นวัตกรรมในการดูแลและปรับปรุงรูปลักษณ์ล้วนถูกออกแบบมาให้ตอบสนองต่อปัญหาของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการทำหัตถการต่าง ๆ อย่างการฉีดโบท็อกซ์ ฟิลเลอร์ เลเซอร์ หรือการทำศัลยกรรม ขั้นตอนการรักษาปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นที่น่าพอใจ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจบริการเวชศาสตร์ความงามที่เพิ่มขึ้นในทุกปี ซึ่งสังเกตได้จากคลินิกและโรงพยาบาลที่เปิดให้บริการด้านเวชศาสตร์ความงามมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีความหลากหลายในส่วนของโปรแกรมให้เลือกสรรได้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล
กระบวนการกว่าที่จะบรรลุไปยังความงามได้นั้น กลับก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล “ขยะทางการแพทย์” ที่เกิดจากเวชศาสตร์ความงานนั้นมีความหลากหลาย ตั้งแต่เข็มฉีดยาที่ใช้แล้ว ขวดบรรจุสารเคมี เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้แล้วทิ้ง ไปจนถึงชิ้นส่วนของเนื้อเยื่อที่ถูกตัดออก เหล่านี้ล้วนมีสารเคมีที่และเชื้อโรคที่เป็นอันตราย ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของโรค และหากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี ก็จะปนเปื้อนลงสู่ดิน นํ้า และอากาศ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในระยะยาว “ธุรกิจเวชศาสตร์ความงาม” จึงไม่เพียงแต่ต้องมุ่งเน้นไปยังผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังต้องตระหนักและพยายามหาทางออกของประเด็นปัญหาดังกล่าว ควบคู่ไปพร้อมกับการดำเนินธุรกิจ
“เมิร์ซ เอสเธติกส์” ประเทศไทย บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์สำหรับใช้ในคลินิกเสริมความงาม ได้เปิดตัว โครงการ “Merz Aesthetics Set Zero Aesthetics Waste” ขึ้นเป็นครั้งแรก ด้วย แนวคิด “Merz Aesthetics WORK for Sustainability” พร้อมขับเคลื่อนความยั่งยืนในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดการขยะที่เกิดจากหัตถการความงาม (Aesthetics Waste) โดยโครงการดังกล่าวได้ผนึกความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์คลินิก เพื่อดำเนินงานตามเป้าหมายในการ ลดการฝังกลบขยะสู่พื้นผิวโลกให้เป็นศูนย์
“กิตติวรรณ รัตนจันทร์” ผู้บริหารสูงสุดบริษัท เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย และสิงคโปร์ กล่าวว่า แนวคิดของโครงการ Merz Aesthetics Set Zero Aesthetics Waste สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเมิร์ซ เอสเธติกส์ ในการขับเคลื่อนวงการเวชศาสตร์ความงามของประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ความยั่งยืน ที่ไม่เพียงแต่เป็นการลดปริมาณขยะที่เกิดจากหัตถการความงามเท่านั้น และยังมีคลินิกสีเขียวที่เข้าร่วมโครงการ Merz Aesthetics Set Zero Aesthetics Waste ในช่วงก่อนเปิดตัวโครงการจำนวน 12 คลินิก ซึ่งทางคลินิกได้ร่วมกันคัดแยกและนำส่งขยะที่เกิดจากหัตถการความงามคืนให้กับเมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย แบ่งเป็นหัว Ultherapy Transducer ที่นำไปผ่านกระบวนการอัปไซเคิลเป็น ถังอเนกประสงค์ “มานะ” มาแล้วมากกว่า 1,936 หัว และบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ถูกนำไปรีไซเคิล มากกว่า 131 กิโลกรัม และภายในปี 70 ได้ตั้งเป้าที่จะขยายความร่วมมือกับคลินิกคู่ค้าสีเขียวเพิ่มขึ้นถึง 180 แห่ง เพื่อร่วมกันลดคาร์บอนฟุตพรินต์จากขยะที่เกิดจากหัตถการความงามให้ได้เท่ากับ 9,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์
ด้าน “ชนัมภ์ ชวนิชย์” ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รีไซเคิลเดย์ กล่าวว่า รีไซเคิลเดย์ ในฐานะแพลตฟอร์มช่วยจัดการขยะครบวงจร สำหรับทั้ง B2C และ B2B ในการจัดการขยะผ่านแนวคิดอันสร้างสรรค์ พร้อมมุ่งมั่นที่จะผสานเทคโนโลยีเพื่อให้การรีไซเคิลได้อย่างประสิทธิภาพ เพื่อเราส่งมอบกรีนโซลูชันให้กับภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม โดยการร่วมงานกับ เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย ในครั้งนี้ นับว่าเป็นก้าวสำคัญของรีไซเคิลเดย์ที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันอุตสาหกรรมความงามให้หันมาให้ความสำคัญกับการจัดการขยะทางการแพทย์ ซึ่งจะต้องมีการคัดแยก รีไซเคิล และกำจัดอย่างถูกวิธี และยังเชื่อว่าโครงการฯ จะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกันเริ่มตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันก็ยังสามารถสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนได้ในอนาคต.