พญ.โอลิเวีย นีเวอราส ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไม่ติดต่อ องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า บุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การปลูกต้นยาสูบ การผลิต จัดจำหน่าย การ ประมาณการความสูญเสียทางสุขภาพและเศรษฐกิจที่เกิดจากการสูบบุหรี่ มีมูลค่าสูงถึง 3.5 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งเทียบเท่ากับ ร้อยละ 2.1 ของ GPD ดังนั้น มาตรการควบคุมการสูบบุหรี่จึงดีต่อทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการสำรวจพฤติกรรมการทิ้งขยะ พบว่า ร้อยละ 65 ของผู้สูบบุหรี่ ทิ้งก้นบุหรี่อย่างไม่เหมาะสม เช่น บนทางเท้า ชายหาด ฯลฯ ก้นบุหรี่เป็นเศษของตัวกรองบุหรี่พลาสติกที่มีสารก่อมลพิษและเป็นพิษอันดับต้น ๆ ที่พบในแหล่งน้ำต่าง ๆ เป็นของขยะที่ถูกทิ้งมากที่สุดในโลก ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปีในการย่อยสลาย โดยก้นบุหรี่ถูกทิ้งทั่วโลก 4.5 ล้านล้านชิ้นต่อปี และขยะก้นบุหรี่ 2.5 พันล้านชิ้นต่อปีถูกพบในไทย  

รศ.ดร.เนาวรัตน์ กล่าวต่อว่า ขั้นตอนการเพาะปลูกยาสูบ ต้องใช้น้ำในปริมาณเท่ากับคนหนึ่งคนใช้น้ำตลอดทั้งปี วัฏจักรทั้งหมดของบุหรี่หนึ่งมวน นับตั้งแต่การปลูก การผลิต การกระจายผลิตภัณฑ์ การใช้และการกำจัด จะต้องใช้น้ำ 3.7 ลิตร ดังนั้น หากเลิกสูบบุหรี่จะสามารถประหยัดน้ำได้มากถึง 74 ลิตรต่อวัน 

ด้าน นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กล่าวว่า ได้สำรวจปริมาณและประเภทของขยะ พบก้นกรองบุหรี่กระจายเกลื่อนชายหาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งชายหาดแต่ละแห่งมีก้นกรองบุหรี่ตกค้างมากกว่า 1 แสนชิ้น จึงคิดโครงการชายหาดปลอดบุหรี่ขึ้นมาโดยนำร่อง 24 ชายหาด 15 จังหวัดชายฝั่งทะเล ที่มีชื่อเสียง เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม เช่น หาดบางแสน จ.ชลบุรี หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต และหาดหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และเอาผิดกับผู้ที่ฝ่าฝืนสูบบุหรี่และทิ้งก้นกรองบุหรี่ไม่เป็นที่เป็นทาง โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ก้นกรองบุหรี่เป็นขยะที่พบได้บ่อยที่สุด มีการประมาณการว่าในแต่ละปีทั่วโลกมีปริมาณการผลิตและใช้ก้นกรองบุหรี่มากถึง 4.5 ล้านล้านชิ้น เฉพาะในประเทศไทย มีก้นบุหรี่ผลิตขึ้นมากกว่า 100 ล้านชิ้น ที่กลายเป็นขยะไปตกอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ

ด้าน รศ.ดร.นิภาพรรณ กังสกุลนิติ ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ  เปิดเผยว่า  จากการทำวิจัยโครงการศึกษาการได้รับสัมผัสควันบุหรี่มือสองของผู้ที่พักผ่อนในบริเวณชายหาด 2 แห่ง ที่มีชื่อเสียงของเมืองไทย ในปี 2558 โดยการตรวจวัดปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน ที่บริเวณพักผ่อนใต้ร่มและเก้าอี้ พบว่า ทั้ง 2 ชายหาด พบปริมาณฝุ่นขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ย 260 และ 504 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และพบค่าสูงสุดถึง 716 และ 1,335 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เป็นปริมาณฝุ่นขนาดเล็กสูงกว่ามาตรฐานกำหนด 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ถึง 27 เท่า 

ขอเรียกร้องให้ทุกหน่วยงาน รวมถึงผู้ที่ยังสูบบุหรี่อยู่ เลิกสูบ  และหันมาร่วมกันทำสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้   ปลอดบุหรี่ เพื่อทำให้มีโอกาสเลิกสูบบุหรี่ได้มากขึ้น  การสำรวจครั้งล่าสุดปี 2557 พบว่า มีคนไทยที่เป็นความดันสูงหรือเบาหวานที่ยังสูบบุหรี่มากกว่า 2 ล้านคน ซึ่งคนที่มีโลกประจำตัวทั้ง 2 โรคนี้ที่สูบบุหรี่ จะเร่งให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมองและไตเสื่อมเร็วขึ้นด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  กล่าวทิ้งท้าย