สื่อเวียดนาม Soha รายงานผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ในสหราชอาณาจักร ที่ศึกษาเกี่ยวกับความเร็วในการเดิน และดัชนีมวลกายของประชากร 475,000 คน เป็นเวลา 7 ปี พร้อมวิเคราะห์แบบจำลองข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินอายุขัยของอาสาสมัคร จากผลการวิจัยประเมินได้ว่า ผู้ที่เดินเร็วจะมีอายุขัยเฉลี่ยนานกว่าคนอื่นๆ ประมาณ 15 ถึง 20 ปี
การศึกษาทดลองอีกหนึ่งชิ้นเกี่ยวกับความเร็วและอายุขัยของคน 35,000 คน ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี แสดงให้เห็นว่าทุกครั้งที่เดินเร็วขึ้น 0.1 เมตรต่อวินาที ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจะลดลง 12%
ด้านมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์กในสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเดิน และค้นพบว่าอายุขัยที่แท้จริงของผู้สูงอายุที่เดินเร็วกว่า 0.8 เมตรต่อวินาที มักจะยืนยาวกว่าอายุขัยที่คาดเอาไว้
แล้วเหตุผลมันคืออะไร? จริงๆ แล้ว การเดินดูเหมือนง่าย แต่ต้องใช้การเคลื่อนตัวของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ 60% ถึง 70% รวมถึงการประสานกันของกระดูก กล้ามเนื้อ ระบบประสาท และอวัยวะอื่นๆ อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นเพื่อให้เดินได้คล่อง ร่างกายจึงใช้พลังงานมาก
เราทุกคนทราบดีว่า คนที่มีสุขภาพแข็งแรงมักจะเดินได้เร็ว ในขณะที่คนอ่อนแอหรือมีโรคประจำตัว จะไม่สามารถเดินได้เร็วและมั่นคง เห็นได้ว่าความเร็วในการเดิน สามารถสะท้อนสภาพร่างกายของบุคคลได้ในระดับหนึ่ง จึงมีความสามารถในการทำนายอายุได้ในระดับหนึ่ง

นอกจากนี้ ปัญหาในการเดินอาจเป็นสัญญาณเตือนของการเจ็บป่วยได้
- ปวดฝ่าเท้าขณะเดิน ระวังโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
อาการปวดเหมือนมีเข็มแทงที่ฝ่าเท้า เป็นหนึ่งในอาการเตือนเบื้องต้นของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แม้ว่าอาการนี้จะพบได้น้อย แต่ก็ไม่ควรละเลย
- หากคุณปวดฟันหรือปวดกรามขณะเดิน ควรระวังหัวใจวาย!!
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย อาจแสดงเป็นอาการปวดฟัน หรือปวดกรามล่าง อาการปวดฟันนี้ สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อพัก แต่เมื่อเคลื่อนไหวจะรู้สึกเจ็บปวดชัดเจน
- เดินขาไขว้ไปมาเหมือนกรรไกร ระวังโรคหลอดเลือดสมอง
เวลาเดินจะรู้สึกเหมือนวาดวงกลม ท่าเดินเหมือนกรรไกร การเดินที่ผิดปกตินี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะสมองตายได้
- หากแขนข้างหนึ่งไม่สามารถแกว่งได้ตามธรรมชาติขณะเดิน ให้ระวังโรคพาร์กินสัน
เวลาเดิน หากจู่ๆ เกิดแขนข้างหนึ่งแกว่งตามปกติ แต่อีกข้างไม่สามารถแกว่งได้ตามธรรมชาติ ท่าเดินที่ไม่สมส่วนนี้ อาจเป็นอาการของโรคพาร์กินสันได้
- เดินเหมือนเมา ระวังสมองฝ่อ
หน้าที่หลักสมองน้อยของมนุษย์ คือการรักษาสมดุลของร่างกาย ทำให้การเดินมีเสถียรภาพมากขึ้น เมื่อมีความเสียหายต่อสมองน้อย อาจทำให้ความเร็ว และระยะห่างของขาผิดปกติ ทำให้ขาอ่อนแรง เวลาเดินจะเหมือนคนเมา

- หากคุณมีอาการปวดหลังส่วนล่าง ขาชา ควรระวังภาวะกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบ
ผู้สูงอายุบางรายจะมีอาการปวดหลังและชาที่ขา จากการเดินเป็นเวลานานๆ การพักผ่อนสักพักจะบรรเทาลง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่หากภาวะนี้คงอยู่เป็นเวลานาน พักแล้วก็ไม่หาย อาจเป็นอาการเริ่มแรกของภาวะกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบ ภาวะกระดูกสันหลังตีบแคบเกิดขึ้นเมื่อช่องภายในกระดูกสันหลังแคบลง จนกดทับรากประสาทและไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง และปวดสะโพก โรคที่เกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน มักทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทอย่างมาก นำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายมากมาย
- หากรู้สึกปวดขาเวลาเดินหรือนอนหลับ ให้ระวังภาวะหลอดเลือดแข็งตัวบริเวณแขนขาส่วนล่าง
น่องหนัก เย็น และปวดตลอดเวลา ระยะทางเดินสั้นลงเรื่อยๆ แม้ไม่ได้เดินก็เจ็บปวด อาการนี้มักเกิดขึ้นในเวลากลางคืน เตือนถึงความเสี่ยงของการอุดตันของหลอดเลือดแดงบริเวณแขนขาส่วนล่าง ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง และความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงสูง
- หากเข่าของคุณมีเสียงดังก๊อบแก๊บ เวลาปีนเขา หรือขึ้นบันได ให้ระวังโรคข้อเข่าเสื่อม
คุณไม่สามารถเดินเป็นระยะทางไกลๆ ขึ้นบันได ลงเนิน นั่งยองๆ หรือเวลายืนขึ้น ก็จะรู้สึกว่ามีเสียงในหัวเข่า อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับโรคข้อเข่าเสื่อม.
ที่มาและภาพ: Aboluowang, Soha