เรือวิจัยทางวิทยาศาสตร์และโบราณคดีใต้ทะเลลึกลําแรกของจีน ออกจากอู่ต่อเรือ เทียบท่าที่กว่างโจวอย่างเป็นทางการ ถือเป็นความก้าวหน้าในการออกแบบเรือเพื่อสำรวจขั้วโลกและพื้นที่ทางทะเลทั่วโลก 

เรือถั่นสั่ว-3 (Tansuo-3) สร้างโดยบริษัท Guangzhou Shipyard International (GSI) มีความยาวรวมประมาณ 104 เมตร ระวางขับน้ำประมาณ 10,000 ตัน และสามารถรองรับลูกเรือได้ถึง 80 คน มีคุณสมบัติที่โดดเด่นหลายอย่าง เช่น การดำน้ำลึกแบบมีมนุษย์ควบคุม การตรวจจับในทะเลลึก ความสามารถในการบรรทุกน้ำหนัก เป็นต้น

ในฐานะที่เป็นเรือวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เรือถั่นสั่ว-3 สามารถใช้วิจัยทางวิทยาศาสตร์ใต้ทะเลลึก ขุดค้นโบราณวัตถุและสำรวจทะเลขั้วโลก

He Guangwei รองหัวหน้าวิศวกรของ GSI กล่าวว่า เรือลำนี้ใช้ระบบการควบคุมอัจฉริยะ มีการชดเชยอุณหภูมิที่แม่นยำ รวมถึงมีการออกแบบโครงสร้างเพื่อรองรับการใช้งานในพื้นที่ขั้วโลก โดยใช้อุปกรณ์ที่ผลิตในประเทศ   

คาดว่า จะมีการส่งมอบเรือในช่วงต้นปี 2025 Tanggu Lashan หัวหน้าวิศวกรของ Institute of Deep-sea Science and Engineering สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน กล่าวว่า เรือวิจัยทางวิทยาศาสตร์และโบราณคดีใต้ทะเลลึก เป็นตัวอย่างของการบูรณาการนวัตกรรมด้านต่างๆ นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาอุปกรณ์สำรวจและออกแบบเรือสำหรับทะเลลึกในพื้นที่ขั้วโลก ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในงานสำรวจทางโบราณคดีใต้ทะเลลึก

เครดิต China Media Group (CMG)