เมื่อวันที่ 9 ก.ค.เวลา 16.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) แถลงผลประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ว่า ที่ประชุม ศบค.มีมติขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ในราชอาณาจักรคราวที่ 13 ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค -30 ก.ย.นี้และเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 13 ก.ค.เพื่อพิจารณาเห็นชอบอีกครั้ง
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ที่ประชุม ศบค.ยังปรับระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯนครปฐม นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ปัตตานี ยะลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสงขลา โดยห้ามเดินทางที่ไม่จำเป็นโดยห้ามออกนอกเคหสถานตั้งแต่เวลา 21.00-04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เว้นเฉพาะกรณีจำเป็น เช่น มีการเจ็บป่วยจำเป็นต้องไปโรงพยาบาลหรือบุคลากรทางแพทย์ และพยาบาลที่จำเป็นต้องไปเข้าเวร หรือกรณีฉุกเฉินไฟฟ้าประปาขัดข้อง อนุญาตให้ทำได้
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า โดยข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้บังคับใช้เฉพาะ 6 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรีปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร โดยให้ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนใช้การปฏิบัติงานในลักษณะเวิร์กฟรอมโฮมให้มากที่สุด ส่วนร้านสะดวกซื้อ ตลาดโต้รุ่ง ปิดเวลา 20.00-04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ส่วนห้างสรรพสินค้าศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้เฉพาะซูเปอร์มาร์เกต ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ธนาคารและสถาบันการเงิน ร้านขายยา เวชภัณฑ์ ร้านอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร รวมถึงสถานที่ฉีดวัคซีน เปิดได้ถึงเวลา 20.00 น. และร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ห้ามบริโภคอาหารหรือสุราหรือเครื่องดื่มในร้าน โดยเปิดได้ถึงเวลา 20.00 น.
พญ.อภิสมัย กล่าวต่อว่า ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค ได้แก่ นวดแผนโบราณ (เปิดได้เฉพาะนวดเท้า) สปา สถานเสริมความงาม ส่วนระบบขนส่งสาธารณะ เปิดได้ถึงเวลา 21.00-04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น สวนสาธารณะสามารถเปิดให้บริการสำหรับการออกกำลังกายได้ถึงเวลา 20.00 น. ส่วนสถานศึกษาในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัดให้เรียนออนไลน์เท่านั้น รวมถึงหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันเกิน 5 คน เปิดที่ไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่การประกอบอาชีพกิจกรรมทางศาสนาหรือกิจกรรมตามประเพณี เช่น งานศพยังสามารถจัดได้ โดยมาตรการทั้งหมดเริ่มมีผลบังคับใช้ต้ังแต่วันที่ 12 ก.ค.64 เป็นต้น
พญ.อภิสมัย กล่าวอีกว่า ส่วนพื้นที่ควบคุมสูงสุดจากเดิม 5 จังหวัด ปรับเป็น 24 จังหวัด ประกอบด้วย กระบี่ กาญจนบุรีฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตาก นครนายก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรีพระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และอุทัยธานี ส่วนพื้นที่ควบคุมจากเดิม 9 จังหวัด ปรับเป็น 25 จังหวัด ประกอบด้วย กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่นจันทบุรี ชัยภูมิ ชุมพร ตรัง ตราด บุรีรัมย์ พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สตูลสระแก้ว สุโขทัย สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองบัวลาภู อุดรธานี และอุบลราชธานี ส่วนพื้นที่เฝ้าระวังสูง จากเดิม 53 จังหวัด ปรับเป็น 18 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย เชียงใหม่ นครพนม น่าน บึงกาฬ พะเยา พังงา แพร่ ภูเก็ตมุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ลำปาง ลำพูน สกลนคร หนองคาย อานาจเจริญ และอุตรดิตถ์
พญ.อภิสมัย กล่าวอีกว่า ที่ประชุมเน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมรับผิดชอบในการกำกับควบคุมมาตรการโดยฝากไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดรวมหารือกำกับมาตรการที่ประกาศให้มีประสิทธิภาพและรวมทั้งให้หน่วยงานด้านความมั่นคงจัดตั้งจุดตรวจจุดสกัดชุดลาดตระเวน เพื่อกำกับดูแลการปฏิบัติอย่างเข้มงวดให้พร้อมดำเนินการ นอกจากนี้ที่ประชุมให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดมาตรการสนับสนุน ดังนี้ กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน ในกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล เร่งรัดให้มีการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงระบบการตรวจหาเชื้อ อย่างเพียงพอ โดยให้สาธารณสุขปรับแผนการกระจายวัคซีน และเร่งการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวและโรคเรื้อรัง ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งเร่งรัดการฉีดวัคซีนในพื้นที่การแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด และให้สาธารณสุขร่วมกับกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการจัดตั้งไอซียูสนามและ โรงพยาบาลสนาม รวมถึงโรงพยาบาลสนามชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และมีจำนวนมากพอ ทั้งนี้วัคซีนที่ได้รับบริจาคจากต่างประเทศทั้งไฟเซอร์และแอสตราเซเนกา โดยแอสตราเซเนกา จากประเทศญี่ปุ่นมาถึงแล้วในวันเดียวกันนี้
พญ.อภิสมัย กล่าวด้วยว่า ที่ประชุม ศบค.ยังเห็นชอบให้ สธ.ร่วมกับกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดนำระบบการแยกกัก แบบการแยกกักที่บ้าน ระบบ home isolation และการแยกกักในชุมชนคอมมูนิตี้ ไอโซเลชั่น ( Community isolation)
รวมทั้งการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลัก ได้แก่ ยาฟ้าทะลายโจร เป็นต้น มาเสริมเพิ่ม มาตรการรักษาพยาบาลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อทดแทนการขาดแคลนเตียงพยาบาลตาม โรงพยาบาลต่างๆ และให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ในการป้องกันส่วนบุคคล การตรวจหาเชื้อ และการรักษาพยาบาล ให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอให้ขอความร่วมมือประชาชนเน้นมาตรการป้องกันส่วนบุคคล ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย (โดยเฉพาะกรณีมีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น) และการเว้น ระยะห่างระหว่างบุคคล
พญ.อภิสมัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังเห็นชอบ ให้ มหาดไทยร่วมกับ สาธารณสุขเน้นย้าให้ ผวจ.ทุกจังหวัดกำหนดมาตรการคัดกรองและมาตรการติดตาม สำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าไปในพื้นที่ให้มีความเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (10 จังหวัด กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส)
ทั้งนี้ ให้พร้อมดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.64 เป็นต้นไป เวลา 06.00 น. โดยอาศัยอานาจตามข้อกำหนด ฉบับที่ 25 และขอให้ ศบศ.เร่งรัดกำหนดมาตรการเยียวยาสถานประกอบการหรือพนักงานที่ได้รับผลกระทบ จากการกาหนดมาตรการในคร้ังนี้ และยังไม่เคยได้รับการเยียวยา ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม รวมถึงให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสาหรับพื้นที่ระดับสถานการณ์ต่างๆ ข้อห้ามและข้อปฏิบัติตามข้อกาหนด (ฉบับที่ 24, 25, 26) มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้.