หลายๆคน หลายๆครอบครัว เมื่อมีสมาชิกใหม่ตัวน้อยๆถือกำเนิดขึ้นมา ก็เลือกที่จะทุ่มเวลา การบำรุง และการเลี้ยงดูกันอย่างเต็มที่ แต่เคยทราบไหมว่า.. การดูแลคุรแม่ และการเตรียมทั้งร่างกายและจิตใจ ก็สำคัญไม่แพ้กัน..

วันนี้ Healthy Clean มีโอกาสได้พูดคุยกับ นพ.ปรเมศวร์ วงศ์ประเสริฐ (ว. 37712) กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านทารกแรกเกิดและปริกำเนิด ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลนวเวช เผยว่า “ถ้าพูดในกลุ่มของทารกตั้งแต่แรกเกิด จริงๆถ้าพูดถึงการเจ็บป่วยการไม่สบายหรือโรคต่างๆคงต้องเน้นย้ำตั้งแต่คุณพ่อและคุณแม่ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ “เนื่องจากบางเรื่องมันเป็นโรคของพันธุกรรม” เราจะคุยกับสมมุติคุณพ่อคุณแม่มีลูกแล้วเป็นโรค เพราะบางโรคถ้าเป็นพันธุกรรมที่รุนแรง สมมุติผู้หญิงเป็นแบบนี้ ถ้าผู้ชายเป็นแบบนี้ลูกออกมาอาจจะเสียชีวิตตั้งแต่ในท้อง เราจะแนะนําตั้งแต่ก่อนที่จะมีแฟนเลยด้วยซ้ำ แต่ถ้าโอเคทุกอย่างปกติ คุณพ่อคุณแม่แพลนว่าจะมีลูก เราจะต้องดูแลตั้งแต่ก่อนที่จะตั้งครรภ์

อย่างแรกคือสกรีนว่าเรามีโรคอะไรรึเปล่า เพราะก็ไม่รู้หรอกว่ามีโรคลึกๆอะไรบ้าง สกรีนโรกที่มีผลต่อลูก เช่น ความผิดปกติของพันธุกรรม อย่างที่สองคือการทําให้ร่างกาย ตัวสเปิร์มตัวไข่ก็แข็งแรงไปด้วย และสามคือการวางแผนที่ถูกต้อง พักผ่อนไม่เพียงพอ กินอาหาร

เรื่องอาหารก็สําคัญก่อนที่จะตั้งครรภ์ บางโรค เช่น ความผิดปกติของไขสันหลังของทารก เป็นความผิดปกติที่ป้องกันได้ตั้งแต่คุณแม่ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เช่น กินโฟลิก ซึ่งระดับของโฟลิกต้องสูงตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ไม่ใช่ตั้งครรภ์แล้วมานั่งกินยา นี่คือป้องกันด้วยโรกอีกเยอะเลย

“หนึ่งสิ่งที่สําคัญ นอกจากคําว่าโรกแล้วจะแนะนําเสมอ คือคุณพ่อคุณแม่ต้องมีความสุขในการเลี้ยงลูก ถ้าเราเครียดในทุกอย่างเป็นยังไง ลูกก็ไม่มีความสุข ที่เค้าบอกว่าเด็กคือรู้เค้าแค่พูดไม่ได้” รวมทั้งคุณพ่อคุณแม่หลังคลอด เพราะนมแม่สําคัญที่สุด ไม่ว่าจะแพงขนาดไหนที่สุดในโลกก็ไม่มีคืออะไรสู้ภูมิคุ้มกันจากนมแม่ได้ เพราะฉะนั้นส่วนหนึ่งที่จะป้องกันในทารกแรกเกิดได้ดีมากๆ เพราะเด็กทารกแรกเกิดสร้างภูมิคุ้มกันตัวเองไม่ได้จนถึงอายุ 6 เดือน

Cropped photo of a parent carrying a baby

“ภูมิคุ้มกันส่งต่อจากแม่ในช่วง 2-3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด และจากนมแม่เท่านั้น จนกว่าจะ 6-7 เดือน ลูกถึงจะสร้างภูมิพันธ์ตัวเองได้ นมแม่คือสิ่งที่สําคัญแม่ดูแลสุขภาพตัวเองกินอาหารให้เพียงพอพักผ่อนให้เพียงพอ นมออกมาก็เป็นนมที่มีคุณภาพ”

และเมื่อโตขึ้น ถ้าไม่อยากให้ลูกเราเจ็บป่วย หลีกเลี่ยงการเจอคนเยอะๆ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อมองเห็นหลายคนมากมากครับ อายุไม่กี่วันพาไปห้าง เป็นส่วนที่ไม่ควรหมอจะพูดกับพ่อแม่ทุกคนเลยว่าถ้าเราเครียดเราไปเที่ยวได้ครับ พักผ่อนได้ในที่คนไม่เยอะ พาไปเที่ยวทะเล พาไปเที่ยวภูเขาแต่หลีกเลี่ยงการเจอคนเยอะๆ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อจากผู้ใหญ่ไปสู่เด็ก เพราะสามารถทําให้ให้ให้เด็กมีภาวะเรื้อรังไปตอนโตได้

นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งเรื่องที่คุณแม่หลายคนสงสัยว่า “จะทํายังไงให้นมมันมีคุณค่ามากที่สุด” คุณแม่หลายคนน่าจะไปเห็นในโฆษณา ดื่มนมเยอะๆ มีประโยชน์ต่อลูก หรือกินวิตามินเยอะๆ ได้น้ำนมดี แต่หมอจะบอกว่า “ธรรมชาติดีที่สุด” อย่างการพักผ่อนให้เพียงพอและต้องมีความสุข เพราะ “ฮอร์โมนความเครียดยับยั้งการสร้างน้ำนม ฮอร์โมนความสุข หรือ เอ็นดอร์ฟิน เพิ่มการสร้างน้ำนมและเพิ่มคุณภาพ และลูกก็รู้ครับว่าเรามีความสุข”

The newborn baby sleeping in the embrace of the mother.

ยังมีอีกสิงสิ่งที่สําคัญมากคือ “โปรตีนและแคลเซียม” ถ้าคุณแม่ได้โปรตีนและแคลเซียมน้อยมันก็จะไปลูกน้อยไม่พอ อีกทั้งยังไปสลายโปรตีนและแคลเซียมจากตัวคุณแม่เพื่อไปให้ลูก ซึ่งจะปรากฎปัญหาในตอนที่คุณแม่ในขณะอายุมากขึ้นโดยเฉพาะกระดูกพรุน จึงขอแนะนำให้คุณแม่รับประทาน “แคลเซียมธรรมชาติ” อย่างการทานปลาตัวเล็กๆ ผักสีเขียว ผักโขม ผักหวาน รวมไปถึงกินครบ 5 หมู่

“หลายปัจจัยที่หมอพูดมานั้นเกี่ยวกับเรื่องความฉลาดของลูก เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์นั้นย่อมมีส่วนสำคัญทั้งหมด แต่เหนื่อสิ่งอื่นใด คุณแม่คุณแม่อย่าลืมพัฒนาการด้านความสุขที่ให้กับเด็ก คือการมอบ “เวลา” ที่จะใช้ร่วมกันเพื่อให้ลูกมีความสุขครับ” นพ.ปรเมศวร์ กล่าวทิ้งท้าย..

……………………………………………
คอลัมน์ : Healthy Clean
โดย “พรรณรวี พิศาภาคย์”
อ่านบทความทั้งหมดที่นี่…คลิก…