สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ว่า นักวิทยาศาสตร์และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย (ยูเอ็นซีซีดี) เปิดเผยในรายงานว่า การสูญเสียป่าและดินที่เสื่อมโทรมกำลังลดความสามารถในการฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งผลักดันให้โลกมุ่งสู่ “วิกฤติการณ์” ที่อันตราย

การทำเกษตรกรรมเกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 23% การตัดไม้ทำลายป่า 80% และการใช้น้ำจืด 70% เนื่องจากพื้นที่เกษตรกรรมเร่งการเสื่อมโทรมของดิน การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งผลให้ขาดแคลนอาหารในระยะยาว

นอกจากนั้น อุตสาหกรรมการเกษตรยังใช้สารเคมีในปริมาณมหาศาล ในปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ซึ่งก่อให้เกิด “เขตมรณะ” (dead zone) ในระบบนิเวศ ซึ่งทำลายสิ่งมีชีวิต และความหลากหลายในระบบนิเวศ รวมถึงปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ

รายงานกล่าวถึง “ขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก” ซึ่งหมายถึง “ขีดจำกัด” ที่โลกจะรองรับได้ ซึ่ง 6 ใน 9 ขอบเขต ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การตัดไม้ทำลายป่า การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ สารเคมีสังเคราะห์และพลาสติก การลดลงของน้ำจืด และการใช้ไนโตรเจน

ขณะที่ขอบเขต 2 ใน 3 ได้แก่ ภาวะกรดในมหาสมุทร และความเข้มข้นของมลพิษจากอนุภาคและฝุ่นในชั้นบรรยากาศ

รายงานแนะนำให้แก้ไขปัญหาเหล่านี้ ด้วยการจัดการปัญหาการทุจริต ปรับปรุงการจัดการน้ำ และปฏิรูปการเกษตร รวมถึงจัดสรรเงินอุดหนุนด้านเกษตรกรรม เพื่อการทำฟาร์มอย่างยั่งยืนมากขึ้น

ข้อมูลของยูเอ็นซีซีดีระบุว่า การเสื่อมโทรมของดิน ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ถึง 1,500 ล้านเฮกตาร์ (ราว 15 ล้าน ตร.กม.) หรือเกือบเท่ากับประเทศรัสเซีย และจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นประมาณ 100 ล้านเฮกตาร์ (ราว 1 ล้าน ตร.กม.) ในทุก ๆ ปี.

เครดิตภาพ : GETTY IMAGES