หลายๆคนคงจะเคยได้ยินคำว่า “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression)” กันมาบ้าง เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่บางท่านอาจต้องเผชิญหลังคลอดบุตร โดยอาจมีอาการซึมเศร้า เสียใจ วิตกกังวล และอ่อนเพลียมากจนไม่สามารถเลี้ยงลูก หรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่อันที่จริงแล้วหากมีการละเลยสัญญาณเตือนต่างๆ ก็นับว่าเป็นภาวะที่มีความอันตรายแฝงอยู่ได้มากกว่าที่คิด ยิ่งถ้าอยู่ในสถานการณ์โควิดที่ลุกลามด้วยแล้ว ความเครียดก็จะยิ่งเพิ่มพูนขึ้นไปอีก


-ซึมเศร้าหลังคลอดลูก! พยาบาลเครียดดูแลผู้ป่วยโควิด หวั่นติดเชื้อ ดิ่งชั้น 4 รพ.

สาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัจจัยที่คุณแม่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน สภาพแวดล้อม อารมณ์ หรือพันธุกรรม เป็นต้น ซึ่ง 1 ใน 6 ของคุณแม่หลังคลอด มักต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้า

อาการภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
-กังวลว่าจะไม่สามารถเลี้ยงดูตนเองและลูกได้
-ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล
-ไม่มีความรู้สึกผูกพันกับลูก
-รู้สึกทุกข์ใจอย่างมาก
-อารมณ์เศร้า ท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวัง
-ภาวะนี้มักเกิดขึ้นเกือบทั้งวัน หรือติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์
-มีความรู้สึกเหนื่อยหน่าย หมดความสนใจในงานหรือกิจกรรมที่ทำ
-อาการอื่นๆ เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ไม่ได้

การรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
-การทานอาหารที่มีประโชยน์
-ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
-หาเวลาพักระหว่างวัน
-ให้คุณพ่อ/คนใกล้ชิดช่วยดูแลลูก
-ระบายความรู้สึกให้คนใกล้ชิดฟัง
-มีเวลาให้กับตัวเองบ้าง
-ลดการรับข่าวสาร
-ปรึกษาแพทย์

การรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ ดังนั้น คุณแม่ควรบอกปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ชิดอย่างตรงไปตรงมาและซื่อตรงกับตัวเอง เพื่อให้แพทย์และคนใกล้ชิดสามารถร่วมมือกันช่วยให้การรักษาเป็นไปในทางที่ดี
โดยการรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะคล้ายกับการรักษาโรคซึมเศร้า วิธีการรักษาที่แพทย์มักใช้ มีดังนี้
-จิตบำบัด เป็นการรักษาด้วยการพูดคุยกับจิตแพทย์ เพื่อระบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากภาวะดังกล่าว
-ยาต้านเศร้า เป็นยาที่ใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้า มักใช้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั่วไป ทว่าในบางกรณีแพทย์อาจให้คุณแม่ใช้ยานี้ในการรักษาด้วย..

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @โรงพยาบาลศิครินทร์,@โรงพยาบาลแพทย์รังสิต