“เกาลัดไทย” ไม่ได้เป็นไม้ไทย แต่ที่ได้ชื่อว่าเกาลัดไทยทั้งที่มาจากจีน ก็เป็นเพราะคำว่า เกาลัด หรือ เกาลัดจีน ที่คั่วขายที่เยาวราช ก็เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว บางแห่งก็เลยเรียกเกาลัดไทยว่า “เกาลัดเทียม” เพราะไม้ต้นนี้ไม่ใช่พวกเกาลัด (เกาลัด) อยู่คนละวงศ์กับเกาลัดที่คั่วขายกันในราคาแพง ซึ่ง “เกาลัดไทย” นั้นแต่เดิมเป็นพืชถิ่นเดิมของจีนตอนใต้ บริเวณกวางตุ้ง กวางสี ยูนาน ไต้หวัน แล้วแพร่กระจายไปยังอินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น รวมทั้งไทย ผลเป็นผลแห้งแล้ว เปลือกเหนียวเหมือนหนังมีสีส้มหรือสีแดงหุ้มเมล็ดสีดำไว้ข้างใน เมื่อแก่จัดผลจะแตกด้านหนึ่งทำให้เห็นความสวยงามของเมล็ดสีดำตัดกับสีแดงของเปลือกผล เนื้อในเมล็ดสีเหลือง ต้มสุกแล้วเนื้อในเมล็ดจะเป็นสีเหลืองสด เมื่อนำเมล็ดไปต้มหรือคั่วให้สุกก็รับประทานได้ รสชาติหวามมัน เนื้อไม้นำไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้ นำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมได้

การขยายพันธุ์เกาลัดไทย สามารถ เพาะกล้าจากเมล็ดได้เมล็ดงอกได้ง่ายมากเนื่องจากไม่มีระยะพักตัวแต่วิธีที่นิยมขยายพันธุ์ในบ้านเราคือการตอนกิ่ง ซึ่งสามารถออกรากง่าย หลังตอนกิ่งราวๆ 30-45 วัน ก็สามารถตัดกิ่งตอนมาชำอนุบาลได้ ข้อดีของกิ่งตอน คือ สามารถออกดอกติดผลไวหลังปลูกลงดินเพียง 2-3 ปีเท่านั้น ไม่ต้องรอนานเหมือนการเพาะเมล็ด แล้วสามารถตอนกิ่งให้มีความยาวที่เราต้องการได้ เพื่อย่นระยะเวลาในการปลูกให้สั้นลง

การปลูกและบำรุงรักษา เป็นไม้ที่ปลูกง่ายและทน เกาลัดไทยเป็นไม้ที่ต้องการแดดจัดถึงจะเจริญเติบโตได้ดี หากได้แสงแดงน้อยหรือร่มรำไรจะเจริญเติบโตช้า ชอบพื้นที่ดินร่วนปนทราย  อินทรียวัตถุมากควรบำรุงด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักปีละ1-2ครั้งชอบน้ำแต่ก็ไม่ควรมีน้ำขัง ใส่อินทรียวัตถุสลับกับปุ๋ยเคมี ปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ระยะปลูกก็ควรไม่ต่ำกว่า 3เมตร เนื่องจากเป็นไม้ที่โตไว แตกกิ่งก้านสาขาค่อนข้างดี

นำเมล็ดไปต้มหรือคั่วให้สุกต้มรับประทานเป็นของขบเคี้ยวแบบเกาลัดจีนก็อร่อยได้ใช้ สำหรับคนที่ชอบกินลูกก่อหรือชอบกินเมล็ดขนุนต้ม  น่าจะชื่นชอบ แม้รสจะไม่หวานเท่าเกาลัดแท้แต่ก็มีรสหวานที่ทานแล้วอร่อเวลาเก็บฝักที่แตกอ้าจากบนต้น ก็นำมาแกะเมล็ดข้างในออกจากฝัก ล้างน้ำให้สะอาดนำมาต้มน้ำเดือด พอสังเกตว่าผิวผลเกาลัดไทยเริ่มแตก ก็ปิดไฟ ยกลง ช้อนเอาเมล็ดที่ต้มสุก ลงในน้ำ เปิดน้ำ ล้าง จนหมดเมือกก็ทานได้เลย