กลุ่มผู้รับเข้ารับการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้บริหารระดับสูงด้านการสร้างคุณค่า นวัตกรรมสังคม และความรับผิดชอบสังคมอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 1 (Kasetsart University Value Creation & Innovation for Professionals and Sustainability : KU VIPS 1) จัดโดยคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรียกสั้น ๆ ว่า KU-VIPS รุ่นที่ 1 ได้ร่วมกันเสนอผลงานการประยุกต์แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างความยั่งยืนและพัฒนานวัตกรรมสังคม โดยช่วยกันวางเป็น “บันไดสามขั้น” เพื่อก้าวไปสู่การสร้างภาวะผู้นำที่ยั่งยืน (Sustainable leadership)
บันไดขั้นแรก คือ Forum ซึ่งนำเสนอบทความเมื่อตอนที่แล้ว โดยผู้เขียนชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของ Social Innovation ของทั้งห้ากลุ่มที่นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า Sustainovation
ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์โครงการริเริ่มของทั้งห้ากลุ่มในฐานะที่เป็น Sustainovation ภายใต้สี่เสาหลัก (Four pillars) คือ Value Creation, Innovation, Professional, และ Sustainability เราพบว่า องค์ประกอบของ VIPS ที่เป็น Framework การสร้าง Sustainovation นี้ เปรียบเสมือนเรากำลังออกแบบพิมพ์เขียว Blueprint ของ”วิหารนวัตกรรมที่ยั่งยืน” หรือ Sustainovation Temple ที่มีสี่เสาหลักข้างต้น”ค้ำยัน”วิหารนี้อยู่
2️⃣ บันไดขั้นที่สอง… Framework
Framework มาจากการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกับเหล่าคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญตลอดช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้สอดประสานกับชื่อหลักสูตรนี้ คือ VIPS
♻️Value Creation การสร้างคุณค่าจากสิ่งที่เราทำ เราจะเห็นได้ว่าทั้งห้ากลุ่มสามารถสร้าง Value Creation ได้ชัดเจนกับกลุ่ม Stakeholder ที่เข้าไปลงมือทำใน Prototype area
เริ่มจาก “กลุ่มกรันเกรา” สร้าง Value Creation ในการจัดการขยะภายในครัวเรือน (Waste Managenent of Household) โดยนำ Recycle Day ที่เป็น Application มาสร้างแรงจูงใจในการจัดการขยะภายในครัวเรือนเป็นลักษณะการจัดการจาก Bottom-up มากกว่า Top-Down ที่มาจากการสั่งการจากข้างบน…เช่นเดียวกับ “กลุ่มชัยพฤกษ์” ที่สร้าง Value Creation โครงการส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่แสมสารตระหนักถึงปัญหาผลกระทบของขยะในทะเลที่มีต่อสัตว์น้ำและแนวปะการังซึ่งคุณค่าที่สร้างขึ้นมาจากความตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว (Value creation is the local youth awareness.)
