สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย จัดงานดังกล่าว เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งผู้แทนระดับสูงจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยกล่าวถึงทิศทางของสถานการณ์โลก และความร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะภายหลังการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย เมื่อปี 2565 ว่าญี่ปุ่นต่อต้านการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้แก่ยูเครน

ขณะที่ในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ญี่ปุ่นรายล้อมไปด้วยประเทศซึ่งมีกำลังทางทหาร และยุทโธปกรณ์ที่ล้ำสมัย อาทิ จีน, เกาหลีเหนือ และรัสเซีย ส่งผลให้ต้องเผชิญกับปัญหาความมั่นคงที่ซับซ้อน

ด้วยเหตุนี้ ในปี 2566 นายกรัฐมนตรีฟุมิโอะ คิชิดะ ผู้นำญี่ปุ่น ได้นำเสนอแนวคิดอินโด-แปซิฟิก (เอฟโอไอพี) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับนานาประเทศ ลดการแบ่งแยกและการเผชิญหน้า รวมไปถึงความร่วมมือกับกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นน้ำ 7 แห่ง หรือ จี7 และผู้นำกลุ่มภาคี 4 ประเทศ (ควอด) ได้แก่ ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, อินเดีย และสหรัฐ เพื่อเพื่อส่งเสริมความมั่นคงและความสงบสุขของภูมิภาค

นอกจากนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นเน้นย้ำถึงความสำคัญของบทบาทของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในการส่งเสริมความมั่นของของมนุษย์

ขณะที่นายซูซุกิ คาซึยะ หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น กล่าวถึงภารกิจของไจก้าตลอด 70 ปีในประเทศไทย อาทิ การพัฒนาระบบขนส่ง, เมืองและชนบท รวมไปถึงระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ส่วนโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ รวมไปถึงโครงการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ซึ่งมีแผนจะดำเนินการร่วมกับกรุงเทพมหานครในอนาคต

สำหรับกระแสข่าวเรื่องการยกเลิกฟรีวีซ่าญี่ปุ่นสำหรับคนไทยนั้น ผู้แทนระดับสูงของสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นชี้แจงว่า ข้อตกลงวีซ่าฟรีจะสิ้นสุดลงทุก ๆ 3 ปี ซึ่งในครั้งนี้จะครบกำหนดช่วงกลางปี 2568

แม้ญี่ปุ่นมีความกัวลเกี่ยวกับผู้กระทำผิดเงื่อนไขของวีซ่า แต่ผู้แทนระดับสูงของสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นยังคงเชื่อว่า จะมีการเจรจาขยายระยะเวลาของข้อตกลง ภายในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากญี่ปุ่นยังคงมีความต้องการนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ.

ขอขอบคุณ : สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย