สมาร์ตโฟน ถือเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับคนในยุคนี้ บางคนติดหน้าจอชนิดจ้องทั้งวันแทบไม่วางตา ทำให้คนในยุคปัจจุบันเริ่มมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะปัญหาดวงตา จากการใช้โทรศัพท์มือถือมากเกินไป

และสำหรับบางคน แม้จะใช้สมาร์ตโฟนในบางเวลา แต่ส่วนใหญ่ไม่มีใครรู้ว่า มีช่วงเวลาสุดอันตรายที่สุดของวัน ที่ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือเด็ดขาด ทว่า กลับเป็นช่วงเวลาที่ใครหลายคนติดการใช้มือถืออยู่เป็นประจำ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมาก

เวลาที่อันตรายที่สุดก็คือ…

“ก่อนนอน”

หลายคนมีนิสัยต้องส่องโทรศัพท์มือถือก่อนนอนทุกวัน โดยที่ไม่รู้เลยว่า นี่คือช่วงเวลาที่สมาร์ทโฟนสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้มากที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือมากเกินไป

จากข้อมูลของ The Independent การวิจัยของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ในสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร แสดงให้เห็นว่าการใช้โทรศัพท์มือถือตอนดึก โดยเฉพาะหลัง 22.00 น. อาจทำให้เกิดปัญหากับคุณภาพการนอนหลับ หรือสุขภาพจิตได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของจังหวะการเต้นของหัวใจมนุษย์ที่มีต่อสุขภาพ และความผิดปกติทางอารมณ์ โดยศึกษาอาสาสมัครมากกว่า 91,000 คน ที่มีอายุระหว่าง 37-73 ปีทั่วยุโรป

ผู้เข้าร่วมจะถูกขอให้สวมเครื่องวัดจังหวะการเต้นของหัวใจเป็นเวลา 7 วัน เพื่อบันทึกกิจกรรมและตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินสภาวะจิต การรับรู้ และความสุข หลังจากเปรียบเทียบผลลัพธ์กับประวัติสุขภาพจิตของผู้เข้าร่วม นักวิจัยพบว่าผู้ที่มีความผิดปกติของจังหวะการเต้นหัวใจ มีแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติทางอารมณ์มากกว่า

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าร่างกายของเราทำงานตามนาฬิกาชีวภาพ โดยปกติแล้วจะตื่นเมื่อมีแสงแดด และหลับไปในเวลากลางคืนเพื่อฟื้นฟูพลังงาน จังหวะการเต้นของหัวใจที่ดีคือต้องเคลื่อนไหวในตอนกลางวัน และเคลื่อนไหวน้อยลงในเวลากลางคืน

สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของนาฬิกาชีวภาพร่างกาย จะมีความตื่นตัวในเวลากลางคืน และเคลื่อนไหวน้อยในระหว่างวัน (ผู้ที่นอนดึกหรือทำงานกะกลางคืน) มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความผิดปกติทางอารมณ์ มักจะรู้สึกโดดเดี่ยว และมีความสุขน้อยลง

แดเนียล สมิธ ศาสตราจารย์สาขาจิตเวชศาสตร์จากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ กล่าวว่า “การศึกษาครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยพิสูจน์ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างจังหวะการเต้นของหัวใจ กับอารมณ์ของมนุษย์”

ศาสตราจารย์สมิธ ยังแนะนำว่า พวกเราไม่ควรใช้สมาร์ทโฟนตอนดึก โดยเฉพาะก่อนนอน เนื่องจากแสงจากโทรศัพท์มือถือเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่แรง จะทำให้สมองของเราสับสนระหว่างเวลากลางวันและกลางคืน

ไม่เพียงแต่จะไปเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจตามปกติของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังส่งผลให้สมองส่งสัญญาณให้หยุดหลั่งเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายนอนหลับได้ง่าย การขาดฮอร์โมนเมลาโทนิน อาจทำให้เกิดอาการทางสุขภาพที่ไม่ดีได้

การนอนหลับได้ไม่ดี จะทำให้เรารู้สึกเหนื่อย และตื่นในวันรุ่งขึ้นได้ยากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันยังทำให้เราสูญเสียสมาธิ และลดประสิทธิภาพการทำงาน หากมีปัญหาการนอนหลับไม่ดี หรือนอนไม่หลับยืดเยื้อ จะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก.

ที่มาและภาพ : soha