เมื่อเวลา 09.40 น. วันที่ 19 พ.ย. ที่ห้องประชุม Plenary Hall 2 ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมเขตผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 (Retreat ช่วงที่ 2) ภายใต้หัวข้อ “Sustainable Trade and Investment การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน”

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเปิดการประชุมตอนหนึ่งว่า หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้นำเอเปคทุกท่านจะได้พักผ่อนกันอย่างเต็มที่ในค่ำคืนที่ผ่านมา และตนรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนได้มีโอกาสมาพบปะและพูดคุยกัน หารือกันในบรรยากาศที่เป็นมิตรไมตรีต่อกัน โดยเมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมา ได้มีการหารือแนวทางการส่งเสริม การเจริญเติบโตครอบคลุมยั่งยืนผ่านแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) พร้อมกับได้มีการกระชับความสัมพันธ์กับแขกพิเศษ และหนึ่งในประเด็นสำคัญที่มีการพูดคุยกันคือการค้าและการลงทุน ซึ่งถือเป็นบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนครอบคลุม ในภูมิภาคและในโลก

วันนี้จึงถือเป็นโอกาสอีกครั้งที่ได้มีการพูดคุยกันต่อและลงรายละเอียดในประเด็นนี้ ซึ่งทุกท่านทราบดีว่าการค้าการลงทุนเป็นหัวใจหลักของความร่วมมือในเอเปคที่จะส่งเสริมและสนับสนุน ระบบการค้าพหุภาคีที่มีองค์การค้าโลก (WTO) เป็นศูนย์กลางและเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่ประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก สมัยสามัญที่ 12 สามารถที่จะประสานท่าทีที่แตกต่างกันของสมาชิกและบรรลุผลลัพธ์ในหลายหัวข้อที่ติดขัดกันมานาน เราต้องช่วยกันผลักดันการนำผลลัพธ์ของที่ประชุมดังกล่าว มาปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพโดยเร็ว หลายประเด็นที่ยังคั่งค้างเป็นประเด็นที่เอเปคให้ความสำคัญในวิสัยทัศน์ เช่น ความควบคุมการยั่งยืน และความเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ซึ่งเอเปคมีบทบาทสำคัญในฐานะแหล่งบ่มเพาะทางความคิด

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อไปว่า อยากให้ทุกท่านช่วยกันคิดว่าในเอเปค มีความคิดใหม่ใหม่ที่สร้างสรรค์เพื่อขับเคลื่อนประเด็นเหล่านี้ให้คืบหน้าได้อย่างไร ซึ่งการซึ่งการขับเคลื่อนวาระเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) เป็นงานสำคัญที่ต้องช่วยกันสนับสนุน ระบบการค้าพหุภาคี ซึ่งในปีนี้เราสามารถทำให้เกิดความคืบหน้า โดยได้จัดทำแผนงานต่อเนื่องหลายปีเพื่อขับเคลื่อน จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถและเตรียมความพร้อมให้กับเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งในประเด็นการค้าและการลงทุนยุคใหม่ รวมถึงเศรษฐกิจดิจิทัลด้วย ซึ่งเราต้องให้ความสำคัญกับการนำแผนงานต่อเนื่องหลายปีนี้ไปปฏิบัติ ขณะเดียวกันจะต้องนึกถึงหนทางข้างหน้าด้วย และต้องถามกลับมาที่ตัวเองว่า เรามีความคาดหวังเดียวกันในเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียแปซิฟิก (FTAAP) โดยจะทำอย่างไรให้วาระดังกล่าว ตอบสนองผลประโยชน์ของพวกเราทุกคน

ในปีที่ผ่านมา เราสามารถฟื้นตัวจากโควิด-19 โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล ช่วยรับมือในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี ที่มีส่วนสำคัญในการเข้าไปสู่ห่วงโซ่ธุรกิจของโลกให้ได้มากยิ่งขึ้น และยังช่วยขยายโอกาสให้เข้าถึงสตรี เยาวชนและะกลุ่มคนในชนบทในพื้นที่ห่างไกล แต่ยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่มาก จึงจำเป็นต้องลดช่องว่างและเสริมพลังและเสริมพลังให้กลุ่มที่ยังที่ไม่ได้รับการปลดปล่อยศักยภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างหลักประกันเพื่อสร้างหลักประกันว่า คนทุกกลุ่มจะได้รับประโยชน์ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และตนขอเพิ่มเติมวันนี้ เรากำลังเผชิญกับสังคมผู้สูงวัย ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญตรงนี้ด้วย ว่าจะทำอย่างไรที่จะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ เพราะอายุยืนยาว ต้องมีความมั่นคงในชีวิตของเขาด้วย.