โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นหนึ่งในโรคที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ดูแลรักษา แต่บางครั้งกว่าจะรู้ว่ามีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบก็อยู่ในช่วงที่ระยะอาการของโรครุนแรงแล้ว ซึ่งการทำ CT Calcium Score หรือการตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจจะช่วยให้ผู้ที่เข้ารับการตรวจทราบว่าร่างกายมีความเสี่ยงเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบได้เร็วขึ้น

ในบทความนี้ก็จะมาสรุปข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับการทำ CT Calcium Score หรือการตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ เพื่อให้ผู้ที่สนใจตรวจประเมินความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนำข้อมูลมาพิจารณาก่อนเข้าตรวจร่างกาย


CT Calcium Score คืออะไร

CT Calcium Score คือ การนำเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ซึ่งมีความแม่นยำสูงมาตรวจวัดค่าหินปูนหรือแคลเซียมที่เกาะติดตามหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score จึงเป็นการตรวจเพื่อช่วยประเมินความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคหัวใจขาดเลือดที่อาจเกิดในอนาคตได้ แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีอาการใด ๆ แสดงก็ตาม


ใครที่ควรตรวจ CT Calcium Score


– ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เพราะเป็นช่วงอายุที่เริ่มมีความเสี่ยงเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ
– ผู้ที่ครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคหัวใจควรตรวจ CT Calcium Score
– ผู้ที่มีประวัติโรคต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีไขมันในเส้นเลือด โรคหัวใจ
– ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์
– ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ


การทำ CT Calcium Score VS การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย ต่างกันอย่างไร 

ในการตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ นอกจากการทำ CT Calcium Score แล้ว หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยิน Exercise Stress Test (EST) หรือการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย ซึ่งสามารถตรวจหาความเสี่ยงได้เหมือนกัน

แล้วทั้งสองวิธีมีจุดต่างกันอย่างไร? การตรวจ CT Calcium Score สามารถตรวจพบความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจได้ตั้งแต่ระยะแรกที่ยังไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏด้วยการวัดค่าแคลเซียมหรือหินปูนที่เกาะสะสมในหลอดเลือด

แต่การทำ EST เป็นการตรวจสอบความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจในขณะที่ออกกำลังกายเพื่อให้หัวใจสูบฉีดเลือด ซึ่งการทำ EST จะพบความผิดปกติก็ต่อเมื่อมีอาการหลอดเลือดหัวใจตีบมากแล้ว

ข้อดีของการทำ CT Calcium Score

– CT Calcium Score ใช้ CT Scan หัวใจที่สามารถตรวจสอบความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจได้อย่างแม่นยำแม้ไม่มีอาการ
– การตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดจะช่วยให้ทราบแนวโน้มความผิดปกติของหลอดเลือด จึงสามารถเข้ารับการรักษาได้เร็ว ไม่ให้มีอาการรุนแรงขึ้น 
– มีวิธีการตรวจไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาตรวจไม่นาน
– การตรวจมีความปลอดภัยต่อร่างกายสูง เพราะการตรวจใช้รังสีปริมาณน้อยมาก ไม่จำเป็นต้องพักฟื้น
– ค่าใช้จ่ายในการทำ CT Calcium Score ราคาไม่สูง


ขั้นตอนการทำ CT Calcium Score

ตรวจ calcium score

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับทำการตรวจ CT Calcium Score

ในวันที่มาตรวจ calcium score ไม่จำเป็นต้องอดอาหารหรือน้ำ แต่จะต้องงดสูบบุหรี่ งดการใช้ยา และงดเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นการเต้นของหัวใจ 

ก่อนตรวจ CT Calcium Score เจ้าหน้าที่จะให้ถอดเครื่องประดับหรือสิ่งของที่ปิดบังหน้าอกออกทั้งหมด แล้วสวมเสื้อที่ทางโรงพยาบาลจัดเตรียมไว้ให้ 

ขั้นตอนการตรวจ CT Calcium Score

การทำ CT Calcium Score จะใช้เวลาประมาณ 15 นาที โดยแพทย์จะให้ผู้เข้าตรวจนอนราบกับเตียง และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เพื่อเช็กอัตราการเต้นของหัวใจก่อนตรวจสแกนหัวใจ

หากตรวจแล้วพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่าหรือเท่ากับ 60 ครั้ง/นาที ก็สามารถตรวจ CT Scan ต่อได้ทันที แต่ถ้ามีอัตราการเต้นหัวใจสูงจะต้องรอสักพัก หรืออาจใช้ยาจนกว่าอัตราการเต้นหัวใจน้อยกว่าหรือเท่ากับ 60 ครั้ง/นาทีก่อนตรวจคราบหินปูนหลอดเลือด

ระหว่างที่ตรวจ CT Scan ผู้เข้ารับการตรวจจะนอนยกแขนขึ้นราบกับศีรษะ แล้วกลั้นหายใจประมาณ 5-10 วินาทีให้ตัวเครื่องจับภาพหัวใจ จากนั้นนักรังสีจะถ่ายรูปภาพทางรังสีของหลอดเลือดหัวใจ เพื่ออ่านผลค่าหินปูนและประเมินความเสี่ยงที่ของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบต่อไป

หลังการเข้ารับทำการตรวจ CT Calcium Score

หลังจากทำ CT Calcium Score สามารถเปลี่ยนชุดแล้วเดินทางไปทำกิจกรรมอื่น ๆ หรือกลับไปพักผ่อนได้ทันที ไม่จำเป็นต้องพักฟื้น


การอ่านผลของ CT Calcium Score

การทำ CT Calcium Score จะแปลผลค่าหินปูนหรือแคลเซียมในรูปแบบของช่วงคะแนน เพื่อประเมินความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ดังนี้

– 0 = Calcium Score ค่าปกติ ไม่มีคราบหินปูนเกาะติดในหลอดเลือด มีความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจต่ำมาก
– 1-100 = มีคราบหินปูนเกาะติดในหลอดเลือดเล็กน้อย มีความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจต่ำ
– 101-400 = มีคราบหินปูนเกาะติดในหลอดเลือดปานกลาง มีความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจปานกลาง
– 401 ขึ้นไป = มีคราบหินปูนเกาะติดในหลอดเลือดสูง มีความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจสูง

ในกรณีที่ตรวจ CT Calcium Score แล้วพบว่ามีแคลเซียมสกอร์ระดับปานกลาง-สูงก็จะต้องพบแพทย์เพื่อติดตามอาการและเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบต่อไป


ทำ CT Calcium Score เพื่อตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจที่ไหนดี?

สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจหาความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการทำ CT Calcium Score แต่ไม่รู้ว่าจะตรวจที่ไหนดี ขอแนะนำ S’RENE by SLC คลินิกสุขภาพสำหรับคนเมือง บรรยากาศดี มีแพทย์เฉพาะทางเป็นผู้ตรวจ CT Calcium Score ด้วยตนเอง โดยใช้เครื่องที่มีความทันสมัยเพื่อให้ผลการประเมินความเสี่ยงมีความแม่นยำมากขึ้น อีกทั้งทางคลินิกยังมีการตรวจสุขภาพอื่น ๆ เพื่อให้ผู้เข้าใช้บริการสามารถตรวจความเสี่ยงการเป็นโรคอื่น ๆ และเข้ารับการรักษาได้อย่างครบวงจร


ตรวจ CT Calcium Score ประเมินความเสี่ยงภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

เมื่ออายุเพิ่มขึ้นร่างกายก็จะเริ่มเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้มีโอกาสเป็นโรคต่าง ๆ รวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบง่ายขึ้น ซึ่งการตรวจ CT Calcium Score ก็จะเป็นวิธีตรวจหาความเสี่ยงของหลอดเลือดตีบตันได้แม้ว่าจะไม่มีอาการ ด้วยการใช้เครื่อง CT Scan วัดค่าแคลเซียมหรือหินปูนที่อยู่ภายในหลอดเลือด

การตรวจ Calcium Score จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการตรวจมาก เพราะหากพบความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจอุดตันเพียงเล็กน้อยก็จะสามารถดูแลตนเองได้เร็วขึ้น และพร้อมรักษากับแพทย์ทันทีหากพบว่ามีอาการรุนแรง สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจ Calcium Score ราคาไม่แพง สามารถเดินทางพบแพทย์เฉพาะทางจากคลินิก S’RENE สาขาใกล้บ้านเพื่อให้แพทย์ตรวจและให้คำแนะนำด้วยตนเอง

Reference

Natalie Silver. (2021, October 21). How a Coronary Calcium Score Is Used to Determine Risk or Severity of Coronary Artery Disease. healthline. https://www.healthline.com/health/heart-disease/coronary-calcium-score#who-is-screened

Kim Painter. (2024, May 16). Coronary Calcium Score (Heart Scan). WebMD. https://www.webmd.com/heart-disease/coronary-calcium-scan