สำนักข่าวซินหัวรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ว่าคณะผู้เชี่ยวชาญของศูนย์วิจัยขั้นสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีความดันสูงในกรุงปักกิ่ง กล่าวว่า อุกกาบาตไม่เพียงเป็นวัตถุอันน่าสนใจตามธรรมชาติ แต่ยังเป็นหนึ่งในฐานสำคัญของการศึกษาอวกาศส่วนนอกด้วย


ปัจจุบัน มีการระบุและยืนยันหลุมอุกกาบาตบนโลกมากกว่า 200 แห่ง แต่หลุมอุกกาบาตที่ค้นพบในจีนมีลักษณะหายากมาก โดยเฉพาะหลุมอุกกาบาตไห่หลิน ในเมืองไห่หลิน มณฑลเฮย์หลงเจียง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน


ทั้งนี้ หลุมอุกกาบาตไห่หลินตั้งอยู่บนสันเขาทางตอนเหนือของเมืองไห่หลิน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1,360 เมตร รูปทรงคล้ายที่ตักผงวงรี ระยะระหว่างจุดสูงสุดบนขอบกับจุดต่ำสุดที่กลางหลุมมากกว่า 100 เมตร


หลุมอุกกาบาตไห่หลินเกิดขึ้นในยุคซีโนโซอิก (Cenozoic) ตอนปลายเมื่อประมาณหลายแสนปีก่อน มีลักษณะคล้ายกับกรวยขนาดใหญ่ แขวนอยู่บนสันเขาที่เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาฉางไป๋


คณะผู้เชี่ยวชาญเสริมว่า การค้นพบนี้ช่วยเพิ่มความเข้าใจประวัติศาสตร์การพุ่งชนของดาวเคราะห์ เปิดมุมมองใหม่ของการสำรวจกลไกการเกิดหลุมอุกกาบาต และผลกระทบจากการแปรสภาพ ด้วยแรงสั่นสะเทือนของภูมิประเทศในจีน.

ข้อมูล-ภาพ : XINHUA