สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 29 พ.ค. ว่า นายคอสตาส คาดิส กรรมาธิการด้านมหาสมุทรของอียู กล่าวว่า การให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาดังกล่าว หลังมีการเจรจากันมาหลายปี ถือเป็น “ก้าวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์” ในการปกป้องมหาสมุทรของโลก และรักษาสมดุลอันบอบบางของระบบนิเวศ
We‘ve signed it ✔️
— Ursula von der Leyen (@vonderleyen) September 20, 2023
The landmark Treaty for the High Seas, agreed in March this year, is a key step ahead in ocean protection.
It will enable us to fight climate change, preserve the marine environment and protect biodiversity on the high seas beyond national jurisdiction.
Glad… pic.twitter.com/q0wLW18TII
แถลงการณ์ของคณะผู้แทนอียูประจำสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุว่า ไซปรัส ฟินแลนด์ ฮังการี ลัตเวีย โปรตุเกส และสโลวีเนีย พร้อมกับอียู ได้ยื่นหนังสือให้สัตยาบันต่อสหประชาชาติ หลังฝรั่งเศสและสเปนได้ยื่นหนังสือไปแล้ว เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งทำให้จำนวนประเทศที่ให้สัตยาบันเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 29 ประเทศ
ด้านกลุ่มพันธมิตรทะเลหลวง (เอชเอสเอ) ยกย่องสนธิสัญญาดังกล่าวว่าเป็น “ก้าวย่างสำคัญ” แต่เน้นย้ำว่า ต้องเพิ่ม “แรงกดดันทางการเมือง” เพื่อให้มีประเทศผู้สนับสนุนครบ 60 ประเทศ
นายเจอโรม บอนนาฟอนต์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสหประชาชาติ กล่าวว่า ฝรั่งเศสจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยมหาสมุทร ที่เมืองนีซ ระหว่างวันที่ 9-13 มิ.ย.นี้ โดยวาระสำคัญอันดับหนึ่ง คือการรับรองสนธิสัญญาฉบับดังกล่าว ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องระบบนิเวศทางทะเล รวมถึงจัดตั้งเขตคุ้มครองทางทะเล เพื่อให้สามารถจำกัดกิจกรรมบางอย่าง รวมถึงการประมง หรือการทำเหมือง.
เครดิตภาพ : GETTY IMAGES