ทพญ.นุชนาถ โอปิลันธน์ งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “กลิ่นปาก” ว่า เป็นอีกหนึ่งปัญหาบุคลิกภาพที่สำคัญ หลายคนประสบปัญหาแต่ไม่สามารถจัดการได้ เพราะไม่รู้ถึงสาเหตุของ “กลิ่นปาก” ที่แท้จริงทำให้รักษาไม่ตรงจุด ดังนั้นการกำจัด “กลิ่นปาก” เป็นเรื่องที่ควรเข้าใจถึงสาเหตุ ซึ่งมีอยู่หลายประการ แบ่งออกเป็นสาเหตุภายในและภายนอกช่องปาก สาเหตุบางประการสามารถจัดการได้เองเพียงแค่ปรับพฤติกรรม แต่บางสาเหตุอาจต้องรักษาโดยแพทย์ ซึ่งการรักษาตามสาเหตุจะช่วยให้ปัญหาหมดไปอย่างแท้จริง
สาเหตุของกลิ่นปาก&สาเหตุภายในช่องปาก
- ฟันผุ
- โรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์
- แผลในช่องปาก
- ฟันซ้อนเก หรือการใส่เครื่องมีจัดฟัน หากทำความสะอาดไม่ดี
- ฟันปลอม กรณีทำความสะอาดไม่ดี
- ไม่ได้ทำความสะอาดลิ้น
- น้ำลายบูด เกิดจากไม่ค่อยพูด การนอนหลับกลางคืน เครียด ดื่มน้ำน้อย
สาเหตุภายนอกช่องปาก
- โรคในระบบต่าง ๆ เช่น ไซนัส ต่อมทอนซิล โรคปอด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นต้น
- สูบบุหรี่
- การกินอาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น กระเทียม เครื่องเทศ หัวหอม เป็นต้น
การป้องกัน
- แปรงฟันให้สะอาด หากมีกลิ่นปากแปรงทุกครั้งหลังอาหารและใช้ไหมขัดฟันร่วม
- หลีกเลี่ยงอาหารกลิ่นแรง หลังอาหารอาจะกินอาหารที่ช่วยขัดฟัน เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง
- หากใส่ฟันปลอม ทำความสะอาดฟันทุกครั้งหลังอาหารและถอดฟันออกก่อนนอน
- ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว
- ทำความสะอาดลิ้น แลบลิ้นออกมา แล้วแปรงเบา ๆ อย่าเกร็ง เพราะจะทำให้อาเจียน
- การรักษา
- แพทย์ซักประวัติ (โรคประจำตัว/การดูแลช่องปาก)
- ตรวจโรคในช่องปาก
- รักษาตามสาเหตุ