สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงซานซัลวาดอร์ ประเทศเอลซัลวาดอร์ เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ว่า ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยอเมริกากลาง (ยูซีเอ) พบว่า 75.6% ของผู้ตอบแบบสอบถาม กล่าวว่า พวกเขาไม่เคยใช้สกุลเงินดิจิทัลในปี 2564 และสัดส่วน 77% มองว่า การนำบิตคอยน์มาใช้เป็นตั๋วเงินชำระหนี้ตามกฎหมายเมื่อ 14 เดือนก่อน ควบคู่ไปกับเงินดอลลาร์ “ถือเป็นความล้มเหลว”
นายอันเดรว โอลิวา อธิการบดีของยูซีเอ แสดงความเห็นต่อผลการศึกษาดังกล่าวว่า บิตคอยน์ ซึ่งมีมูลค่าลดลงในปีที่ผ่านมา “เป็นมาตรการที่ไม่ได้รับความนิยม, ไม่เป็นที่ยอมรับ และถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดของรัฐบาลเอลซัลวาดอร์”
El Salvador is now one year into its experiment with making bitcoin a legal tender. The signs aren’t good as data shows few citizens or firms are using crypto for payments. Learn more about this week’s big stories from the world of virtual money here https://t.co/5JOJJHBj77 pic.twitter.com/tYYrYmqnZX
— Reuters (@Reuters) September 14, 2022
แนวคิดของบูเคเลคือ การส่งเสริมการโอนเงินคริปโตฯ จากชาวเอลซัลวาดอร์ราว 3 ล้านคน ที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐ ไปยังญาติพี่น้องของพวกเขาที่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมธนาคารได้
A year after El Salvador adopted bitcoin as legal tender, the area where the world's first cryptocurrency city was meant to be built is still a dense jungle https://t.co/jeOesv48F5 pic.twitter.com/e3idahGMzK
— Reuters (@Reuters) September 8, 2022
แม้การตัดสินใจของบูเคเลจะเป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เนื่องจากการโอนเงินเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของเอลซัลวาดอร์ แต่ตามข้อมูลของธนาคารกลางเอลซัลวาดอร์ เมื่อช่วงต้นเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา พบว่า 1 ปีหลังจากที่มีการนำบิตคอยน์มาใช้ การโอนเงินจากผู้อพยพต่างถิ่นผ่านการใช้สกุลเงินดิจิทัล “มีน้อยกว่า 2%”
นอกจากนี้ ผลการศึกษาของยูซีเอยังระบุว่า 77% ของชาวเอลซัลวาดอร์ เชื่อว่า ประธานาธิบดีของพวกเขา “ไม่ควรใช้เงินสาธารณะเพื่อซื้อบิตคอยน์อีกต่อไป”.
เครดิตภาพ : GETTY IMAGES