เมื่อวันที่ 17 ก.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ สยามพารากอน กรุงเทพ สถานทูตสหรัฐฯ ได้มีการจัดนิทรรศการ National Geographic Photo Ark ขึ้นครั้งแรกในไทย ภายใต้หัวข้อ “ภารกิจพิทักษ์สรรพสัตว์ผ่านภาพถ่าย” โดยโครงการ Photo Ark เป็นความริเริ่มของโจเอล ซาร์ทอรี ช่างภาพและนักสำรวจเนชั่นแนล จีโอกราฟิก เพื่อรวบรวมภาพสัตว์ทุกสายพันธุ์ที่อยู่ในสวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั่วโลก ซึ่งมุ่งสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนหันมาปกป้องสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ มาชมสรรพสัตว์แบบใกล้ชิดผ่านภาพถ่ายได้ที่โซน Living Hall ชั้น 3 สยามพารากอน ตั้งแต่วันที่ 11-29 ก.ค.2567 นิทรรศการเข้าชมฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
‘พัชรวาท’ เป็นสักขีพยานรับมอบทุนช่วยเต่าทะเล จากกลุ่ม ‘Below the Tides’
โดยภายในงานเมื่อวันที่ 15 ก.ค. นายอริณชย์ ทองแตง (อิน) และน.ส.อริสา ทองแตง (เอม) สองพี่น้องผู้ก่อตั้ง Below the Tides ที่มุ่งเน้นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางน้ำ ได้รับเชิญจากสถานฑูตสหรัฐฯให้ไปร่วมเป็น speakers ในงาน One Man’s Quest to Document the World’s Animals ที่สนับสนุนโดยสถานฑูตสหรัฐฯในหัวข้อ “Engaging Youth in Conservation: Initiatives and Inspirations: การมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในการอนุรักษ์ : ความคิดริเริ่มและแรงบันดาลใจ” เพื่อแชร์แนวคิด มุมมอง ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับการจัดตั้งกลุ่ม Below the Tides
2พี่น้อง ‘below the tides’ มอบเงินโครงการ ‘ปะ ปลา ยูน หญ้า ณ เกาะหมาก’
สืบเนื่องจากกลุ่ม Below the Tides ประสบความสำเร็จในการระดมทุน 2 โครงการ โครงการแรก “อิ่มท้องน้องเต่า” ระดมทุนเงิน 600,000 บาท ส่งมอบให้กับทางศูนย์วิจัยทางทะเลและชายฝั่งเพื่อใช้ในการอนุบาลลูกเต่าทะเล 100 ตัว ให้ได้ขนาดมากกว่า 2 กิโลกรัม และยาวมากกว่า 30 เซนติเมตร เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้เพิ่มสูงขึ้นจาก 0.1% กรณีที่ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นมากกว่า 70% และตามด้วยโครงการที่สอง “ปะ ปลา ยูน หญ้า ณ เกาะหมาก” ระดมทุนเป็นจำนวน 300,000 บาท ให้กับกองทุนปะการังเกาะหมาก จ.ตราด เพื่อเป็นทุนในการทำนุบำรุงปะการัง แหล่งหญ้าทะเลที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารสำคัญของฝูงปลาและสัตว์น้ำต่างๆ โดยเฉพาะเต่าทะเล และ พะยูน
นอกจากนี้ทางกลุ่ม Below the Tides ยังมีการลงแรงอาสาสมัครในส่วนของการดูแลเต่าทะเล กับทางศูนย์วิจับทางทะเลและชายฝั่ง ปลูกป่าโกงกางเพื่อป้องกันการกัดเซาะของชายฝั่งที่โรงเรียนธรรมชาติป่าชายเลน จ.สมุทรสงคราม รวมถึงการเก็บขยะในคลองลาดพร้าวร่วมกับ Terra Cycle Foundation.
โดยสองพี่น้อง แชร์ประสบการณ์ระบุว่า ไม่แคร์เลยไม่ว่าใครจะมองอย่างไร จะให้ค่า หรือไม่ให้ค่าในสิ่งที่พวกเขาทำ เพราะอย่างไรเขาทั้งสองก็จะทำต่อไป อีกอย่างยังไงที่บ้านก็สนับสนุน และเห็นว่าพวกเขาทำดีแล้ว มาถูกทางแล้ว แค่นั้นคือพอ เพราะปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าคนจะสนใจแต่เรื่องของตัวเอง จนลืมคิดถึงสิ่งแวดล้อมลืมไปว่า มันก็คือบ้านของเรา แล้วเราจะไม่ร่วมกันดูแลได้อย่างไร และก็จะทิ้งไม่สนใจไม่ทำอะไร ปล่อยให้มันประสบปัญหาจนกระทบต่อระบบนิเวสแบบนี้หรือ
พี่น้องอิน เอม ยังให้สัมภาษณ์อีกว่า เคยคิดไหมว่า คนรุ่นหลังเราจะต้องเจอกับอะไรที่เราทิ้งไว้ให้ อันนี้คือสิ่งที่ทั้งสองพี่น้องทิ้งท้ายไว้ และคนที่จะมาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบพวกเขาก้อไม่จำเป็นจะต้องเรียน วิชาวิทยศาสตร์ หรือต้องเรียนเก่ง ถึงจะมาสนใจได้ ของอย่างนี้มันมาเพราะความชอบ passion ก็ได้ ไม่ต้องเก่งที่สุด แบบนักวิชาการก็ได้ แค่มีใจ และลงมือช่วยกันสรรสร้างก็ดีมากๆแล้ว พวกเขาไม่ได้เลือกเรียนวิทย์ในระดับ A level สักตัว แต่ก็มาเส้นทางสายอนุรักษ์ได้เช่นกัน อยากจะบอกเด็กๆทุกคนไว้