ไม้ล้มลุก สูง 50-150 ซม. มีเหง้าขนานกับดิน สีนํ้าตาลอ่อนหรืออมชมพู ใบเดี่ยว รูปยาวเรียว แบน เรียงสลับซ้ายขวา ยาว 10-15 ซม. ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ช่อดอกเกิดจากเหง้า ก้านช่อและใบประดับคล้ายใบ ดอกสีเขียว จำนวนมาก อัดกันแน่นบนแกนรูปทรงกระบอก ยาว 3-10 ซม. กลีบรองดอก 6 กลีบ รูปกลม ปลายกลีบโค้งงอ เกสรเพศผู้มี 6 อัน พบบริเวณฝั่งริมลำนํ้า หรือบนก้อนหินกลางนํ้า ออกดอกเดือนมกราคม ใบ ขยี้ แช่นํ้าใช้ผ้าโพกศีรษะ หากในเด็กแก้ไข้ได้ หรือผสม ขมิ้น เนียมหูเสือ เกี๊ยงพาช้าง หนาดหลวง มะนาว และเลือ ตำโพกศีรษะ และบีบนํ้าทาตามข้อ เป็นยาแก้หวัด นํ้ามูกไหล ราก ลำต้น ใบ ฝนทาแก้ท้องอืด ทั้งต้นต้มดื่มแก้ท้องอืด แช่นํ้าเช็ดตัวแก้ไข้ แก้หวัด รากต้มดื่มรักษาโรคกระเพาะ กินมากกว่าครั้งละ 2 กรัมจะทำให้อาเจียน (ใช้กรณีขับสารพิษออกจากทางเดินอาหาร) นํ้ามันหอมระเหยในเหง้าและรากมีรายงานพบว่าเป็นพิษต่อตับและทำให้เกิดมะเร็ง.