เมื่อวันที่ 5 ต.ค. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงาน จากอิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ ซึ่งเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. 64 จนปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 32 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม รวม 205 อำเภอ 1,100 ตำบล 7,489 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 286,577 ครัวเรือน
สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 14 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก บุรีรัมย์ นครปฐม ยโสธร สุรินทร์ เลย ศรีสะเกษ สระแก้ว จันทบุรี ปราจีนบุรี กำแพงเพชร ผู้เสียชีวิต 8 ราย ได้แก่ ลพบุรี ชาย 6 ราย เพชรบูรณ์ ชาย 1 ราย ชัยนาท ชาย 1 ราย ผู้สูญหาย 1 ราย ได้แก่ เพชรบูรณ์ หญิง 1 ราย ขณะนี้ ยังคงมีสถานการณ์ 18 จังหวัด รวม 80 อำเภอ 447 ตำบล 2,385 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 104,491 ครัวเรือน ดังนี้
1.สุโขทัย น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ศรีสำโรง อ.คีรีมาศ และอ.เมืองสุโขทัย ระดับน้ำลดลง
2. พิษณุโลก น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.วังทอง อ.พรหมพิราม และอ.บางระกำ ระดับน้ำลดลง
3. เพชรบูรณ์ น้ำท่วมขังในพื้นที่ติดแม่น้ำป่าสัก อ.เมืองเพชรบูรณ์ ระดับน้ำลดลง
4. พิจิตร น้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.บึงนาราง อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.โพทะเล และอ.สามง่าม ระดับน้ำลดลง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร
5. ขอนแก่น น้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อ.แวงน้อย อ.แวงใหญ่ อ.โคกโพธิ์ชัย อ.ชนบท อ.มัญจาคีรี อ.โนนศิลา อ.พระยืน อ.บ้านแฮด และอ.บ้านไผ่ ระดับน้ำลดลง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ
6. ชัยภูมิ น้ำท่วมขังในพื้นที่ อ.คอนสวรรค์ ระดับน้ำลดลง
7. นครราชสีมา น้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อ.สูงเนิน อ.โนนสูง อ.เมืองนครราชสีมา อ.พิมาย อ.ปักธงชัย อ.โนนไทย อ.คง อ.จักราช และอ.แก้งสนามนาง ระดับน้ำลดลง
8. อุบลราชธานี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองอุบลราชธานี และอ.วารินชำราบ ระดับน้ำลดลง จุดอพยพ อ.เมืองอุบลราชธานี 2 ตำบล ได้แก่ ต.ในเมือง และต.แจระแม รวม 121 ครัวเรือน 467 คน
9. นครสวรรค์ น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองนครสวรรค์ อ.โกรกพระ และอ.พยุหะคีรี ระดับน้ำลดลง
10. อุทัยธานี น้ำท่วมขังในพื้นที่ อ.เมืองอุทัยธานี ระดับน้ำลดลง
11. ชัยนาท น้ำท่วมขังในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อ.มโนรมย์ อ.วัดสิงห์ อ.เนินขาม อ.หันคา อ.สรรคบุรี อ.สรรพยา อ.เมืองชัยนาท และอ.หนองมะโมง ระดับน้ำลดลง
12. ลพบุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองลพบุรี อ.ชัยบาดาล และอ.บ้านหมี่ ระดับน้ำลดลง
13. สระบุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อ.วังม่วง อ.แก่งคอย อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.เมืองสระบุรี อ.เสาไห้ อ.หนองโดน อ.บ้านหมอ อ.ดอนพุด อ.หนองแซง อ.วิหารแดง และอ.หนองแค ระดับน้ำลดลง
14. สุพรรณบุรี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.บางปลาม้า และอ.สองพี่น้อง ระดับน้ำลดลง
15. สิงห์บุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.อินทร์บุรี อ.เมืองสิงห์บุรี และอ.ค่ายบางระจัน ระดับน้ำลดลง
16. อ่างทอง น้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองอ่างทอง อ.ไชโย อ.ป่าโมก อ.วิเศษชัยชาญ และอ.สามโก้ ระดับน้ำลดลง
17. พระนครศรีอยุธยา น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 9 ได้แก่ อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.บางบาล อ.บางไทร อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.ท่าเรือ อ.นครหลวง และอ.บางปะหัน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และคลองโผงเผงซึ่งอยู่นอกคันกั้นน้ำ ระดับน้ำลดลง
18. ปทุมธานี น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองปทุมธานี และอ.สามโคก
ทั้งนี้ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง ภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ ซึ่ง ปภ. ได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง.