เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ที่โรงแรมอวานี พลัส ริเวอร์ไซต์ กทม.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดโครงการประชุมเครือข่ายการศึกษาและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจเรื่อง ‘ทิศทางการศึกษาไทยกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสำหรับการทำงานในโลกที่ผันผวน’ โดยมี ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ และ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ เข้าร่วม โดย ดร.วิษณุ กล่าวว่า สิ่งสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาลมีอยู่หนึ่งยุทธศาสตร์ที่ว่าการด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ การพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพ ซึ่งโครงการที่ สกศ.จัดขึ้นในครั้งนี้ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งการพัฒนาเรื่องดังกล่าวจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงแรงงาน เป็นต้น แต่หน่วยงานที่สำคัญที่สุดในการที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพราะเป็นกระทรวงต้นน้ำ ดังนั้นเราอยากเห็นคนในอนาคตเป็นอย่างไร เราจะต้องเติมสิ่งเหล่านั้นไปด้วยระบบการศึกษา ซึ่งเราจะนำการศึกษามาต่อยอดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างคนในอนาคตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งการเชิญหน่วยงานภาคเอชนไม่ว่าจะเป็นหอการค้าต่างประเทศจากประเทศฟินแลนด์ สิงคโปร์ เข้ามาร่วมงานนั้น เพื่อต้องการระดมความคิดเห็นในการสร้างคนสู่อนาคต เนื่องจากกลุ่มหอการค้าจากต่างประเทศถือเป็นผู้ใช้คน ซึ่งจะเข้ามาช่วยวางแผนผลิตคนได้อย่างตรงจุดไล่ตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึงมัธยมศึกษา ทั้งนี้ในฐานะรัฐบาลเราเคยเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากหลากหลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนในด้านกฎหมาย แต่ครั้งนี้เป็นการเปิดเวทีการศึกษาที่มีผู้แทนจากนานาชาติมาร่วมระดมความคิด ซึ่ง สกศ.ตื่นตัวที่จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างเต็มที่ เชื่อว่าการผลิตคงกำลังคนในอนาคตจะสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมแน่นอน

ดร.วิษณุ กล่าวต่อไปว่า ทั้งตนอยากให้คนไทยตื่นกับความท้าทายในโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากทุกวันนี้เราอยู่กับความไม่แน่นอนของเทคโนโลยี โดยสังคมไทยจะต้องปรับให้ทันกะบสิางต่างๆ เหล่านี้ และเป็นหน้าที่ของ ศธ.ที่จะต้องปรับการเรียนสอนให้มีความทันสมัย สอนเด็กให้รู้จักคิดวิเคราะห์เป็นมากขึ้นด้วย

ด้าน ดร.อรรถพล สังขะวาสี เลขาธิการ สกศ.กล่าาว่า ผลลัพธ์สำคัญที่ สกศ.ต้องการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อกำหนดเป้าหมายเด็กไทย 2025 เพื่อเศรษฐกิจไทย โดย สกศ.ปรับงานวิจัยผสมผสานยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สอดรับกับงานวิจัยของสภาเศรษฐกิจโลกรองรับการประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งการหารือพบปะกับเสาหลักเศรษฐกิจไทย เพื่อหารือถึงการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความสอดคล้องกับความต้องการอย่างแท้จริง ซึ่ง สกศ.มองแนวโน้มการศึกษาและภาคกำลังคนแห่งอนาคต ควรต้องเติบโตไปด้วยกันหรือมุ่งสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจประเทศด้วยการพัฒนากำลังคน ยกระดับการฝีมือแรงงาน ดังนั้นทุกช่วงวัยจึงต้องมีกรอบทางเดินการศึกษาที่ชัดเจน