทะเบียนรถยนต์แยก 2 สี ชัดเจน ให้เข้าใจว่าป้ายทะเบียนสีเขียวคือรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV (Electricity vehicle) ซึ่งมีประมาณ 20% ในเมืองนี้และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนป้ายทะเบียนสีนํ้าเงินคือรถที่ใช้เชื้อเพลิงแบบเดิม

พัฒนาเทคโนโลยีระบบชาร์จสำหรับรถยนต์ EV และขยายจุด/สถานีชาร์จแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ EV ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในเขตเมือง แม้ยังมีจำกัดในเขตพื้นที่ชนบท สถานีสลับแบตเตอรี่สำหรับรถแท็กซี่ EV ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที และต่อไปน่าจะขยายเพิ่มและพบเห็นได้ทั่วไป เกิดธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ ๆ ด้านธุรกิจพลังงานสะอาด โดยการสนับสนุนจากรัฐบาล บางบริษัทเพิ่งก่อตั้งได้ 4-5 ปี สามารถขยายงานได้แบบก้าวกระโดด การให้บริการแบบครบวงจรของบริษัทผลิตอุปกรณ์ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ นับแต่การขออนุญาตติดตั้ง การติดตั้ง ระบบการติดตามแบบเรียลไทม์ บริการทำความสะอาดแผงโซลาร์ ฯลฯ แต่ยังขาดเรื่องการจัดการซากอุปกรณ์หลังใช้งาน

พัฒนาระบบเก็บพลังงาน (Energy storage) ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในระดับอุตสาหกรรม ครัวเรือน และเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานนอกสถานที่เช่น การแคมปิง และ ความร่วมมือวิจัยด้านพลังงาน เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของนักวิชาการช่วยขับเคลื่อนการลงทุนของภาคเอกชน เช่นที่ Chongqing University มีงานวิจัยเกี่ยวกับพลังงานสะอาด การรีไซเคิลวัสดุ พลังงานจากขยะ

อีกทั้งยังมีอีกหลายเรื่องที่นครฉงชิ่งและรัฐบาลจีนเร่งส่งเสริมพลังงานสะอาดเพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ และการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2060 เห็นได้ชัดจากการเดินหน้าส่งเสริมและกระตุ้นภาคเอกชนปรับตัวด้านธุรกิจพลังงาน อย่างไรก็ดีแม้การพัฒนาด้านพลังงานสะอาดของจีนรุดหน้าไปมาก มีการพัฒนาโครงสร้างทางพลังงานที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงฟอสซิลกระจายทั่วประเทศ แต่ปัจจุบันจีนยังใช้แหล่งพลังงานส่วนใหญ่จากถ่านหินกว่า 50% และนํ้ามันดิบเกือบ 20% ขณะเดียวกันจีนมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนผ่านซึ่งสังคมคนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด มีการพัฒนาเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทำให้เกิดการบริโภคและการใช้พลังงานสูงขึ้น ซึ่งที่นักวิชาการจีนให้ข้อมูล รัฐบาลจีนจะยังคงผลิตพลังงานจากแหล่งฟอสซิลเพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศไว้.