ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ระบุหลังจากผลของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกใน THE (Times Higher Education) Impact Rankings 2021 ที่ใช้วัดความสำเร็จของมหาวิทยาลัยทั่วโลกในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ของสหประชาชาติ(UN) ปรากฎว่ามหาวิทยาลัยไทยหลายแห่งได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับโลก

อาจกล่าวได้ว่า Ranking ของมหาวิทยาลัยไทยที่เข้าสู่ระดับโลก คือ ผลสัมฤทธิ์ของการควบรวมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) กับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” (Value-Based Economy) ซึ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อเร่งสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ควบคู่ไปกับการพัฒนาคมหาวิทยาลัยจึงกลายเป็นหัวรถจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเหมือนในประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ล้วนแต่มีมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพระดับโลกและติดอันดับโลกสูง ๆ ทั้งสิ้นประเทศเหล่านี้ใช้มหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนการสร้างคนที่มีคุณภาพ สร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยไทยให้มีคุณภาพในทุกมิติจึงต้องทำอย่างเร่งด่วน

ปัจจุบัน อว. มียุทธศาสตร์ในการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยตามความเชี่ยวชาญ โดยมีการแบ่งกลุ่มตามความถนัดและศักยภาพ เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างก้าวกระโดดและตอบโจทย์ประเทศ ผลของการยกระดับส่วนหนึ่งก็จะสะท้อนออกมาในรูปของอันดับมหาวิทยาลัยโลก แต่ทั้งนี้ไม่ได้เอาการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเป็นตัวตั้งตรงกันข้ามใช้เป็นตัวตาม หมายถึงหากมหาวิทยาลัยพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้นอันดับของมหาวิทยาลัยโลกก็จะดีขึ้นโดยอัตโนมัติ

โดยการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัย จะเน้นศักยภาพและสมรรถนะตามความเชี่ยวชาญ มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน จะใช้ความแตกต่างเป็นจุดเด่น เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศให้ครอบคลุมยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) และกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่เช่น ระบบโลจิสติกส์ ระบบราง ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ เทคโนโลยีในอนาคต เช่น เทคโนโลยีการคำนวณเชิงควอนตัม หรือเทคโนโลยีอวกาศ เป็นต้น เมื่อมีการปฏิรูปหรือพลิกโฉมมหาวิทยาลัยผลส่วนหนึ่งจะสะท้อนออกมาในรูปของอันดับโลกตามสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญหรือ Ranking by Subjects ซึ่งจะสะท้อนคุณภาพของงานวิจัยการเรียนการสอน ความเป็นนานาชาติ รวมถึงการบริการวิชาการและการทำงานร่วมกับภาคเอกชน ในสาขาต่าง ๆ ที่ตอบยุทธศาสตร์ที่กล่าวมาแล้ว

มหาวิทยาลัยของไทยจำนวนหนึ่งมีพื้นฐานที่ดีในการทำงานที่ตอบโจทย์ของประเทศรวมทั้งความยั่งยืนที่กำหนดโดยสหประชาชาติ ดังที่เห็นได้จากมีหลายมหาวิทยาลัยติดลำดับต้น ๆ ของโลกในหลายเป้าหมายจากTHE Impact Rankings อย่างไรก็ตามในด้านความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยไทยจำเป็นที่จะต้องทำการบ้านเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้นอีก มหาวิทยาลัยไทยหลาย ๆ แห่งมีศักยภาพพื้นฐานในหลายสาขาวิชาซึ่งมีความแตกต่างกันตามมหาวิทยาลัย ยกตัวอย่างเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งติดอันดับโลกในหลายสาขา เช่น วิศวกรรมปิโตรเลี่ยมติดอันดับที่ 51-100 รวมถึงการแพทย์ หรือรัฐศาสตร์เป็นต้น มหาวิทยาลัยมหิดลมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะในสาขาทางด้านการแพทย์ติดอันดับที่ 116 ของโลกและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น เภสัชศาสตร์และเภสัชวิทยา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา เป็นต้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีจุดเน้นทางด้านเกษตรและอาหาร ปัจจุบันอยู่ในอันดับที่ 63 ของโลกทางด้านเกษตรและป่าไม้และมีเป้าหมายที่จะไปสู่อันดับที่ต่ำกว่า 40 ของโลกในอนาคต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความเชี่ยวชาญทางด้านเกษตรและป่าไม้ เภสัชศาสตร์และเภสัชวิทยา และวัสดุศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความเชี่ยวชาญทางด้านเกษตรและป่าไม้ เภสัชศาสตร์และเภสัชวิทยาเช่นเดียวกันส่วนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีความถนัดทางด้านเกษตรและป่าไม้ และการแพทย์ เป็นต้น และมหาวิทยาลัยหรือสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้ง 3 แห่งที่มีจุดเด่นในด้านวิศวกรรมศาสตร์หลายสาขานอกจากนี้ยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัยที่มีสาขาวิชาที่มีจุดเด่น แต่อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นที่จะต้องยกระดับมหาวิทยาลัยเหล่านี้ให้มีคุณภาพสูงขึ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญของ อว. ในการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยการพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นกระบวนการที่ไม่หยุดนิ่งและต้องทำแบบก้าวกระโดด เพราะหากช้าก็จะกลายเป็นถอยหลัง เนื่องจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั่วโลกมีพัฒนาการที่รวดเร็ว

ทั้งนี้  ศ.(พิเศษ)ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว.กล่าวว่า จะทำอย่างไรให้มหาวิทยาลัยของไทยมีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อยกระดับ Ranking ของมหาวิทยาลัยไทยในระดับโลก เพราะ Ranking ของมหาวิทยาลัยถือเป็นดัชนีชี้วัดประเทศที่ช่วยให้เกิดการตัดสินใจลงทุนจากต่างประเทศ เมื่อมีมหาวิทยาลัยและโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่มีคุณภาพ และการยกระดับ Ranking ต้องสะท้อนความเป็นจริงและต้องเป็นประโยชน์กับมหาวิทยาลัยด้วย ไม่ใช่การทำ Ranking เพื่อให้มหาวิทยาลัยดูดีในสายตาคนนอกเท่านั้น และขอให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งได้รับทราบถึงสถานะว่ามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งเลือกเน้นเรื่องอะไร ทำอย่างไร และได้ผลเป็นอย่างไร โดยให้มีการรายงานผลทุก ๆ 3 ดือน และให้ทุกมหาวิทยาลัยได้มีส่วนร่วมรับทราบผลการดำเนินงานด้วย