เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่แชร์เตือนภัยในโลกออนไลน์อยู่ในขณะนี้ ภายหลังจากที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้ออกมาโพสต์เตือนระบุว่า “เตือนภัย!!!! ขอเรียกว่าเวรไส้กรอกร้าย อันตรายมากค่ะ ช่วงนี้พ่อแม่ผู้ปกครองต้องระวังมากๆ​ นะคะ” เด็กพี่น้อง 2 คน มา ER ด้วยอาการปากเขียวคล้ำ (central cyanosis) O2 80% อาเจียน ซึมสับสน หลังทานไส้กรอก​ 1-2​ แท่งไม่มียี่ห้อ 2 hrs. PTA ไม่มีโรคประจำตัวอื่น ให้ O2 therapy on ETT ไม่​ response เลือดสีดำ chocolate เจาะ ABG มีO2 saturation gap ให้นึกถึงภาวะ “Methemoglobinemia”

อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทางด้าน “ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี” ได้เผยข้อมูลระบุว่า “ALERT เตือนเฝ้าระวัง!! อย่ากินไส้กรอกจากแหล่งที่ไม่แน่ชัดหรือไม่น่าเชื่อถือ” สัปดาห์ที่ผ่านมี เด็กป่วยด้วยภาวะ เมทฮีโมโกลบิน (Methemoglobin) จำนวน 6 ราย ใน 5 จังหวัด (เชียงใหม่ 2 ราย, เพชรบุรี 1 ราย, สระบุรี 1 ราย, ตรัง 1 ราย, กาญจนบุรี 1 ราย) โดยทั้งหกรายมีประวัติกิน ไส้กรอกซึ่งไม่มียี่ห้อ ไม่มีเอกสารกำกับ อาการของผู้ป่วยคือ คลื่นไว้ เวียนศีรษะ อาจหมดสติได้ เหนื่อย หายใจเร็ว เขียว ระดับออกซิเจนที่วัดปลายนิ้วต่ำ ในขณะนี้ยังไม่มีรายใดที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต

“ภาวะ Methemoglobin เป็นภาวะที่ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงถูกออกซิไดช์โดยสารออกซิแดนท์ต่างๆ กลายเป็น methemoglobin ทำให้สูญเสียความสามารถในการขนส่งออกซิเจน และสีของเม็ดเลือดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ” ผู้ป่วยจะมีอาการของการขาดออกซิเจน​ เช่น มึนศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจเร็ว เขียว หากรุนแรงจะมีอาการหอบเหนื่อยมาก เลือดเป็นกรด ความดันโลหิตต่ำและเสียชีวิตได้ “โดยสารออกซิแดนท์ที่อาจมีการเติมในไส้กรอกหรืออาหารแปรรูปคือสารตระกูล ไนเตรท และไนไตรท ซึ่งเป็นวัตถุกันเสีย”

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2547) ได้กำหนดปริมาณที่อนุญาตให้ใช้โซเดียมไนไตรทและโซเดียมไนเตรทในอาหารได้ไม่เกิน 125 และ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ กรณีที่ใช้ทั้งโซเดียมไนไตรท์และโซเดียมไนเตรทให้มีปริมาณรวมกันได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานอาจมีการเติมสารไนเตรท-ไนไตรท เยอะกว่าปกติ หรืออาจผสมไม่ดีทำให้มีบางส่วนมีปริมาณสารสูงเกินกว่าที่ควรได้

“โปรดเฝ้าระวังการบริโภคไส้กรอกจากแหล่งที่ไม่แน่ชัด/ไม่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะในเด็กเนื่องจากเด็กจะไวต่อสารกลุ่มนี้มากกว่าผู้ใหญ่” หากมีอาการผิดปกติ ควรไปตรวจที่​ รพ. หากทาง รพ. สงสัยภาวะ methemoglobinemia สามารถปรึกษา ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดีได้ที่ 1367 ตลอด 24 ชั่วโมง ขณะนี้ทางศูนย์​ฯ​ ประสานกองระบาดวิทยา​ กรมควบคุมโรค​ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อดำเนินการสืบค้นแหล่งที่มาของการระบาดเพิ่มเติมแล้ว…

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @เปรมิกาก้า พาเพลิน,@Ramathibodi Poison Center