แต่ยังสร้างแรงกดดันต่อภาคธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บริษัทชั้นนำต่าง ๆ จึงเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ทั้งยังหันมาปรับกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบต่อโลกมากขึ้น เช่นเดียวกันกับ “เชฟรอนประเทศไทย” บริษัทพลังงานระดับโลกที่มีส่วนสำคัญในการบุกเบิก พัฒนาธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 60 ปี ถือเป็นหนึ่งในองค์กรที่มีความมุ่งมั่นในการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางธุรกิจ การรักษาสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาสังคม

“เรายังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจจัดหาและสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ประเทศ ด้วยการผลิตพลังงานที่มีความปลอดภัยมีต้นทุนที่เหมาะสม เชื่อถือได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นพลังงานที่สะอาดมากขึ้น เพื่อเดินหน้าเข้าสู่เป้าหมาย Net Zero ภายในปี
2050”
ชาทิตย์ ห้วยหงษ์ทอง ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าว

ชาทิตย์ ในฐานะผู้สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ระบุว่า ในโลกปัจจุบัน ความต้องการในการใช้พลังงานของประเทศต่าง ๆ นอกจากจะมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้วยังมีความต้องการใช้พลังงานที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพลังงานจากนํ้ามัน หรือพลังงานจากก๊าซธรรมชาติ ก็นับว่ายังมีความจำเป็นและขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปไม่ได้ ทว่าในวิกฤติโลกเดือดเช่นนี้ เมื่อหันกลับมามองที่ประเทศไทยจะพบว่า มีความต้องการพลังงานที่สะอาดกว่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างยิ่งซึ่งสอดคล้องกับการที่ทุก ๆ หน่วยธุรกิจของเชฟรอน คอร์ปอเรชันทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย ที่ได้รับนโยบายหรือแนวทางองค์กร โดยส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับพนักงานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก ว่ามีที่มาอย่างไร และทำไมจึงต้องลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การนำวิทยากรหรือหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ มาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้ ไปจนถึงการจัดนิทรรศการ เมื่อพนักงานตระหนักรู้แล้ว จึงให้เสนอไอเดียตามกรอบเป้าหมายที่วางไว้

“เราไม่ได้กำหนดเงื่อนไขแล้วให้พนักงานทำตาม หรือให้นโยบายแบบท็อปดาวน์ เพราะสิ่งที่ดีกว่าคือการให้คนที่อยู่หน้างานเป็นคนเสนอไอเดียว่ามีงานส่วนไหนที่เราจะสามารถปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนเพื่อให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ก็จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับพวกเขาก่อนว่าทำไมจะต้องทำ ทำไมจะต้องรักษ์โลก และเมื่อคนของเรา มีแพสชันในการรักษ์โลกโดยไม่ต้องเอารางวัลมาจูงใจ มันยั่งยืนกว่า ปีที่แล้วเราประสบความสำเร็จในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ เพราะเราขับเคลื่อนด้วยแพสชันของตัวพนักงานเอง”

2. สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชน รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด โดยมองว่าการที่ภาคเอกชนจะต้องดำเนินธุรกิจด้วยการ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมตอบแทนสังคม และคงไว้ซึ่งการรักษามาตรฐานและผลประกอบการได้ จะต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแรงจูงใจ การกำหนดนโยบาย กฎระเบียบ ตลอดจนสิทธิประโยชนต์ า่ ง ๆ อาทิ คาร์บอนเครดิต และภาษีคาร์บอน สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จากการร่วมมือกันของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาช่วยกระตุ้นให้สามารถเดินหน้าไปสู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศร่วมกัน การจัดการของเสียจากเหล็กได้ ซึ่งเราทำมาเกือบ 10 ปีแล้วสามารถลดขยะจากเหล็กไปได้ถึง 6,300 ตัน ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 7,560 ตัน เทียบเท่ากับการดูดซับคาร์บอนของต้นไม้ที่เติบโตมานาน 10 ปี กว่า 125,000 ต้น

นอกจากที่เชฟรอนประเทศไทย ได้ดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนแล้ว ยังได้สร้างสรรค์โครงการ ที่เป็นการดูแลสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนภาคชุมชน อย่าง ‘โครงการเติมพลัง รักษ์ยั่งยืน สู่ผืนป่าไทย’ (Foster Future Forests) ร่วมกับ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในจังหวัดระยอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการฟื้นฟูระบบนิเวศในบริเวณป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เพิ่มพื้นที่สีเขียวดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ พร้อมส่งเสริมด้านงานวิจัยผ่านการศึกษาและเรียนรู้จากธรรมชาติ (Nature-based learning) โดยจับมือกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ในการประเมินผลด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม พร้อมวางแผนดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อค้นคว้าวิจัย ศึกษา และติดตามความคืบหน้าของโครงการผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้ได้ข้อมูลที่พิสูจน์และเชื่อถือได้ ตั้งแต่การนำความเชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยา ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและอุทกวิทยา มาประยุกต์ใช้ในการวางแผนดำเนินโครงการ การใช้โดรนเพื่อวัดผลสำเร็จ อย่างเคร่งครัด ตลอดจนแนวทางปฏิบัติงานอันจะสร้างความยั่งยืนในระยะยาวสำหรับพื้นที่ป่าในเมือง และขยายผลสู่พื้นที่อื่น ๆ ต่อไปในอนาคต

ไม่เพียงเท่านี้ เชฟรอนยังสนับสนุน “โครงการค่ายรากแก้ว” ที่จัดโดยองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 33 เพื่อส่งเสริมทักษะวิชาในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือสะเต็ม (STEM) ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษา และในปีนี้ ได้มีการเพิ่มหลักสูตรความรู้เรื่องการจัดการคาร์บอนเครดิต และกิจกรรมปลูกต้นไม้ เพื่อสร้างความรู้และปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชน รวมถึงยังมีโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศอีกด้วย

เหล่านี้เป็นการตอกยํ้าเป้าหมายของเชฟรอนประเทศไทย ในความมุ่งมั่นที่จะสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางธุรกิจ การรักษาสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาสังคม ด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมต่าง ๆ สร้างสรรค์โครงการที่ดูแล-ปรับปรุงระบบนิเวศ กระทั่งพัฒนาความเป็นอยู่และปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับชุมชน ตลอดจนสร้างความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอนึ่ง บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นบริษัทชั้นนำด้านพลังงาน ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ด้วยระบบการจัดการด้านความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับการการันตีผลการปฏิบัติงานในมาตรฐานระดับโลก