“กลุ่มไผ่สีสุก” สร้าง Value Creation จากโครงการทหาร GAIN 1000 ดี ด้วยการเพิ่มทักษะ Upskill ที่ตรงตามความต้องการของทั้งกลุ่มทหารผู้เรียนและกลุ่มผู้มีความต้องการความช่วยเหลือโดยการประเมินปัญหาในพื้นที่ ทำให้เราเห็นว่าการซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุ คือ Demand ที่มีความต้องการสูงมากขึ้น โดยกองทัพสามารถ Supply กำลังพลที่มี Skill การซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุ
ขณะที่ “กลุ่มทรงบาดาล” สร้าง Value Creation ให้กับกลุ่มเปราะบาง โดยนำ Application บ้านสร้างสุข Happy Home for All ซึ่งเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้มีความต้องการความช่วยเหลือและผู้ต้องการให้ความช่วยเหลือเป็นลักษณะการจับคู่แบบ “ปันสุข” กัน… เช่นเดียวกับ “กลุ่มขนุน” ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการเหมืองเก่าทิ้งร้าง แนวคิด Social Innovation ต่อยอดมาเป็น Naphralan Model และ 4T Framework จัดเป็น Value Creation ที่สามารถนำไปเป็นต้นแบบการสร้าง Sustainable mining ในอนาคตได้
Innovation
นวัตกรรมที่ทั้งห้ากลุ่มร่วมกันสร้างเป็นนวัตกรรมเชิงความคิด New Idea และปรับกระบวนการทำงานเพื่อสร้างความยั่งยืนให้ดีขึ้น (New Process)
กลุ่มกรันเกรา และ กลุ่มทรงบาดาล ใช้ Application มาช่วยกันสร้าง Sustainovation ผ่านทาง Recycle Day และ Happy Home for All ซึ่งสอดคล้องกับยุค Digital Era ที่นำ Digital Platform มาตอบสนองความต้องการของสังคม เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรในสังคมอย่างยั่งยืน
กลุ่มชัยพฤกษ์ กลุ่มไผ่สีสุก และกลุ่มขนุน สร้างนวัตกรรมทางสังคมในแง่ปรับปรุงกระบวนการให้ตอบโจทย์ความต้องการของคนในพื้นที่ “กลุ่มชัยพฤกษ์” ลงพื้นที่จริง 4 ครั้งจนสามารถ Address ปัญหาขยะในทะเลที่กระทบต่อสัตว์น้ำและแนวปะการัง…”กลุ่มไผ่สีสุก” ใช้ระเบียบวิธีวิจัยผสานกับ Knowledge และ Knowhow การออกแบบบ้านผู้สูงอายุที่ขาดกำลังแรงงานและกำลังทรัพย์ในการซ่อมแซม…เช่นเดียวกับ “กลุ่มขนุน” ที่ลงพื้นที่หน้าพระลาน พบสภาพข้อจำกัดการจัดการเหมืองแร่เก่า ผนวกกับประสบการณ์ของ ดร.กล้า มณีโชติ และพี่ ๆ กลุ่มขนุนทำให้นำเสนอโมเดลการจัดการเหมืองเก่าอย่างยั่งยืน
Professional
ความเป็นมืออาชีพของทั้งห้ากลุ่มสะท้อนจากการทำงานภายใต้ระยะเวลาที่จำกัดโดยยังรักษามาตรฐานระดับสูงได้ดีมาก (High standards) ขณะเดียวกันความเป็นมืออาชีพถูกวัดได้จากการคำนึงถึง Stakeholders ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ชุมชน กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง
ความเป็นมืออาชีพยังวัดจากการผสมผสานศาสตร์หลายแขนงเข้าด้วยกัน อาทิ การบูรณาการแนวคิดทาง Social innovation เข้ากับ Science & Technology เป็นต้น
คุณสมบัติหนึ่งของความเป็นมืออาชีพในการทำงานด้านความยั่งยืน คือ การเป็นนักประสานที่เยี่ยมยอด การเป็น Coordinators ที่ดีต้องชี้ให้เห็น Contributions ที่ทุกกลุ่มได้รับ ทั้งห้ากลุ่มได้แสดงให้เห็นว่าการเข้าพื้นที่ทดลองต้นแบบทั้งห้าที่ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจนโครงการต้นแบบประสบความสำเร็จภายในระยะเวลาที่มีจำกัด
สี่เสาหลักแห่งวิหารนวัตกรรมที่ยั่งยืน : บทสรุป Sustainovation ห้ากลุ่ม KU-VIPS รุ่นที่ 1 (ตอนที่ 1 )
