จากกรณีบนโลกออนไลน์ได้แชร์คลิปวิดีโอจากสมาชิกผู้ใช้ TikTok รายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า iamyours47 ได้ออกมาโพสต์คลิปวิดีโอสุดขนลุก หลังจากเธอใช้น้ำประปาที่ห้องขณะกำลังซักผ้า แต่ปรากฏว่าน้ำไม่ไหล จึงเปิดดู และเจอกลับจึงมีชีวิตแปลกๆ จนชาวเน็ตต่างวิพากษ์วิจารณ์ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ความคืบหน้าสุด อ.อ๊อด หรือ นายวีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ออกมาให้ข้อมูลว่า สิ่งมีวิตที่อยู่ในคลิปนั้นก็คือ “เห็บปลา” เกิดจากปลาที่เป็นโรค จะกัดกินตัวปลา เบื้องต้นยังไม่มีข้อมูลเป็นอันตรายต่อคน แต่ที่แน่ชัด สะท้อนเรื่องคุณภาพของน้ำประปา

สำหรับ “เห็บปลา” (Fish louse or Fish Lice) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Argulus sp. ชนิดที่รู้จักกันดีและคุ้นเคยก็เช่น Argulus foliaceus, Argulus japonicus และ Argulus coregoni จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับแมลง กุ้ง ปู ต่างๆ มีขนาดความยาวตั้งแต่ 6-22 มิลลิเมตร

เห็บปลา เป็นปรสิตภายนอก พบในปลาน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น ปลาตะเพียน ปลาไน ปลาทอง ปลาแรด ปลาหมอ ปลากะพงขาว กบ และคางคก ซึ่งจะเกาะบริเวณต่างๆ ภายนอกตัวปลา เช่น ตามครีบ ลำตัว ส่วนหัว ทุกๆ ส่วนที่มันพอจะมีพื้นที่เกาะได้ โดยจะเกาะดูดเลือดและย่อยสลายผิวหนังปลาบริเวณนั้นกินเป็นอาหาร (T-T) นอกจากนั้น ตัวแก่ของ เห็บปลา ยังสามารถเป็นพาหะของเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้หลายชนิด

สำหรับวงจรชีวิตของเห็บปลา ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะอยู่ในท่อนำไข่บริเวณกลางลำตัว เห็บปลาจะวางไข่บนก้อนหิน หรือวัตถุแข็งๆ ในน้ำ ซึ่งไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 9-15 วัน ตัวอ่อนว่ายน้ำเป็นอิสระประมาณ 20-24 ชม. แล้วจะเข้าเกาะปลา ถ้าไม่สามารถเกาะปลาภายใน 24 ชม. จะตาย เมื่อเกาะปลาแล้ว 3-5 วัน จะลอกคราบครั้งแรก ลอกคราบ 6 ครั้ง ถึงจะโตเต็มวัย ตัวเมียวางไข่แล้วจะตาย

ลักษณะอาการของโรค บริเวณที่ถูกเห็บปลาเกาะจะเป็นแผล ทำให้ตกเลือดบริเวณผิวหนังทั่วไปเห็บปลา ส่วนใหญ่จะเกาะอยู่ตามผิว เหงือก หัว ครีบของปลา กินเซลผิวหนังเป็นอาหาร สามารถย้ายตำแหน่งการเกาะได้ ทำให้ผิวปลาเป็นแผล มักจะเกิดกับปลาที่มีเกล็ด เช่น ปลาช่อน ปลาแรด ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน เป็นต้น ปลาที่ติดโรคนี้เป็นเวลานาน ปลาจะว่ายน้ำอย่างกระวนกระวาย โดยถูกับวัสดุ หรือผนังตู้ เห็บปลาที่พบในประเทศไทย ได้แก่ Argulus..

ขอบคุณภาพประกอบ : ninekaow.com, กรมประมง