เวลาเดินหน้าไปค่อนข้างรวดเร็วนัก เผลอแวบเดียวขยับก้าวเข้าสู่เดือนสิงหาคม สถานการณ์การเมืองไทย ภายหลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา แม้จะโล่งอกสบายใจมาได้เพียงแค่สัปดาห์เศษ ๆ

ขยับมาเดือนสิงหาคม ก็มีเรื่องวุ่นวายใจให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องได้ลุ้นตื่นเต้นกันอีกระลอก โดยเฉพาะปมร้อนของ รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 158 เขียนระบุเอาไว้ว่า “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง”

มีการตั้งคำถามขึ้นมาสักพักใหญ่แล้ว พล..ประยุทธ์ จะครบวาระดำรงตำแหน่ง 8 ปี วันไหนกันแน่?

ถ้าเริ่มนับจากได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น นายกรัฐมนตรีครั้งแรก วันที่ 24 .. 2557 หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ นำกำลังเหล่าทัพร่วมกันทำรัฐประหารยึดอำนาจ จะครบ 8 ปีเต็ม 24 ส.ค.2565 หรือหากไปไล่นับจาก รัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ วันที่ 6 เม.. 2560 จะครบ 8 ปี ก็เดือน เม.ย. 2568 บ้างก็ว่าให้นับจากการเป็น นายกรัฐมนตรีครั้งที่สอง วันที่ 9 มิ.. 2562 ซึ่งถือว่ามาจากการเลือกตั้งก็จะครบ 8 ปี เดือนมิ.ย. 2570

พอเข้าสู่โหมดเดือน ส.ค. ปมร้อน ๆ วาระ 8 ปีเก้าอี้พล.อ.ประยุทธ์ จึงมีหลายฝ่ายเริ่มออกโรงขยับให้เห็นคึกคักอีกครั้ง ไม่ว่าจะกลุ่มของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ตอนนี้จับมือเคลื่อนไหวร่วมกับ นายนิติธร ล้ำเหลือ แกนนำกลุ่มประชาชนคนไทย (ปท.) ต่างมองว่าเรื่องนี้คงปล่อยให้ผ่านไปไม่ได้พร้อมอาจจะจัดเตรียมเวทีปราศรัยใหญ่ในวันที่ 23 ส.ค.

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 - วิกิพีเดีย

นอกจากนี้ยังมี กลุ่มปัญญาชนและพลเมืองไทย ออกมา แถลงการณ์ 99 พลเมือง ที่มาจากหลากหลายสาขาอาชีพไม่ว่าจะเป็นทั้งนักวิชาการ, อาจารย์, อดีตนักการเมือง,ศิลปิน นักคิด นักเขียน และสื่อมวลชน ฯลฯ รวมตัวลงชื่อเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ เสียสละลาออกจากตำแหน่งก่อนวันที่ 24 ส.ค. 2565 นี้ เนื่องจากดำรงตำแหน่งนายกฯ ครบกำหนด
8 ปี ตามรัฐธรรมนูญ 2560

กลายเป็นว่า เลยต้องย้อนกลับไปลำดับเหตุการณ์เมื่อ 8 ปีที่แล้วกันอีกสักครั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จากตำแหน่ง ผบ.ทบ. ชีวิตพลิกผันกลายมาเป็น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำผู้บัญชาการเหล่าทัพ ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ จาก รัฐบาล น..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ถัดมาอีก 3 เดือน จากหัวหน้า คสช. ได้รับโปรดเกล้าฯ ขึ้นเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 29 เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2557

ในยุคของโลกดิจิทัล เทคโนโลยีไร้พรมแดนก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่มีใครคาดคิดว่า ประเทศไทยจะถอยหลังตกขอบ หมุนวงกงล้อเดิม ๆ ได้ ผู้นำรัฐประหาร มาเป็นนายกรัฐมนตรี มีโอกาสได้พิสูจน์ฝีมือทำงานบริหารชาติเต็มที่ ชนิดไม่ต้องระแวงกองทัพจะแตกแถว นำกำลังพร้อมอาวุธลากรถถังมายึดอำนาจเหมือนรัฐบาลที่มาจากประชาชน

99 ชื่อลงชื่อเรียกร้องนายกฯ ลาออกก่อนครบ 8 ปี 23 ส.ค. | ไทยโพสต์ | LINE  TODAY

บางครั้งจึงต้องยอมรับความจริง ประชาชนให้เวลา ให้โอกาสมา 8 ปี ถ้าทำไม่ได้ตามที่สัญญาหรือฝีมือไม่ถึง ก็ถือว่าเป็นเวลาอันพอสมควรแล้วจริง ๆ ที่น่าจะลงจากเก้าอี้!!.

ผลงานบริหารประเทศทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่ผ่านมาเป็นเช่นไร? ลองไปถามใจประชาชนส่วนใหญ่ทั่วประเทศ ให้ช่วยทบทวนดูว่า ประเทศไทย “ปฏิรูป” อะไรได้สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันตามข้ออ้างรัฐประหารบ้าง

———————-
เชิงผา