Sustainability
ความยั่งยืนที่ทั้งห้ากลุ่มชี้ให้เห็นจาก Prototype projects นำไปสู่ความเชื่อมโยงถึง SDGs ในเป้าหมายต่าง ๆ กล่าวคือ
กลุ่มกรันเกรา …เมื่อวิเคราะห์ SDGs analysis เราพบว่า Pure Plannet Initiative เชื่อมทั้งประเด็น Gender ใน SDG 5 ประเด็น Economic Growth ของ SDG 8 จากการสนับสนุน BCG Economy ประเด็น Sustainable Cities ของ SDG 11 ประเด็น Sustainable Consumption ของ SDG 12 ประเด็น SDG 13 Climate Action และสุดท้ายประเด็น PPP หรือ Public Private Partnership ใน SDG 17
กลุ่มชัยพฤกษ์… ผู้เขียนวิเคราะห์ภายใต้ SDG analysis พบว่า เชื่อมโยงกับ SDG 14 ในเรื่อง Life in Marine เช่นเดียวกับ SDG 11 ที่สร้าง Sustainable Communities รวมทั้ง SDG 13 ที่ช่วยลดปัญหาโลกรวน Climate Change และท้ายที่สุด คือ SDG 17 บูรณาการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชนแสมสาร
กลุ่มไผ่สีสุก …ผู้เขียนวิเคราะห์ภายใต้ SDG analysis พบว่า เชื่อมโยงกับ SDG 3 การสร้าง Well being ให้กับผู้คนในชุมชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ SDG 8 การ Upskill สร้าง Decent work ให้กำลังพล SDG 11 สร้างเมือง ชุมชนน่าอยู่แบบ Sustainable communities… การปลูกฝัง Mindset ความมั่นคงในมิติของกำลังพลบริเวณรอบชุมชนมาช่วยสร้างความอบอุ่นใจ และปลอดภัยทางความรู้สึกให้กับผู้คน… รวมทั้ง SD7 17 ที่เกิดการจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งโรงเรียนนายเรืออากาศที่เปิดโอกาสให้กำลังพลได้ Upskill ที่จำเป็นต่อโลกยุคใหม่ ภาควิชาการที่ช่วยออกแบบ Knowledge และ Knowhow ที่เหมาะสม รวมทั้งบริษัทขนาดใหญ่อย่าง SCG ที่ช่วยขยายโอกาสสร้างช่องทางที่เป็น Plaftorm รวมช่าง แก่กำลังพลเหล่านี้หลังปลดประจำการไปแล้ว
“กลุ่มทรงบาดาล”… ผู้เขียนวิเคราะห์ภายใต้ SDG analysis พบว่า เชื่อมโยงกับ SDG ทั้ง SDG 11 สร้างเมืองให้น่าอยู่ด้วยสังคมที่แบ่งปันกัน SDG 16 ความเข้มแข็งของภาครัฐที่เปิดช่องทางให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องดี ๆ รวมทั้ง SDG 17 ที่เราเห็นความร่วมมือของคนจากกระทรวงพัฒนาสังคม ภาควิชาการ ภาคชุมชน ตลอดจนภาคธุรกิจอย่าง Application ซื้อของออนไลน์ที่พร้อมกันร่วมเป็นช่องทางส่งต่อเรื่องดี ๆ ในการสร้างความช่วยเหลือให้กลุ่มเปราะบาง
“กลุ่มขนุน”… ผู้เขียนวิเคราะห์ภายใต้ SDG analysis พบว่า เชื่อมโยงกับ SDG พบว่า เชื่อมโยงทั้ง SDG 3 การสร้าง Well being ในการพัฒนาเหมืองแร่เก่าในชุมชนให้น่าอยู่ SDG 8 การสร้าง Decent work ที่ต่อยอดให้กับคนในพื้นที่ SDG 11 การสร้างชุมชนเมืองที่เหมืองหน้าพระลานให้น่าอยู่เข้มแข็ง รวมทั้ง SDG 17 ที่บูรณาการผู้คนจากทุกภาคส่วนมาร่วมกันขับเคลื่อน Naphralan Model และ 4T Framework
กล่าวโดยสรุป การเดินขึ้นสู่บันไดขั้นที่สอง คือ การสร้าง VIPS Framework นั้น ทุกกลุ่มได้วางเสาหลักทั้งสี่ต้นนี้ครบหมดแล้ว และสร้าง Blueprint ของ Sustainovation temple ไว้เป็นที่ประจักษ์แล้ว
ต่อจากนี้ คือ การก้าวขึ้นไปบนบันไดขั้นที่สาม ที่เรากำลังหล่อหลอมให้เป็น Sustainable Leadership หรือ ภาวะผู้นำที่ยั่งยืน
โปรดติดตามตอนที่ 3 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายครับ
Dr. Sutthi Suntharanurak และทีมวิชาการ KU-VIPS รุ่น 1