ความผิดปกติของการหลั่งน้ำอสุจิคืออะไร? ความผิดปกติของการหลั่งน้ำอสุจิเกิดขึ้นเมื่อผู้ชายมีปัญหาในการหลั่งน้ำอสุจิอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการหลั่งเร็วเกินไป ช้าเกินไป การหลั่งน้ำอสุจิย้อนทางกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะของ
ตัวเองหรือไม่มีน้ำอสุจิเลย สถานการณ์เหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดความพึงพอใจทางเพศที่ไม่ดีต่อผู้ชายและคู่นอนของเขา การสืบพันธุ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการบาดเจ็บทางอารมณ์

ความผิดปกติของการหลั่งอสุจิ หรือที่เรียกว่าภาวะอสุจิไม่สมดุล อาจเกิดจากปัญหาตั้งแต่แรกเกิด (ระยะแรกหรือขั้นปฐมภูมิ) หรือจากความผิดปกติที่ได้มา (ขั้นทุติยภูมิ) หลังคลอด (มักเกิดขึ้นภายหลังมาก) เช่น โรคประจำตัว การบาดเจ็บ และปฏิกิริยาของยาที่ไม่พึงประสงค์ ความผิดปกติของการหลั่งน้ำอสุจิมีสี่ประเภท ได้แก่ การหลั่งน้ำอสุจิเร็ว, การหลั่งน้ำอสุจิพุ่งออกมาล่าช้า, การหลั่งน้ำอสุจิพุ่งออกมาย้อนทาง และ ไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิ

การหลั่งน้ำอสุจิปกติมีสองระยะโดยเกี่ยวข้องกับขั้นตอนระยะกักน้ำอสุจิ (emission phase) เมื่อน้ำอสุจิอยู่ในตำแหน่งที่อวัยวะเพศใกล้กับต่อมลูกหมาก และขั้นตอนระยะขับน้ำอสุจิพุ่งออกไป (expulsion phase) เมื่อน้ำอสุจิถูกขับออกจากอวัยวะเพศอย่างแรง

การหลั่งน้ำอสุจิเกิดขึ้นที่จุดสุดยอดทางเพศหรือการขับอสุจิให้พุ่งออกไป การถึงจุดสุดยอดแตกต่างจากการสำเร็จความใคร่ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สมองและเกี่ยวข้องกับการพุ่งออกมา กลไกการหลั่งน้ำอสุจิออกมาคล้ายกับการจาม ทั้งสองเป็นปฏิกิริยาตอบสนองโดยไม่มีจุดกลับ เวลาเฉลี่ยตั้งแต่การมีเพศสัมพันธ์โดยผู้ชายจนถึงการหลั่งน้ำอสุจิพุ่งออกมาคือ 9 นาที

การประเมินความผิดปกติของการหลั่งน้ำอสุจิ การถามผู้ป่วยเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวเป็นขั้นตอนแรกที่แพทย์ใช้ในการวินิจฉัยและประเมินความผิดปกติของการหลั่งน้ำอสุจิ ข้อมูลนี้สามารถเปิดเผยว่าปัญหามีอยู่เสมอหรือไม่ ซึ่งอาจบ่งชี้ว่าเกิดจากข้อบกพร่องแต่กำเนิดหรือจากภาวะที่ได้มา

องค์ประกอบของการประเมินประกอบด้วย การตรวจร่างกายของอวัยวะเพศและลูกอัณฑะสำหรับปัญหากายวิภาคหรือโครงสร้าง การเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจน้ำอสุจิเพื่อประเมินการมีอสุจิอยู่หรือไม่และสุขภาพเป็นอย่างไรบ้าง การเก็บตัวอย่างปัสสาวะหลังการหลั่ง ถ้าหากไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิออกมา การทดสอบตรวจฮอร์โมน และการตรวจคลื่นเสียงผ่านทางทวารหนัก (Transrectal Ultrasound : TRUS) เพื่อค้นหาปัญหาโครงสร้าง

————————————
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล