เมื่อเวลา 11.10 น. วันที่ 19 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 เวลา 08.00-10.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 43.4-81.7 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 57.8 มคก./ลบ.ม.       

โดยค่าฝุ่น PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 3 พื้นที่ คือ 1.เขตหนองแขม 2.เขตทวีวัฒนา 3.เขตบางกอกน้อย และอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 66 พื้นที่ คือ 4.เขตราชเทวี 5.เขตสัมพันธวงศ์ 6.เขตพญาไท 7.เขตวังทองหลาง 8.เขตปทุมวัน 9.เขตบางรัก 10.เขตบางคอแหลม 11.เขตยานนาวา 12.เขตจตุจักร 13.เขตบางกะปิ 14.เขตลาดกระบัง 15.เขตธนบุรี 16.เขตคลองสาน 17.เขตภาษีเจริญ 18.เขตบางเขน 19.เขตบางพลัด 20.เขตบางขุนเทียน 21.เขตพระนคร 22.เขตสาทร 23.เขตคลองเตย 24.เขตบางซื่อ 25.เขตหลักสี่ 26.เขตบึงกุ่ม 27.เขตสวนหลวง 28.เขตลาดพร้าว 29.เขตคลองสามวา 30.เขตสายไหม 31.เขตห้วยขวาง 32.เขตสะพานสูง 33.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 34.เขตบางแค 35.เขตจอมทอง 36.เขตดอนเมือง 37.เขตดินแดง 38.เขตพระโขนง 39.เขตราษฎร์บูรณะ 40.เขตบางกอกใหญ่ 41.เขตตลิ่งชัน 42.เขตดุสิต 43.เขตบางบอน 44.เขตทุ่งครุ 45.เขตวัฒนา 46.เขตบางนา 47.เขตคันนายาว 48.เขตมีนบุรี 49.เขตหนองจอก 50.เขตประเวศ 51.สวนลุมพินี เขตปทุมวัน 52.สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร 53.สวนจตุจักร เขตจตุจักร 54.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ 55.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง 56.อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย 57.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง 58.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ 59.สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย 60.สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร 61.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย 62.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม 63.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค 64.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา 65.สวนหนองจอก เขตหนองจอก 66.สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน 67.สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม 68.สวนสันติภาพ เขตราชเทวี 69.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด

โดย 5 อันดับของค่าฝุ่น PM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร คือ                                 

1. เขตหนองแขม 81.7 มคก./ลบ.ม.

2. เขตทวีวัฒนา 76.1 มคก./ลบ.ม.

3. เขตภาษีเจริญ 74.0 มคก./ลบ.ม.

4. เขตบางขุนเทียน 73.3 มคก./ลบ.ม.

5. เขตบางบอน 72.2 มคก./ลบ.ม.

ข้อแนะนำสุขภาพ คุณภาพอากาศระดับสีแดง: มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนทุกคน งดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง ให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ส่วนในพื้นที่ คุณภาพอากาศระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนทั่วไป ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร

จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ประชาชนกลุ่มเสี่ยงใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์.